7 ต.ค. 2019 เวลา 13:03 • ไลฟ์สไตล์
จะทำยังไงถ้าวันหนึ่งเราเป็นแอร์ไม่ได้แล้ว?
วิธีการวางแผนเตรียมตัวเพื่อรับมือขจัดคำถามนี้ออกจากหัว
แนตว่าคำถามที่ว่า “ลาออกจากการเป็นแอร์แล้วมาทำอะไร?” เป็นคำถามยอดฮิตในใจหลายๆคน แต่แค่เราบินแล้วได้เงินเยอะ ก็เลยปัดๆไป
แต่ใครจะไปรู้ ชีวิตผกผัน เกิดมีสถานการณ์ที่ทำให้เราบินไม่ได้อีกเลยจะทำอย่างไร ? สำหรับแนต มันต้องมีการวางแผนตั้งแต่ตอนเริ่มบินแรกๆค่ะ
ขอเกริ่นก่อนว่ารายได้เฉลี่ยของอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะอยู่ที่ประมาณ 70,000 - 120,000 บาทสำหรับสายการบินตะวันออกกลาง จะมากกว่านั้นหรือจะน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับเลเวลอายุงานแลสายการบินค่ะ สายการบินในไทยที่เคยได้ยินมาก็ 40,000 - 80,000 บาทแล้ว (แน็ตก็ไม่ค่อยชัวร์เท่าไหร่)
....เพราะฉะนั้นแล้วมันจึงเป็นอาชีพในฝันและอาชีพที่ได้รับการยอมรับมากๆในสังคมไทย เด็กจบใหม่ก็แห่กันไปสมัครแอร์ ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องไม่ดีนะ ทุกคนย่อมต้องการได้งานที่สร้างรายได้เยอะที่สุดอยู่แล้วค่ะ
อย่างเวลาเราหางานออฟฟิศเนี่ย... เราจะถามถึง career path หรือ การเติบโตในสายอาชีพนั้นๆ กัน ว่าไปได้ถึง manager หรือ director ก็ว่าไป การทำงานแต่ละที่คือการสะสมประสบการณ์ตามสายงานเพื่ออัพเงินเดือนและตำแหน่งตัวเอง แต่ถ้าพูดถึงอาชีพแอร์-สจ๊วตแล้ว career path จะสั้นมาก
ยกตัวอย่าง emirates เรียงตามลำดับตำแหน่งเริ่มต้นถึงสูงสุดบนเครื่องบิน (รายได้น้อยสุดไปหามากสุด)
- ลูกเรือเกรด 2 ทำงานชั้น economy class
- ลูกเรือเกรด 1 ทำงานชั้น business class
- ลูกเรือ FG 1 ทำงานชั้น first class
- ลูกเรือ CSV (Cabin Supervisor) คุมงานแต่ละเคบิน
- ลูกเรือ Purser หรือหัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ถ้าสูงกว่านั้นคือ นักบินและผู้ช่วยนักบิน
ถามว่ากว่าจะไปถึง purser ใช้เวลากี่ปี บอกระยะเวลาเป๊ะๆไม่ได้ ถ้าโชคดีเค้าเลื่อนเร็วก็ได้เร็ว บางคน 5-6 ปีก็ได้เป็นแล้ว ถ้าช้าหน่อยก็ 7-8 ปี ซึ่งแนตว่าตอนนี้ก็น่าจะเป็นแบบหลังมากกว่า
อย่างที่บอกค่ะ เป็นแอร์ ไม่ใช่เรื่องไม่ดี แต่เรื่องที่กำลังจะสื่อคือ career path มันสั้น และ โดยส่วนใหญ่ประสบการณ์งานไม่สามารถช่วยในการหางานอื่นได้มากเท่าไหร่
ผ่านไป 5 ปี ในขณะที่เพื่อนอายุเท่ากันได้เลื่อนตำแหน่งไปจนถึง ผจก. แล้ว ถ้าแอร์ลาออก แอร์จะต้องกลับอยู่ใน entry level กินเงินเดือนต่ำกว่า ผจก. และงานแอร์อยู่มาก
ตัวแน๊ตเองก็ไม่เคยคิดจะออกจนอยู่ดีๆวันนึงอยากลาออกเฉยเลย (ไว้จะมาแชร์ว่าเกิดอะไรขึ้น) คิดอยู่นานมากกลับมาทำอะไรดี คือเครียดเลย แนตได้บทเรียนชิ้นใหญ่กับเหตุการณ์ครั้งนี้เลยอยากแนะนำทุกๆคนให้ระลึกไว้เสมอว่า “อนาคตไม่แน่นอน” และ “everything doesn’t go as planned” วันนี้อะไรที่ว่าดีอาจจะไม่ดีในอนาคตได้ ตราบใดที่ราคาหุ้นมันดิ่งฮวบได้ มันก็เหมือนกันแหละ ทุกอย่างมีความเสี่ยง การเลือกงานก็เช่นกัน
สิ่งที่แนตทำอย่างแรกตอนที่คิดว่าน่าจะลาออกคือ คำนวน “เงินเก็บ” - เงินไม่ใช่ทุกสิ่ง แต่มันบันดาลหลายๆอย่างให้เราได้ เราอยู่ในยุค capitalism ที่ทุกอย่างหมุนด้วยเงิน และตัวเลข คนส่วนใหญ่จะชอบบอกตัวเองว่า เงินอ่ะค่อยเก็บก็ได้ enjoy ก่อน ใช้ชีวิตก่อน บอกเลยว่าถ้าแนตไม่เริ่มเก็บเงินตั้งแต่เดือนที่ 5 ในการบิน แนตออกไม่ได้แน่ๆ ตอนแรกแนตไม่ค่อยซื้อของแต่ก็เก็บเดือนละแค่ 20,000 บาท ปีที่ 2 เริ่มกิเลสเยอะ ซื้อเสื้อผ้าเยอะเลยไม่ค่อยได้เก็บ มาเก็บอีกทีก็ปีที่ 3 ถามว่าใช้หมดเลยหรอแต่ละเดือน ไม่หมดนะแต่ไม่ยอมโอนเข้าบัญชีเก็บตัง เลยทบๆๆๆไป ปีที่ 4 ก็เลยเอาเงินเก็บมาขายของเก็บกำไร เงินมันเริ่มงอกเองจากเงินต่อเงินตรงนั้นแหละ
ก็ฟังดูเยอะหนิ.... ถ้าตอนนั้นไม่ทบเงิน ตอนนี้มีเยอะกว่านี้ ตอนหลังแนตต้องเอาไปจ่ายค่าเรียนด้วยเพราะออกจากงานตอนที่ยังไม่จบ แนตกำลังจากศึกษาเรื่องโภชนาการ Health Coach ของ Instirute of Integrative Nutrition ค่าเรียน 5,995 USD หรือ 172,000 บาทโดยประมาณ เรียน 6 เดือน แบ่งจ่ายค่าเดือนละ 399 USD เป็นเงิน 12,000 บาทโดยประมาณ ตอนนี้ยังต้องจ่ายอีก 52,000 บาท แนตกะว่าจะบินจนกว่าจะเรียนจบจะได้เอาเงินเดือนแต่ละเดือนมาจ่าย สรุปว่า ออกมากลางคัน เรียนไป 3 เดือนเอง เหลืออีกหลายงวด แนตบอกเลยว่าถ้าไม่มีเงินเก็บคือลำบากแน่นอน
1
สิ่งที่อยากฝากไว้สำหรับแอร์ทุกคนหรือคนที่อยากจะเป็นแอร์
1. เก็บเงินให้ได้มากที่สุด - หายากมากที่จะมีอาชีพไหนที่เงินเดือน start ได้เยอะเท่านี้ แต่เอาที่เราไม่เครียดนะ
2. ปรับ work life balance ให้เป็น - อาชีพแอร์ทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายมากกว่าอาชีพอื่นๆ ถ้าเราป่วยนาน เป็น พนง. ที่ไม่สร้างรายได้ เค้าก็ไม่เก็บเราไว้หรอก
3. พยายามหาช่องทางพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ - หาคอร์สเรียน เรียนปริญญาอีกใบ หาอะไรทำเสริมเพื่อที่ว่าวันนึงลาออก จะได้ต่อยอดได้เลย
4. อย่าหยุดคิด - อาชีพแอร์ใช้ analytical thinking น้อยเทียบกับงานอื่น
5. อย่าหยุดทำความรู้จักคน - ในที่นี้คือบุคคลที่เราสามารถใช้เป็น connection ต่อยอดได้ในอนาคต
6. อย่าตัดสินใจลาออกด้วยอารมณ์ - คิดวิเคราะห์ เช็คเงินเก็บ เช็คลู่ทางก่อนแล้วค่อย make final decision
7. ซื้อของเท่าที่จำเป็นและเสมอตัว - ถึงของจะขายได้ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีมันก็ขายต่อยาก ในยุคนี้เก็บเงินสดเผื่อไว้หน่อยก็ดีค่ะ และอย่าตุนของ ตอนย้ายกลับ เสียดายมาก
สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกคนโชคดี ใครบินอยู่ก็เที่ยวเผื่อด้วย กินเผื่อด้วย
ฝากติดตามบทความชีวิตหลังการเป็นแอร์และบทความสุขภาพและการพัฒนาตัวเองได้ที่นี่หรือ
IG: pakk.ti
และ แนตมีเปิดคอร์สคอนเวอภาษาอังกฤษและคอร์สเตรียมสมัครแอร์ สนใจเรียนเข้าไปดูที่ IG :pp.theflyingsisters ได้เลยค่า
โฆษณา