Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
15 ต.ค. 2019 เวลา 12:29 • ธุรกิจ
จุดกำเนิด “7-eleven” ในไทย เทียบ ซูเปอร์มาร์เกต “วอลมาร์ท” ในอเมริกา
บทเรียนจากเจ้าของตัวจริงเสียงจริง!
เจ้าสัวธนินท์ เล่าเรื่องที่มาที่ไปของ 7-eleven ในไทยในหนังสือ “ความสำเร็จดีใด้วันเดียว” ไว้ได้อย่างน่าสนใจ
“ผมเห็นว่าเขาทำสำเร็จแล้วในอเมริกา ผมก็ศึกษาแล้วว่า ถ้าเรามาทำที่เมืองไทย ผมเห็นชัดว่าผมสำเร็จแน่นอน”
เจ้าสัวคิดอย่างนั้น แต่เจ้าของชาวอเมริกันในตอนนั้นอย่างบริษัทเซาธ์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาธ์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) กลับไม่คิดเช่นนั้น โดยเกณฑ์หนึ่งที่ทางเซาธ์แลนด์ใช้ดูก็คือ รายได้ประชากรต่อหัว โดยฝรั่งมองว่าเมืองไทยไม่พร้อม รายได้ประชากรน้อยกว่าอเมริกาตั้ง 10 กว่าเท่า ไม่คุ้มที่จะลงทุน
แต่เจ้าสัวธนินท์ ไม่คิดเช่นนั้น โดยที่อเมริการ้าน 7- eleven แต่ละร้านมีคนผ่านน้อย ไม่เหมือนในกรุงเทพฯ ที่ผู้คนหนาแน่นมาก มีคนเดินเข้าร้านเยอะกว่าที่อเมริกาเป็น 10 เท่า เมื่อรวมๆหลายๆคน ยอดขายเลยไม่แพ้กัน
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่าย ทั้งค่าแรงพนักงาน และค่าที่ดินก็ถูกกว่ามาก การเปิดร้าน 7-eleven สาขาแรกในไทย ในปี พ.ศ.2532 (ค.ศ.1989) จึงเป็นไปได้
ร้าน 7-eleven สาขาแรกที่หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์ Cr.ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว
“เคล็ดลับของผมที่เขาคาดไม่ถึงคือ เขานี่ 1 คนมาซื้อ เท่ากับเราตั้ง 15 คน มาซื้อ จำนวนเงินนะครับ รวมแล้วถึงจะได้ต่อบิลเท่ากับเขา ดูแล้วยังไงก็ไม่คุ้ม แต่เขาลืมคิดว่าค่าใช้จ่ายเราก็ถูกกว่าเขา 15 เท่าเหมือนกัน แล้วถ้าคิดเฉลี่ยจริง มองลึกลงไปอีก อาจจะ 10 คนก็พอ เราจ้างพนักงานกับเราเปิดร้าน ต้นทุนเราถูกกว่าเขา 10 กว่าเท่าเหมือนกัน มันก็เจ๊ากัน” เจ้าสัวธนินท์กล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ
จริงๆ แล้วกลยุทธ์ธุรกิจของเจ้าสัว ที่มองภาพ 7-eleven ในไทย ได้เหนือกว่าที่ฝรั่งมอง ยังมีนักธุรกิจอีกคนที่ใช้มุมมองที่ไม่เหมือนคนอื่นมอง จนทำให้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่…
คนๆนั้น ก็คือ แซม วอลตัน (Sam Walton) เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่สุดในอเมริกา “วอลมาร์ท” (Wal-Mart) โดยแซม ก่อตั้งวอลมาร์ทในปี ค.ศ.1962 และใช้เวลา 24 ปี ในการสร้างธุรกิจ จนในปี ค.ศ. 1986 เค้าได้ขึ้นเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในสหรัฐอเมริกา
2
Sam Walton Cr. Our American Stories
เรื่องนี้มาจากหนังสือธุรกิจที่แอดมิน ชอบมากๆ เล่มหนึ่งคือ Good strategy bad strategy เขียนโดย คุณ Richard Rumelt ศาสตราจารย์ด้านธุรกิจและกลยุทธ์ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
โดยริชาร์ดเล่าว่า ความเชื่อเดิมๆของห้างค้าปลีกประเภท Discount store อย่างวอลมาร์ท ก็คือ ต้องมีประชากรอย่างน้อย 100,000 คน ในเขตพื้นที่นั้นๆ (คิดภาพห้างวอลมาร์ทก็คล้ายกับห้างเทสโก้โลตัส ในไทย)
เขาถามนักเรียนบริหารธุรกิจในชั้นเรียนของเขา ให้ลองวิเคราะห์ว่า ทำไมวอลมาร์ทถึงประสบความสำเร็จ?
