Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
16 ต.ค. 2019 เวลา 12:51 • การศึกษา
“จริงหรือไม่ ที่สามีภรรยาจะต้องร่วมกันใช้หนี้ในทุกกรณี ?"
เราอาจจะเคยได้ยินคนพูดกันอยู่บ่อย ๆ ว่าสามีภรรยาจะต้องร่วมหัวจมท้ายกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
pixabay
คำพูดเหล่านี้ แม้จะมีส่วนจริงอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถูกต้องไปซะทั้งหมด !!!
เหมือนกับประโยคคลาสสิกหรือความคิดที่ถูกปลูกฝังมาแต่เนิ่นนาน อย่างเช่นกรณีอุบัติเหตุระหว่างรถยนต์กับรถมอเตอร์ไซค์ ที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า “ยังไงรถใหญ่ก็ผิด รถเล็กถูกเสมอ”
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง (เรื่องนี้ไว้ผมจะนำมาย่อยให้อ่านทีหลัง)
ในเรื่องหนี้สินของสามีภรรยาก็เช่นเดียวกัน แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรสแต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันเสมอไป
แล้วมีหนี้อะไรบ้างที่สามีภรรยาไม่ต้อง รับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งก่อนจะไปถึงตรงนั้น
เราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าอะไรบ้างคือหนี้ที่
สามีภรรยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือ
ที่เรียกว่า “ลูกหนี้ร่วม”
pixabay
ผมขออธิบายตามลำดับอย่างนี้นะครับ
1) เมื่อบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินเดียวกัน เราเรียกว่า “ลูกหนี้ร่วม” โดยลูกหนี้ทุกคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันทั้งจำนวนโดยไม่แบ่งแยกตามสัดส่วน
1
สมมติว่า นาย ก. ข. ค. ร่วมกันกู้เงินธนาคาร จำนวน 1,500,000 บาท ทั้ง 3 คนต้องร่วม
รับผิดชอบในเงินทั้งก้อน ไม่ใช่เพียงคนละ 500,000 บาท
2) หนี้ที่สามีภรรยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน จะนำวิธีการตามข้อ 1) มาใช้
3) เพื่อให้หนี้ร่วมของสามีภรรยามีความชัดเจนยิ่งขึ้น กฎหมายจึงได้กำหนดให้หนี้ทั้ง 4 ประเภทต่อไปนี้ “ที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรส” เป็นหนี้ร่วมเช่นกัน ถึงแม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะไม่ได้ร่วมก่อหนี้ด้วยก็ตาม
เพราะกฎหมายถือว่าเป็นหนี้เหล่านี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องภายในครอบครัว ซึ่งได้แก่
1. หนี้ที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว / การอุปการะเลี้ยงดู รักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว / การศึกษาของบุตร ตามสมควรแก่อัตภาพ
เช่น การกู้เงินเพื่อเป็นค่าเทอมบุตร หรือเพื่อนำมารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว
pixabay
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
เช่น หนี้ค่าจ้างซ่อมแซมบ้านซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยและได้มาระหว่างสมรส
3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน
เช่น สามีภรรยาเป็นหุ้นส่วนกันเปิดร้านวัสดุก่อสร้าง หนี้ค่าวัสดุก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ซัพพลายเออร์ ถือว่าเป็นหนี้ร่วม
4. หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน (การรับรอง)
เช่น ภรรยากู้เงินเพื่อนำไปตกแต่งร้านขายเสื้อผ้าที่เปิดมาตั้งแต่ก่อนสมรส โดยสามีได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม
pixabay
ในส่วนของหนี้ที่สามีภรรยาไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือพูดภาษาบ้าน ๆ ก็คือ หนี้ของใครของมัน ซึ่งในส่วนนี้กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่ามีอะไรบ้าง
หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อะไรที่ไม่ใช่หนี้ร่วมหรือหนี้ที่กฎหมายกำหนดให้สามีภรรยาจะต้องรับผิดร่วมกันตามข้อ 3) ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่แต่ละฝ่ายจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เช่น
- สามีไปกู้เงินเพื่อนำไปซื้อคอนโดให้พริตตี้
- สามีภรรยาแยกกันอยู่ โดยภรรยาได้ไปยืมเงินเพื่อนบ้านเพื่อนำมาใช้สอยเรื่องส่วนตัว
- หนี้บัตรเครดิตส่วนตัวของสามี หรือภรรยาที่นำมาใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัว
pixabay
"หนี้เหล่านี้จะไม่ผูกพันคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง โดยคนที่ก่อหนี้จะต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว"
แล้วหนี้ร่วมระหว่างสามีภรรยานั้น จะแตกต่างกับหนี้ส่วนตัวอย่างไร ?
ตามกฎหมายเมื่อชายและหญิงสมรสกัน (จดทะเบียนสมรส) จะเกิดความผูกพันขึ้นในเรื่องของทรัพย์สิน
จากที่เคยเป็นเงินของฉัน รถของฉัน บ้านของฉัน ก็จะกลายมาเป็น "สินส่วนตัวและสินสมรส"
เมื่อหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาแล้ว กฎหมายบอกว่าให้บังคับชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ในการบังคับชำระหนี้ที่เป็นหนี้ร่วมนั้น เจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องทั้งสามีและภรรยาเพื่อบังคับเอากับสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายได้
แม้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายจะไม่ได้ลงชื่อร่วมในฐานะคู่สัญญาด้วยก็ตาม
- สินส่วนตัว สินสมรสคืออะไร ? -
blockdit.com
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
″เสียดายก่อนแต่งไม่ได้อ่าน แต่งแล้ว (เงิน)ไปไหน !?” การแต่งงาน คือ การที่ชายและหญิงตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งรวมถึงครอบครัวของทั้งสองฝ่ายที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻
18 บันทึก
131
49
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายครอบครัว และมรดก
18
131
49
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย