8 ต.ค. 2019 เวลา 13:59 • การศึกษา
#เด็กการบิน
วันนี้เรากลับมาพร้อมกับเรื่องราวแสนสนุกในช่วงเริ่มต้นการเดินทาง ที่เราหายไปนานเพราะเราไปรวบรวมข้อมูล มาให้เพื่อนๆนะ
เริ่มต้นจากการเดินทางด้วยเครื่องบินกันเถอะ
ด้วยการ Check in (การยืนยันว่าได้มาถึงสนามบิน และรับบัตรขึ้นเครื่องแล้ว) ก็จะได้ Boarding Pass (บัตรขึ้นเครื่อง)
และหากมีกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ ให้ฝากไปเลย
เจ้าหน้าที่จะนำไปโหลดใต้ท้องเครื่องบิน (Cargo Compartment) เมื่อเครื่องบินถึงปลายทาง เราจะต้องไปรับกระเป๋าที่ฝากไ้ว้ ที่สายพานลำเลียงกระเป๋า (Baggage Row)
จากนั้นให้เดินไปยังอาคารผู้โดยสาร (Terminal)
ตามที่ระบุไว้ ให้เดินผ่านเครื่องเอ๊กเรย์ (X Ray)
และตรวจหนังสือเดินทาง (Immigration)
หลังจบขั้นตอนให้เดินไปรอที่ประตูทางออก (Gate)
ที่ระบุใน Boarding Pass จนกระทั่งถึงเวลาเรียกขึ้นเครื่อง (Boarding Time)
ถ้าสายการบินจะให้ขึ้นรถไปยังเครื่องบิน (Airliner) ซึ่งจอดอยู่ไกลๆ จะใช้รถบัสคันโตที่เรียกกว่า Bus Gate
แต่ถ้าสายการบินให้เดินผ่านสะพานเทียบเครื่องบิน (Aerobridge มีอีกหลายชื่อ) ก็สบายหน่อย ก็แล้วแต่ว่าสายการบินว่าจะทำข้อตกลง (Agreement) กับการท่าอากาศยาน (Airport)
แห่งนั้นว่าอย่างไร
เมื่อเครื่องบินลำที่เราจะโดยสารร่อนลง (Landing)
ยังท่าอากาศยานปลายทางเรียบร้อย
และมาจอดยังจุดจอดเครื่องบิน (Bay)
จะได้รับการเติมเชื้อเพลิง (Re-fuel)
ทำความสะอาดห้องโดยสาร (Cabin)
และตรวจสอบระบบต่างๆ จนเรียบร้อย
พนักงานต้อนรับ (Air-Hostess) จะแจ้งให้เจ้าหน้าที่สายการบิน (Airline Ground Staff) ได้ทราบ และเรียกให้เราซึ่งเป็นหนึ่งในผู้โดยสาร (Passenger) ขึ้นเครื่อง
เมื่อผู้โดยสารพร้อม นักบิน (Pilot) จะติดต่อ (Communication) กับหอบังคับการบิน (Air Traffic Control) เพื่อขอทำการบินในเส้นทางบิน (Airway) ตามแผนการบิน (Flightplan)
ที่ได้วางแผนไว้ เมื่อเสร็จเรียบร้่อย ก็ขออนุญาตติดเครื่องยนต์ (Engines Start-up) และดันถอยหลัง (Push back) เพื่อทำการวิ่งขึ้น (Takeoff) เมื่อได้รับการอนุญาต จะมีรถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ (Tow Truck) มาดันเครื่องบินใหุ้ถอยออกจากที่จอด ไปยังจุดที่เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจร (Controller) อนุญาต
เมื่อเครื่องยนต์เรียบร้อย ช่างเครื่องบิน (Aircraft Maintenance) จะทำการปลดนิรภัยที่ล้อหน้า (Nose Gear)
ออก และวิ่งออกมาราว 20-40 เมตร จากตัวเครื่อง
พร้อมกับแสดงให้นักบินเห็นสลักนิรภัยดังกล่าว
และต่อด้วยสัญญาณโบกมือ
นักบินจะติดต่อหอบังคับการบิน เพื่อขออนุญาต
และรับทราบเส้นทางขับ (Taxiway) ที่จะให้ขับเคลื่อนเครื่องบิน (Taxi) ไปรอยังจุดรอ (Holding point) เพื่อรอลำดับ (Sequece/ Queue) การวิ่งขึ้น (Takeoff) ที่ทางวิ่ง (Runway) ตามที่หอบังคับการบินระบุ