1
โดยในชั้นเรียนก็วิเคราะห์หาสาเหตุกันอย่างสนุกสนาน ตั้งแต่
1) วอลมาร์ทเปิดร้านใหญ่ๆ ในเมืองเล็กในชนบทที่ไม่มีคู่แข่ง
2) การใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น Barcode ในการบริหารจัดการคลังสินค้า (สมัย 40 กว่าปีที่แล้ว บาร์โคด นี่ล้ำยุคมากๆ)
1
3) การไม่มีสหภาพแรงงานทำให้ต้นทุนต่ำ
4) รวมไปถึงระบบบริหารงานที่ลงรายละเอียดโดยผู้บริหารบินไปเยี่ยมสาขาทุกสัปดาห์
และอื่นๆอีกหลายประเด็น
แต่ ริชาร์ด แย้งว่า ประเด็นที่ว่ามาทั้งหมดคู่แข่งก็น่าจะลอกเลียนแบบได้ไม่ใช่หรือ? แล้วปัจจัยหลักที่คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยากคืออะไร??
หนังสือ Good Strategy Bad Strategy ดีมาก แนะนำให้เพื่อนๆ ที่ทำธุรกิจอ่านกัน แอดมินจะทยอยเอาบทความดีๆ มาฝาก
เค้าลองให้นักเรียนคิดภาพว่า หากนักเรียนได้เป็นเจ้าของร้านวอลมาร์ทแห่งหนึ่ง แต่อยู่ๆ ก็เกิดเคืองกับนโยบายของแซม วอลตัน เลยอยากจะซื้อร้านคือ เอาป้ายวอลมาร์ทลง แล้วบริหารร้านด้วยวิธีการของตัวเองซะเลย
แน่นอนว่า นักเรียนคนนั้นส่ายหัว บอกว่าไม่เอาดีกว่า ถ้าไม่ใช่ได้อยู่ในเครือข่ายวอลมาร์ท ร้านคงเจ๊งแน่ๆ
อาจารย์ริชาร์ด ก็เลย วาด วงกลม ครอบร้านสาขาทั้งหมดของวอลมาร์ท แล้วสรุปว่า ร้านวอลมาร์ทในชนบทไม่ใช่เป็นแค่สาขาเดียว แต่มันคือ เครือข่าย (Network) ของห้างค้าปลีก 150 สาขา ที่คอยให้บริการลูกค้าว่า 1 ล้านคน ทั้งภูมิภาคนั้น!
จะเห็นได้ว่า แซม วอลตัน ยังใช้หลักการเดิมคือ ห้างค้าปลีก ต้องมีประชากรอย่างน้อย 100,000 คน แต่เขามีมุมมองต่อคำนิยาม ของ “ห้างค้าปลีก” ต่างออกไป ทำให้ห้างวอลมาร์ทสามารถเอาชนะคู่แข่งเดิมๆ กลายเป็นห้างอันดับ 1 ในอเมริกาในเวลาต่อมา…
Network ของร้าน Walmart Cr.Yahoo
กลับมาที่ 7-eleven ในไทย จะเห็นได้ว่า 7-eleven ผุดเป็นดอกเห็ดทุกตรอกซอกซอย สาเหตุหนึ่งคือ ทำให้มั่นใจว่าสามารถบริการผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง ไม่ต้องยืนรอคิวจ่ายเงินนานๆ แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญกว่า ก็เป็นการกันคู่แข่งไม่ให้มาเปิดร้านแข่งไปในตัว
คิดภาพก็คงเหมือน กลยุทธ์ "หมากล้อม" ที่คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ แม่ทัพใหญ่ผู้ปลุกปั้น 7-eleven เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง
1
Cr.สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ อาจต้องบอกว่า ถ้าขาดธุรกิจอาหารพร้อมทานของซีพีไป ร้าน 7-eleven ก็คงไม่ประสบความสำเร็จมากมายขนาดนี้ ลองคิดภาพ 7-eleven ที่ไม่มีคนคอยเชิญชวนให้ซื้อ ขนมจีบ ซาลาเปา ข้าวกล่องดู ร้านจะน่าเบื่อขนาดไหน
2
และหากถามคำถามเดียวกัน ให้แฟรนส์ไชส์ 7-eleven เอาป้ายลง แล้วติดป้ายชื่อร้านตัวเอง คงไม่มีใครกล้าทำ!
1
ขอส่งท้ายที่ “วรรคทอง” จากเจ้าสัวธนินท์...
“คนฉลาดชอบทำเรื่องง่าย แต่ผมชอบทำเรื่องยาก ยากแบบมีอนาคต ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องศึกษา”
คือเรื่องยากแต่มีอนาคต เป็นที่ต้องการของตลาด หากทำได้สำเร็จจะยิ่งใหญ่มาก
ทั้งเจ้าสัวธนินท์ และแซม วอลตัน เลือกทำงานยาก แต่มองสถานการณ์ความเป็นจริง ณ ขณะนั้นๆ ทำให้สามารถคิดกลยุทธ์ธุรกิจในแบบที่คนอื่นคิดไม่ถึง จนนำไปสู่ความสำเร็จในที่สุด
1
และความสำเร็จนั้น ก็คงหอมหวน เหมือนดั่งเช่น 7-eleven และ วอลมาร์ท นั่นเอง…
ที่มา: หนังสือความสำเร็จดีใจได้วันเดียว, Good strategy bad strategy
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด "ติดดาว" ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
และสำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เชิญพูดคุยแลกเปลี่ยน ความรู้ได้ที่
http://bit.ly/2okz7Nw
25 บันทึก
110
23
26
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว
25
110
23
26
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย