17 ต.ค. 2019 เวลา 12:46 • ไลฟ์สไตล์
ผู้ชนะรางวัล Wildlife Photographer Of The Year ประจำปี 2019
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมานี้ London Natural History Museum ผู้จัดการประกวดภาพถ่ายหัวข้อ Wildlife เป็นประจำทุกปี ได้ทำการประกาศผลผู้ชนะรางวัลในปีนี้ออกมา
รางวัลนี้ได้มีการจัดประกวดมาเป็นปีที่ 55 แล้ว และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดงรูปถ่ายสัตว์ในธรรมชาติที่ดีที่สุดในโลกของแต่ละปี
โดยในปีนี้มีช่างภาพทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นจากกว่า 100 ประเทศ ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดกันมากมายถึง 48,000 ภาพ
และวันนี้ Around The World จะขอนำผู้อ่านไปพบกับผู้ชนะในหัวข้อต่างๆของการประกวดนี้กันครับ 😊😊
ผู้ชนะหัวข้อ Behaviour: Birds
Land of the eagle, Winner 2019, Behaviour: BirdsAUDUN RIKARDSEN, NORWAY - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
บนหน้าผาสูงชันบนชายฝั่งทางตอนเหนือของนอร์เวย์ ช่างภาพได้วางกล้องเอาไว้บนกิ่งไม้ด้วยความหวังที่จะจับภาพของนกอินทรีทองให้ได้
เขาติดตั้ง tripod , แฟลช และตัวจับการเคลื่อนไหวเข้าไว้กับกล้องถ่ายรูป และสร้างที่ซ่อนตัวของเขาไว้ห่างไปไม่ไกลมากนัก
และสามปีต่อมา นกอินทรีถึงจะเริ่มคุ้นเคยกับกล้องถ่ายรูป และเริ่มมาเกาะที่กิ่งไม้นั้นเป็นประจำเพื่อสำรวจชายฝั่งเบื้องล่าง และทำให้เขาได้ภาพนี้มาในที่สุด
ผู้ชนะหัวข้อ Black and White
Snow exposure, 2019 winner, Black and WhiteMAX WAUGH, USA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ในฤดูหนาวของอุทยานแห่งชาติ Yellowstone กระทิงไบซันอเมริกาตัวนี้ยืนหยัดอย่างโดดเดี่ยวและเงียบงันท้าทายลมพายุหิมะที่พัดรอบตัวของมัน
อเมริกาไบซันเอาชีวิตรอดจากฤดูหนาวที่ยาวนานหลายเดือนในอุทยานด้วยการกินหญ้าและต้นกกที่อยู่ใต้กองหิมะ
มันจะใช้กล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงของมันสะบัดหัวไปมาเพื่อกวาดกองหิมะที่ทับถมบนหญ้าออกไป
ผู้ชนะหัวข้อ Urban Wildlife
The Rat Pack by Charlie Hamilton James, 2019 winner, Urban WildlifeCHARLIE HAMILTON JAMES, UK - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
บนถนน Pearl Street ในย่าน Lower Manhattans กรุงนิวยอร์ก หนูท่อสีน้ำตาล วิ่งไปมาระหว่างบ้านของมันใต้ตะแกรงต้นไม้ และถุงขยะที่เต็มไปด้วยเศษอาหาร
ประชากรหนูในเมืองได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพวกมันมีความสามารถหลายอย่างทั้งการว่ายน้ำ การกระโดด และการขุดโพรง
พวกมันมีความเฉลียวฉลาด และมีเครือข่ายท่อระบายน้ำในการเดินทางไปมาในเมืองใหญ่
พวกมันเป็นสัตว์สังคมและในบางครั้งยังแสดงความเห็นใจและช่วยเหลือกันได้อีกด้วย
ผู้ชนะหัวข้อ Animals in their environmental
Snow-plateau nomads, 2019 winner, Animals in Their EnvironmentSHANGZHEN FAN, CHINA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ฝูงละมั่งทิเบตตัวผู้ ทิ้งรอยเท้าไว้บนเนินทรายที่ปกคลุมด้วยหิมะของทะเลทราย ในอุทยานแห่งชาติ Altun Shan ประเทศจีน
ละมั่งตัวผู้จะมีเขายาวสีดำ และมีความว่องไวปราดเปรียวอย่างมาก พวกมันสามารถดำรงชีวิตบนที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลได้ถึง 5,500เมตร ที่ซึ่งอุณหภูมิอาจจะลงไปต่ำถึง -40 C
อย่างไรก็ดีพวกมันมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการล่าเพื่อนำขนของมันไปขาย และต้องใช้หนังของมันสามถึงสี่ตัวสำหรับการทำผ้าพันคอขนสัตว์เพียง 1 ผืน
ผู้ชนะรูปถ่ายช่างภาพอายุไม่เกิน 10 ปี
Humming Surprise, 2019 winner, 10 years and underTHOMAS EASTERBROOK, UK - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ระหว่างพักผ่อนวันหยุดกับครอบครัวของเขาในฝรั่งเศส ช่างภาพวัยเยาว์อยู่ในสวนอันอบอุ่นในยามเย็นเมื่อเขาได้ยินเสียงขยับปีกของผีเสื้อนกฮัมมิงเบิร์ดซึ่งกำลังบินอยู่เหนือดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วง
มันกำลังดูดน้ำหวานดอกไม้ขึ้นมาด้วยจะงอยปากที่ยื่นยาวของมัน
มันได้ชื่อว่าเป็นผีเสื้อที่สามารถขยับปีกได้เร็วกว่านกฮัมมิงเบิร์ด ในระหว่างที่มันกำลังดูดน้ำหวาน ช่างภาพจับภาพส่วนหัวที่นิ่งของมันได้อย่างชัดเจน ส่วนปีกที่ขยับอย่างรวดเร็วของมันนั้นออกมาเป็นภาพเบลอๆ
ผู้ชนะรูปถ่ายช่างภาพ 11-14 ปี
Night Glow, 2019 winner, 11-14 years old CRUZ ERDMANN, NEW ZEALAND - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ในระหว่างทัวร์ดำน้ำกลางคืนที่ Lembeh Strait สุลาเวสีเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ช่างภาพวัยเยาว์พบกับหมึกหอมคู่หนึ่งที่กำลังอยู่ระหว่างฤดูผสมพันธ์
หมึกหอมตัวหนึ่งว่ายหนีไปในทันที ในขณะที่อีกตัวหนึ่งลอยอยู่นานพอที่เขาจะถ่ายรูปมันเอาไว้ได้
ตามตัวของหมึกหอมตัวผู้นี้ จะมีจุดและลวดลายต่างๆเป็นสีสันงดงามหลากหลายสี ที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม
ผู้ชนะรูปถ่ายช่างภาพอายุ 15-17 ปี
Early Riser, 2019 winner, 15-17 years oldRICCARDO MARCHEGIANI, ITALY - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ลิงบาบูนขนฟูเพศเมียซึ่งมีลูกอายุ 1 เดือนของมันห้อยอยู่กับหน้าท้อง กำลังไต่ขอบหน้าผาบนที่ราบสูงของอุทยานแห่งชาติ Simien Mountains ในประเทศเอธิโอเปีย
ลิงบาบูนขนฟูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินหญ้าเป็นอาหาร และพบได้แค่บนที่ราบสูงในประเทศเอธิโอเปียเท่านั้น
ผู้ชนะหัวข้อ Behavior: mammals
The Equal Match, 2019 joint winner, Behaviour: MammalsINGO ARNDT, GERMANY, WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
เสือพูมาเพศเมียกำลังจู่โจมกัวนาโคเพศผู้ขนาดใหญ่ ในอุทยานแห่งชาติ Torres del Paine ในเขต Patagonia ประเทศชิลี
เสือพูมามีกระดูกสันหลังที่ยาวและมีความยืดหยุ่นคล้ายเสือชีต้า ส่งผลให้มันมีความรวดเร็วอย่างมาก แต่ก็ทำได้แค่เพียงในระยะทางสั้นๆเท่านั้น
เสือพูมาตัวนี้ตามรอยตัวกัวนาโคมาแล้ว 30 นาที และเมื่ออยู่ห่างจากเหยื่อในระยะ 10 เมตร มันก็ออกวิ่งและกระโจนตะปปเหยื่อของมัน
อย่างไรก็ดี กัวนาโคบิดตัวงอไปทางด้านข้างทันทีที่โดนกรงเล็บตะปปใส่ และวิ่งหนีจากไปได้สำเร็จ
การล่าของเสือพูมา 4 ใน 5 ครั้งจะเป็นดังเช่นนี้ ก็คือไม่ประสบผลสำเร็จ
ผู้ชนะหัวข้อ Animal Portraits
Face of Deception, 2019 winner, Animal PortraitsRIPAN BISWAS, INDIA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
มันอาจจะดูคล้ายมด จนกระทั่งคุณเริ่มนับขาของมัน และสังเกตเห็นระยางค์ที่ยื่นออกมาข้างๆเขี้ยวทั้งสองข้างของมัน
รูปภาพมดรูปร่างประหลาดนี้ถูกถ่ายได้ที่ป่าเขตร้อน ในอุทยาน Buxa Tiger
เขตบังกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
เมื่อมองดูใกล้ๆ ช่างภาพจึงได้พบว่ามันคือแมงมุมปูขี้นก ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับมด และมีความยาวเพียงแค่ 5 มิลลิเมตรเท่านั้น
แมงมุมหลายสปีชี่ส์เลียนแบบรูปร่าง พฤติกรรม และแม้แต่กลิ่นของมด การแฝงตัวเข้าไปในรังของมด ทำให้พวกมันสามารถหาโอกาสกินมด หรือไม่เช่นนั้นก็เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงจากการถูกฝูงมดกิน
ผู้ชนะหัวข้อ Rising star portfolio
Frozen Moment, 2019 winner, Rising Star Portfolio AwardJÉRÉMIE VILLET, FRANCE - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
แกะ dall sheep เพศผู้สองตัวซึ่งมีขนฟูสีขาวกลมกลืนไปกับหิมะรอบๆตัว ยืนนิ่งพิงกัน ท่ามกลางลมพายุหิมะรุนแรง ในเขตยูคอน ประเทศแคนาดา
ก่อนหน้านั้น พวกมันต่อสู้ผลักกันไปมา แต่แล้วลมพายุและอากาศอันหนาวเย็นถึง -40 C ก็บังคับพวกมันให้ต้องสงบศึกกันชั่วคราว
ผู้ชนะหัวข้อ Behaviour: Amphibians and Reptiles
Pondworld, 2019 winner, Behaviour: Amphibians and ReptilesMANUEL PLAICKNER, ITALY - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ช่างภาพได้ทำการติดตามการย้ายถิ่นของกบในฤดูใบไม้ผลิ ในเขต South Tyrol ประเทศอิตาลี ทุกๆปีมานานกว่า 10 ปีแล้ว
อุณหภูมิที่สูงขึ้นในฤดูใบไม้ผลิทำให้กบออกมาจากแหล่งกบดานในฤดูหนาวของพวกมันเพื่อทำการผสมพันธุ์
กบตัวผู้จะเกาะบนตัวคู่ของมันจนกระทั่งตัวเมียวางไข่ ซึ่งเป็นเจลลี่ใสๆ และมีจำนวนมากถึงราวๆ 2,000 ฟองต่อครั้ง
ผู้ชนะในหัวข้อ Portfolio Award
The Huddle, 2019 winner, Portfolio AwardSTEFAN CHRISTMANN, GERMANY - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR.
เพนกวินจักรพรรดิตัวผู้ราวๆ 5,000 ตัวยืนเบียดเสียดกันท่ามกลางพายุหิมะและความหนาวเหน็บถึง -40 C ที่ Atka Bay บนแผ่นน้ำแข็งของแอนตาร์กติกา หน้าต่อ Ekström Ice Shelf
พวกมันแต่ละตัวจะมีไข่หนึ่งใบวางอยู่บนเท้า ซึ่งจะถูกห่อหุ้มด้วยถุงฟักไข่ซึ่งเป็นรอยพับบนผิวหนังของพวกมัน
ส่วนพวกตัวเมียจะลงไปที่ทะเลเพื่อหาอาหารมาให้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน การมีชีวิตรอดของพวกมันขึ้นอยู่กับความร่วมมือกัน พวกมันจะหันหลังให้กับลมและก้มหน้าเข้าหาพื้นดินเพื่อแบ่งปันความอบอุ่นจากร่างกายให้กันและกัน
ผู้ชนะหัวข้อ Earth’s Environments
Creation, 2019 winner, Earth’s EnvironmentsLUIS VILARINÌ, SPAIN - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ลาวาสีแดงไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดเป็นกลุ่มควันพิษขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยหมอกควันกรดและอนุภาคแก้วขนาดเล็ก
นี่คือด่านหน้าของการปะทุที่รุนแรงที่สุดในรอบ 200 ปี ของภูเขาไฟ Kîlauea ซึ่งเป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่ครุกรุ่นที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนเกาะฮาวาย
การปะทุเกิดขึ้นจากรอยแยก 24 แห่งบนขอบหน้าผาทิศตะวันออกของมัน ในเดือนพฤษภาคม 2018
ภายในเวลาไม่กี่วัน ลาวาได้ไหลอย่างรวดเร็วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดเป็นแผ่นดินใหม่ ซึ่งมีขนาดยื่นยาวออกไป 1.6 กิโลเมตร
ภาพถ่ายนี้แสดงให้เห็นถึงรอยต่อระหว่างหินที่หลอมเหลวกับน้ำทะเล และการเกิดขึ้นของแผ่นดินใหม่
ผู้ชนะในหัวข้อ Underwater
The Garden of Eels, 2019 winner, UnderwaterDAVID DOUBILET, USA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ฝูงปลาไหลสวน (garden eel) จำนวนมาก อยู่รวมกันกินบริเวณกว้างถึง 2/3 ของสนามฟุตบอล บนเนินทรายใต้น้ำที่ลาดเอียงของจังหวัด Dauin ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นบริเวณหลักของ Coral Triangle
ปลาไหลน้ำอุ่นชนิดนี้มีลักษณะขี้อายอย่างมาก พวกมันจะมุดลงไปในพื้นทรายทันทีที่รู้สึกถึงอะไรก็ตามที่ผิดปกติไป
ผู้ชนะหัวข้อ Behaviour: Invertebrates
The Architectural Army, 2019 winner, Behaviour: InvertebratesDANIEL KRONAUER, USA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ฝูงมดทหารเคลื่อนที่ผ่านป่าเขตร้อนในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศคอสตาริกา
มดเหล่านี้จะใช้ร่างกายของพวกมันสร้างเป็นรังเพื่อเป็นที่อยู่ของนางพญาและตัวอ่อน
พวกมันยังสร้างแกนของรังในแนวตั้งด้วยการยึดเกาะกันระหว่างอุ้งเท้า และสร้างเป็นเครือข่ายของห้องและอุโมงค์ในรัง
ตกกลางคืนฝูงมดจะส่งหน่วยลาดตระเวนออกไปเพื่อหาอาหารซึ่งโดยมากแล้วก็คือมดสายพันธุ์อื่นๆนั่นเอง
ในคืนหนึ่ง ฝูงมดได้สร้างรังระหว่างกิ่งไม้ที่ตกลงมาสองกิ่ง จนเป็นโครงสร้างขนาด 50 เซนติเมตรที่มีรูปร่างคล้ายกับวิหารหรือโบสถ์
ผู้ชนะหัวข้อ Plants and Fungi
Tapestry of Life, 2019 winner, Plants and Fungi ZORICA KOVACEVIC, SERBIA/ USA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
กิ่งก้านของต้น Monterey Cypress ต้นนี้ราวกับถูกประดับประดาด้วยกำมะหยี่สีส้ม และลูกไม้สีเทา สร้างเป็นภูมิทัศน์ที่ดูเหมือนราวกับมาจากโลกอื่น ที่แถบ Pinnacle Point ในอุทยานแห่งชาติ Point Lobos รัฐแคลิฟลอเนียร์
แถบเล็กๆแห่งนี้เป็นเพียงที่เดียวในโลกที่ธรรมชาติจะเกิดการผสมรวมกันจนออกมาเป็นฉากที่งดงามในรูปแบบนี้ได้
ฟองน้ำสีส้มที่หุ้มรอบๆนั้น อันที่จริงแล้วคือราเขียวจำนวนมากที่เกิดเป็นสีส้มจากสาร carotenoid และอาศัยกิ่งไม้เหล่านี้เป็นที่เกาะยึด
ผู้ชนะหัวข้อ Wildlife Photojournalist Story Award
Showtime, 2019 winner, Wildlife Photojournalist Story AwardJASPER DOEST , NETHERLANDS - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
เป็นเวลา 17 ปีแล้วที่ริคุ ลิงหางสั้นจากประเทศญี่ปุ่น ได้ขึ้นทำการแสดงตลกเสียดสีล้อเลียน วันละ 3 รอบ ที่โรงละคร Nikkō Saru Gundan ทางตอนเหนือของโตเกียว
โชว์ดังกล่าวนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งจากนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น ดัดแปลงมาจากบทละครชื่อว่า Sarumawashi หรือการเต้นของลิง ซึ่งสืบทอดกันมานานกว่า 1,000 ปี
โดยมันจะแต่งตัวในบทบาทสมมุติต่างๆและยืนสองขาแสดงละครกับเทรนเนอร์ของมัน
ผู้ชนะหัวข้อ Wildlife Photojournalism: Single Image
nother Barred Migrant, 2019 winner, Wildlife Photojournalism: Single ImagePHOTO: ALEJANDRO PRIETO, MEXICO - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ภายใต้ท้องฟ้าของอริโซนาที่เต็มไปด้วยดวงดาวพร่างพราย รูปภาพขนาดใหญ่ของเสือจากัวร์ถูกฉายขึ้นไปยังบริเวณกำแพงของชายแดนระหว่างอเมริกาและเม็กซิโก
ในปัจจุบันเสือจากัวร์แทบจะสูญพันธุ์ไปจากอเมริกาแล้ว โดยบันทึกสุดท้ายของ
จากัวร์ตัวเมียคือในปี 1963
ดังนั้นโอกาสเดียวที่จากัวร์จะผสมพันธุ์กันได้คือการข้ามผ่านไปมาระหว่างชายแดน
1
ภาพที่ถูกฉายขึ้นบนกำแพงนี้ ทำเพื่อเน้นย้ำถึงนโยบายของประธานาธิบดีทรัมป์ ที่จะสร้างกำแพงขนาดใหญ่ตลอดแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการเคลื่อนย้ายของสัตว์ป่า และนำไปสู่จุดจบของเสือจากัวร์ในอเมริกา
ผู้ชนะ Overall Winner
และก็มาถึงผู้ชนะรางวัลสูงสุดในการประกวดปีนี้กันแล้ว
กับรูปถ่ายที่มีชื่อว่า The Moment
The Moment: Wildlife Photographer of the Year 2019 winner.PHOTO: YONGQING BAO, CHINA - WILDLIFE PHOTOGRAPHER OF THE YEAR
ภาพถ่ายอันน่าทึ่งนี้มาจากมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน โดยช่างภาพ Yongqing Bao จับภาพการต่อสู้ระหว่างจิ้งจอกทิเบตกับตัวมาเมิต ซึ่งกำลังพยายามดิ้นรนต่อสู้เอาชีวิตรอดอย่างเอาเป็นเอาตาย
Roz Kidman Cox ประธานกรรมการตัดสินกล่าวว่า มันเป็นภาพที่ผสมผสามกันระหว่างอารมณ์ขบขันและความน่าสะพรึงกลัว สามารถดึงความดราม่าและตึงเครียดในธรรมชาติออกมาในภาพได้ และในเชิงการถ่ายภาพแล้ว นับได้ว่าเป็นจังหวะรูปที่สมบูรณ์แบบเลยทีเดียว
แปลและเรียบเรียง Around The World@blockdit
ชอบภาพไหนเป็นพิเศษ มา comment พูดคุยกันนะครับ และขอบคุณจริงๆสำหรับการกด like หรือ share เป็นกำลังใจให้กันนะครับ 😊😊😍😍
ป.ล. ต้องขอโทษทุกคนด้วยสำหรับการหายไปบ่อยๆด้วยเหตุผลกับปัญหาส่วนตัวหลายอย่าง 😅😅😅 จะพยายามมาทักทายกันเป็นช่วงๆนะครับ
และขอขอบคุณผู้อ่านทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านด้วยนะครับ 🙏🙏👍👍
โฆษณา