7 ต.ค. 2019 เวลา 05:41 • ธุรกิจ
มหาอำนาจโลกตัวจริงในยุคดิจิตอลคือใคร!?
ไม่บ่อยนักที่ผู้นำองค์กร ในยุคปั่นป่วน
จะออกมายอมรับว่า สิ่งที่ได้ลงทุนไปนั้น
อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์กับบริษัทที่จะทำให้บริษัทเป็นผู้ชนะ
-เล่าแบบย่อ-
ผู้บริหารใหญ่ SCB ออกมาบอกว่า
ลงทุนด้านTechไป 40,000ล้าน
แต่ทุกธุรกิจก็แห่กันลดราคาเข้าสู่จุดแจกฟรี
รายได้ไม่เพิ่ม มีแต่รายจ่ายเรื่องการลงทุนด้านนวัตกรรม
และไม่มีรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ใครจะคือผู้ชนะระยะยาว ถ้าตลาดแข่งกันแบบนี้
การลงทุนอาจจะไม่ใช่สิ่งดีด้วยซ้ำเพราะเพิ่มCost ไม่เพิ่มRevenue
-เล่าแบบเต็ม-
ล่าสุดที่ได้ดูคลิปเสวนา Change The World มหาอำนาจตัวจริงในโลกดิจิตอลคือใคร โดยคุณอรพงศ์ เทียนเงิน ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์
ซึ่งเป็นคลิปที่ควรค่าแก่การนั่งดูตลอดเวลา 25 นาทีอย่างยิ่ง
ถ้าอาทิตย์ที่ผ่านมาคุณมีโควต้าดูคลิปได้เพียงคลิปเดียว เราขอแนะนำคลิปนี้(ลิงค์ด้านล่าง)
สิ่งที่เราได้จากสิ่งที่คุณอรพงษ์ได้กล่าวบนเวทีนั้นคือ ทาง SCB ได้มีการลงทุนในการพัฒนาด้านนวัตกรรมถึง 40,000 ล้านบาท
โดยที่ service ต่างๆที่ออกมานั้นให้ลูกค้าได้ใช้ฟรี และส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างๆ เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มสูงถึง 96 เปอร์เซ็นต์
และตอนนี้การทำธุรกรรมผ่านทางธนาคารสาขาเหลือเพียงแค่ 4 เปอร์เซ็นต์
นั่นหมายความว่า SCB อาจจะพิจารณายุบสาขาเพิ่มขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้เนื่องจากสาขาเป็นต้นทุนอันมหาศาล ที่ SCB แบกรับ
และยังได้ใช้เงินลงทุนนวัตกรรมไปแล้ว 40,000 ล้านบาทอีก(แต่รายได้ไม่เพิ่ม)
(แต่หนทางการ ปิดสาขาและไล่พนักงานในทางปฏิบัติออกอาจจะยังไม่ง่ายขนาดนั้น ตามที่คุณอรพงษ์ได้พูดถึงบนเวที)
คุณอรพงษ์ได้พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจว่า
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้ล้วนส่งผลให้การบริการต่างๆแข่งกันรายได้เข้าหาศูนย์ คือแจกฟรี ส่งฟรี บริการฟรีหรือมีราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆ แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงมากเพื่อที่จะ Stay Alive
ยกตัวอย่างเช่น ในอาทิตย์ที่แล้วได้ซื้อเสื้อผ่าน อีคอมเมิร์ซแห่งหนึ่งในราคา 600 บาท
อาทิตย์ต่อมาคุณจะเจอเสื้อตัวเดียวกันในราคาเหลือเพียงแค่ 300 บาท
เนื่องจากระบบได้เรียนรู้ว่า เสื้อตัวนี้ มียอดขายที่ดีส่งผลให้เจ้าอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่าทำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันแล้วเอานำมาขายสู่ตลาดในราคาที่ต่ำกว่าอย่างรวดเร็ว
(ซึ่งถ้าใครเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จะเข้าใจดีว่า ราคาสินค้าที่มีคนเอามาก้อป ราคาถูกลงอาทิตย์ต่ออาทิตย์ margin บางลงเรื่อยๆ เหนื่อยมากขึ้นแถมได้กำไรน้อยลง)
ในขณะเดียวกันแบงค์อื่นๆที่ไม่ได้ไหวตัวเร็ว
ไม่ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆหรือใช้เงินมากมายก็ยังสามารถแข่งขันในตลาดได้ ด้วยการลดต้นทุน ยังไม่ตายหายจากกันไปจากตลาด
คำถามคืออุตส่าห์ลงทุนไปตั้ง 40,000 ล้านบาท
มีรายจ่ายมหาศาลแต่สร้างรายได้ใหม่ไม่ได้
แต่อีกธนาคารนึงอาจจะไม่ทำอะไรเลย ไม่ได้เสียเงิน 4 หมื่นล้านบาท แถมลดต้นทุนสาขาได้อีก
ผลิตภัณฑ์ต่างๆก็ยังคงขายได้อยู่
ใครจะคือผู้ชนะในระยะยาว
ในขณะเดียวกัน คุณอรพงษ์ก็พบว่าที่อุตส่าห์ลงทุนไปถึง 4 หมื่นล้าน
ก็ยังไม่สามารถตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่รุนแรงรวดเร็วทัน
หลังจากได้ไปดูงานธนาคารที่เมืองจีน ที่นวัตกรรมล้ำหน้ากว่ามาก ไปไกลขนาดที่ว่าสามารถVideo callเพื่อขอกู้เงินแล้วก็ได้
(หมดเงินไป4หมื่นล้าน ก็ยังตามชาวบ้านเค้าไม่ทัน)
คุณอรพงศ์ได้ทิ้งท้ายว่า
หนทางที่ธนาคารจะสามารถสร้างรายได้ใหม่ๆได้นั้น
ต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ออกไปนอกธนาคารแต่ยังสามารถเชื่อมต่อกับแบงค์ได้
เช่นธุรกิจ startup อื่นๆ ที่ทางธนาคารมีหน่วยงานลงทุนธุรกิจ startup อยู่ในขณะนี้
สุดท้ายแล้ว Time will tell who will win out in the game.
และคุณอรพงศ์เชื่อว่า องค์กรใหญ่ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่ตาย
เชิญไปเสพคลิปที่ฟังกี่รอบก็มันส์ได้ที่นี่
โฆษณา