16 ต.ค. 2019 เวลา 00:39 • ธุรกิจ
" ธ ร ร ม ะ ไม่ใช่ ธ ร ร ม ช า ติ "
" ธรรม (ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาของพราหมณ์)
หรือ ธัมมะ (ภาษาบาลี) คือ พระธรรมคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธรรมชาติ คือความจริงแท้ที่มีในโลกและจักรวาล
เปรียบธรรมชาติของคนทั่วไปแบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆ ได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ธรรมชาติของคนกลุ่มนี้
คือจะเป็นผู้ที่มี จิตสำนึกดี 3 ส่วน และมีจิตสำนึกไม่ดี 7 ส่วน
ส่วนธรรมชาติของคนกลุ่มที่ 2
จะเป็นผู้มี จิตสำนึกดี 5 ส่วน จิตสำนึกไม่ดี 5 ส่วน
ส่วนธรรมชาติของคนกลุ่มที่ 3
จะเป็นผู้มี จิตสำนึกดี 7 ส่วน จิตสำนึกไม่ดี 3 ส่วน
ธรรมชาติของคนกลุ่มที่ 1 คือ ได้สั่งสมบุญมาน้อย
ถ้าไม่สั่งสมบุญเพิ่มให้เพียงพอ ก็จะกลายเป็น"คนชั่ว" ไปสู่ทุคติ
ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสนับสนุนของฝ่าย "อกุศลธรรม"
หรือธรรมฝ่ายดำ คอยก่อความรังควานขัดขวาง
ให้แต่ความทุกข์ร้อนแก่คนอีกทั้ง 2 กลุ่ม
ธรรมชาติของคนกลุ่มที่ 2 คือ
เป็นคนที่ได้สั่งสมบุญมาดีแล้วในระดับหนึ่ง
มีโอกาสไปทั้งสุคติและทุคติ จะเป็น"คนดี" หรือ "คนไม่ดี" ก็ได้
ถูกดึงให้อยู่ในฝ่าย "อัพยากตธรรม" เป็นฝ่ายธรรมกลางๆ
คืออีก 2 ฝ่าย ฝ่ายไหนมีกำลังมากกว่า
ก็ถูกชักจูง ดึงไปให้สนับสนุนในฝ่ายนั้นๆ ได้โดยง่าย
และธรรมชาติของคนกลุ่มที่ 3 คือ
เป็นบุคคลที่ได้สั่งสมบุญบารมีมามากแล้ว ดีแล้ว
จึงเป็นผู้มีบุญบารมี ย่อมที่จะเป็น"คนดี" ไปสู่สุคติได้โดยง่าย
เป็นฝ่ายสนับสนุนเกื้อกูลของฝ่าย "กุศลธรรม" ได้เป็นอย่างดี
ชนิดที่เรียกว่า ว่าอย่างไรว่าตามกัน เห็นหน้ากันก็รู้ใจ
คนทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะมีปัจจัยสำคัญที่จะส่งผล คือ
เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมใด ก็จะมีผลดีหรือไม่ดีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
หากอยู่ในหมู่คนดี ก็มีโอกาสไปในทางดี
ถ้าอยู่ในหมู่คนไม่ดี ก็ย่อมที่จะเปลี่ยนแปลงไป
ตามสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ได้ เหมือนดั่ง "องคุลีมาร"
"ที่คบพาล พาลพาไปหาผิด" ไปเป็น มหาโจรองคุลีมาล
"แต่พอคบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" ไปเป็น พระอรหันต์องคุลีมาล
หากปล่อยให้ใจของเรา เป็นไปตามธรรมชาติของตัวเองแล้ว
ก็ย่อมจะไหลไปตก อยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ไม่ดีได้ง่าย
เรียกว่าถูกสอดละเอียด ของอีกฝ่ายคือ "ฝ่ายธรรมดำ" เข้ามา
โอกาสที่จะประพฤติผิด ประพฤตินอกรีตนอกรอย ทำความไม่ดีจึงมีมาก
และตัวเองก็จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องที่ถูกต้องไป
นั่นคือเพราะ คิดจากจิตใจที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตในสำนึกของตัวเอง
คนเราจึงต้องมี "ธรรมะ" เป็นเครื่องคอยกำกับใจตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ไม่ดีได้
ธรรมะ จึงไม่ใช่ธรรมชาติ หรือธรรมชาติของใจไม่
หากเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส
เป็นธรรมในธรรม ที่ทำให้เราไม่ตกไปอยู่ภายใต้สิ่งที่ไม่ดีนั่นเอง!
ใจใจใจ ไม่ใช่ ธรรมชาติ
ใสสะอาด เกิดได้ ให้ฝึกฝน
ใจดวงนี้ ต้องหมั่นฝึก ตรึกจึงยล
ใจใสจน มองเห็น เช่นนี้แล ฯ
#ชัยตะวัน
โฆษณา