เมื่อถึงลำดับการวิ่งขึ้น นักบินจะนำเครื่องวิ่งเข้าไปในทางวิ่ง (Lineup) และวางตัวเครื่องให้อยู่แนวกลางทางวิ่ง หยุด และรอคำอนุญาตจากหอบังคับการบินให้ทำการวิ่งขึ้นได้ ด้วยวลี "Clear for takeoff"
นักบินจะเร่งเครื่องยนต์ไปยังตำแหน่งวิ่งขึ้น (Takeoff power) เครื่องบินจะเริ่มเคลื่อนตัว (Rolling) นักบินก็จะพยายามบังคับเครื่องด้วยหางเสือ (Rudder) เพื่อให้เครื่องบินอยู่ตรงกับเส้นกลางรันเวย์ (Center Line) จนกระทั่งได้ความเร็วค่าหนึ่งที่เหมาะสำหรับการยกตัว (Rotation Speed) เครื่องจะทำการยกหัวขึ้น (Rotate) เมื่อเครื่องบินลอยพ้นพื้น (Airborne) จนกระทั่งถึงผ่านความสูง 100 ฟุต นักบินจะทำการเก็บล้อ (Gear retract/ Gear up)
1
จากนั้นนักบินจะติดต่อหอบังคับการบิน เพื่อไต่ระดับ (Climb) ไปยังความสูง (Flight level) ที่ต้องการบินเดินทาง (Cruise) ไปยังจุดหมายปลายทาง (Destination)
เมื่อใกล้ถึงสนามบินปลายทาง นักบินจะขอหอบังคับการบินทำการลดระดับ (Descend) จนเข้าสู่เส้นทางการร่อนลงของสนามบินนั้นๆ ที่ระยะห่างราว 10-15 ไมล์ทะเล (Nautical mile) เครื่องบินจะอยู่ที่ความสูงราว 3,000 ฟุต จากระดับพื้นดินบริเวณนั้น และส่วนมากจะบินเข้าหาสนามบิน ในแนวเดียวกับทิศทางของทางวิ่ง (Runway) ที่ได้รับการอนุมัติ (Assign) ให้ทำการร่อนลง (Landing) เมื่อเครื่องบินเข้าสู่ระยะห่างจากสนามบินราว 5 ไมล์ทะเล เราจะเรียกว่า Final Approach นักบินก็จะทำการกางล้อ (Gear extended/ Gear Down) และใช้อุปกรณ์ให้แรงยกที่เรียกว่า แฟลบ (Flap) พร้อมสำหรับการร่อนลงสนามบิน
เมื่อเครื่องได้รับการอนุญาตให้ทำการร่อนลงได้ ด้วยวลีที่ว่า "Cleared to land
" นักบินก็็จะควบคุมเครื่องให้มีอัตราการร่อนลงราว 700-800 ฟุต/นาที
- ถ้าไม่สามารถร่อนลงได้ ด้วยเหตผลใดก็แล้วแต่ นักบินจะเร่งเครื่องยนต์เต็มกำลัง (Go-Around)
เพื่อยกเลิกการร่อนลง (Mis-Approach) แล้วจะนำเครื่องกลับมาทำการร่อนลงสนามใหม่
- ถ้าสามารถลงได้ นักบินจะนำเครื่องร่อนลง
จนกระทั่งผ่านความสูง 30-60 ฟุต (แล้วแต่แบบเครื่องบิน) จะค่อยๆ เงยหัวเครื่องขึ้นเล็กน้อย (Flare) เพื่อให้อัตราการร่อนลดลง (Descend rate) จนกระทั่งล้อหลัก (Main Gear)
แตะพื้น (Touchdown) ด้วยความนุ่มนวล
ในมุมมองของผู้โดยสารที่นั่งบริเวณปีก จะเห็นว่าแผงบนปีกกางออกทันทีที่ล้อหลักแตะพื้น เราเรียกแผงนั้นว่า Spoilers หรือ Speed Break และเมื่อล้อหัว (Nose Gear) แตะพื้น นักบินจะใช้กำลังจากเครื่องยนต์ช่วยในการชลอความเร็ว เรียกว่า Reverse thrust เพื่อใช้กำลังเครื่องยนต์พ่นลมออกมาด้านข้าง-ด้านหน้า จนกระทั่งความเร็วลดลงถึง 80 น็อต (Knot: Nautical mile per hour) จึงหยุดใช้ Reverse thrust และมาใช้การเบรกแบบปกติ (เหมือนรถยนต์) จนเครื่องบินออกจากรันเวย์ (Runway vacated) ก็วิ่งมาตามทางขับเคลื่อน (Taxiway) จนกระทั่งวิ่งเข้าสู่ลานจอดเครื่องบิน (Apron) และวิ่งไปจอดยังจุดจอดที่ระบุไว้ (Bay)
#บอกเล่าเรื่องราวของเด็กการบิน
#เด็กการบิน
โฆษณา