10 ต.ค. 2019 เวลา 07:10 • การศึกษา
ทำก๊าซจากเศษอาหาร
เศษอาหาร 2 กก.ทำก๊าซ-เจียวไข่กินได้
ผักตบชวาก็ทำก๊าซหุงต้มได้..
[ เบื้องต้น..ภูมิหลัง ]
ผมสนใจการใช้พลังงานทดแทน ทำก๊าสชีวภาพ เพราะไปช่วยดูแลโรงอาหาร โรงทาน มีทิ้งข้าวเหลือและ เศษอาหารพอสมควร เกิดขยะทิ้งวันละหลายๆ ถุงดำ
จึงคิดแยกขยะ หาวิธีลดขยะ และทำประโยชน์จากขยะ.. หลังจากดูยูทูปหาวิธีกำจัดขยะ และเห็นการทำก๊าซชีวมวล จากเศษข้าว เศษอาหารมาเดือนเศษ จึงรู้มีศูนย์ส่งเสริม ให้ความรู้เกียวกับเรื่องนี้เข้าไปพูดคุยทราบว่า มีโครงการที่จัดทำเรียบร้อยแล้ว จึงติดต่อประสานงาน เข้าไปดูงาน เพื่อดูของจริง
"ไม่ดูไม่รู้" จ้า
ระบบนี้ใช้ถังพันลิตรเพื่อไส่เศษอาหารได้มาก เพราะติดตั้งให้โรงเรียประชาบาล มีเศษอาหารมากได้เกือบวันละ 2ถังปีบ เรียกว่ามี 20กิโล 2-3ปีบไส่ได้สบาย ที่โรงเรียนมีอุปกรณ์เสริมอีกคือเครื่องบดเศษอาหารเพื่อทำให้เศษอาหาร ย่อยสลายได้ง่าย เร็วขึ้น และเครื่องอัดอากาศไส่ถังก๊าซหุงต้มเพื่อทำให้มีแรงดันสูงขึ้นเวลาเปิดก๊าซจะออกมาเร็ว แรงทำอาหาร จึงได้ไฟที่มากขึ้น
เด็กนักเรียนจะจัดเวรกันนำเศษข้าว เศษอาหารที่เทไส่ถังรวมกันไปบดให้ละเอียดและไปเทไส่ถังหมัก ก๊าซที่ได้จะอัดไส่ถังก๊าซหุงต้มเพื่อทำอาหารกลางวันให้เด็ก มีทั้งเจียวไข่ ต้มจืด ผัดผักจากสวนครัวของเด็กๆ
[ ขั้นตอนมีดังนี้ ]
1. ระบบจะมีถังใหญ่ด้านซ้ายมือ ที่ด้านบนไส่เศษอาหารลงไป จุลินทรีย์ในขี้หมู ขี้วัวที่ไส่ไว้ราว1/3ของถังหมัก จะเร่งย่อย ทำงานผลิตก๊าซมีเทนทันที
2. เมื่อเกิดก๊าซจะลอยตัวตามสาย ออกจากถังหมักไปแทนที่น้ำที่ถังน้ำมันสูงก่อนเพื่อกรองเอาก๊าซพิษ ซัลไฟต์ซึ่งไม่ติดไฟออกก่อน
3. เมื่อได้ก๊าซติดไฟ คุณภาพดีจะส่งเข้าถังสีน้ำเงินที่ครอบกันไว้ ก๊าซจะแทนที่น้ำ ถ้ามีก๊าซจะดันถังบนที่ครอบไว้ลอยขึ้น ก็ต่อสายไปหัวก๊าซใช้ ผัดเจียวทอด อาหารได้ตามปกติ ง่ายๆเท่านั้นเอง..
สมการปฎิกริยาการเกิดแก้สชีวภาพ
การทำก๊าซชีวภาพในครัวเรือนมีคนสอนทำในยูทูป อยู่มากมาย และมีโรงเรียนสอนทำ โดยผู้ใจบุญมีจิตอาสา สามารถหาดู ศึกษาได้
[ การติดตั้ง ]
การทำเองต้นทุนน่าจะราว4พันบาท แต่อาจจะต้องใช้ฝีมือช่างตัดต่อท่อประปาบ้างเล็กน้อย แต่ก็มีร้านขายอุปกรณ์แพ็คสำเร็จ ขนาดต่างๆแล้ว สามารถสั่งซื้อมาติดตั้งไว้ใช้ในครัวเรือนได้
[ ปัญหาที่ยังไม่แพร่หลาย ]
ที่ยังไม่เห็นติดตั้งทุกครัวเรือนทั้งที่ราคาถูกลงแล้วน่าจะเนื่องมาจาก
1. การติดตั้งที่ยังมีรูปลักษณ์สมบูรณ์ ์สวยงามเท่าไรนัก
2. ปริมาณขยะอาหาร ข้าวแต่ครัวเรือน มีน้อยไม่มากพอจะทำก๊าซได้ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
3. ยังไม่มั่นใจในความปลอดภัย เมื่อเกิดก๊าซขึ้นและไมได้่ใช้ ยังไม่มีระบบป้องกันที่อัตโนมัต ิที่จะให้ความมั่นใจได้
ระบบนี้จึงเหมาะกับบ้านสวน บ้านชายทุ่ง มีเศษอาหารมากพอ ที่จะผลิตอย่างน้อยสัก 1กิโล และมีการใช้ทำอาหารสม่ำเสมอ จึงจะช่วยลดค่าแก้สหุงต้มลง ยิ่งในภาวะที่ก๊าซตอนนี้ราคาถังละเกือบ 400บาท
การทำก๊าซจากเศษข้าว เศษอาหาร ช่วยกำจัดขยะอาหาร ลดขยะเปียกจากบ้านเรือน นำมาใช้ประโยชน์ ให้คุ้มค่าอีกช่องทางนึง และลดค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้มลงได้อีกด้วย
สำหรับระบบที่ใหญ่ขึ้นของการทำก๊าซชีวมวล มีติดตั้งกับโรงเลี้ยงหมู โรงเลี้ยงไก่ เพื่อให้ได้ก๊าซมาใช้ หรือใช้ปั่นเครื่องไฟฟ้า และทำก๊าซจากขยะด้วย เช่นที่อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ทำให้เห็นการพัฒนา การจัดการ นำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าดียิ่งขึ้น
ในทางพาณิชย์มีบริษัทในตลาดหุ้นไทย ลงทุนตั้งโรงงานผลิตก๊าซชีวมวลจากขี้หมู CBG ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่คือบริษัทยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) UAC มีกำลังการผลิต1,100ตันต่อปี ต่อไปคงขยายงานตั้งขึ้นที่อื่นอีก
แม้จะเป็นก้าวเล็กๆเพิ่งเริ่ม..ในหนทางที่ยังอีกยาวไกล แต่หากไม่เริ่มต้น คงไปไม่ถึงปลายทาง..
โฆษณา