17 ต.ค. 2019 เวลา 04:30
Modern China History 5
"การปฏิรูป 100 วัน"
บ้านเมืองที่เสื่อมโทรมจากการปกครองของราชวงศ์ชิงมาเป็นระยะเวลานานเนื่องจากแพ้สงครามกับชาวต่างชาติและจำต้องทำข้อตกลงยุติสงครามหลายฉบับที่ไม่เป็นธรรมและถูกชาวต่างชาติเข้ามาตักตวงผลประโยชน์มากมายจากประเทศจีน
2
ในปี ค.ศ. 1898 ภายใต้การนำของ กัง ยู่ ไหว และลูกศิษย์ของเขา เหลียง ฉี เชา ได้จัดทำแผนพัฒนาประเทศเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศจีนให้ทันสมัย แทนการพยายามรักษาของเก่าตามแนวคิดของผู้ที่นับถือลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นที่พอพระทัยของ องค์จักรพรรดิ กวาง สู ที่ในขณะนั้นพระนางซูสีไทเฮาได้เริ่มปล่อยให้พระองค์ออกว่าราชการเอง การปฏิรูปนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 1898
1
คณะปฏิรูป 100 วัน
โดยแผนพัฒนาดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
- ให้ยกเลิกระบบสอบเข้ารับราชการแบบเก่า
- ยกเลิกตำแหน่งงานราชการที่ไม่มีหน้าที่(ไม่มีงานแต่ได้รับเงินเดือน)
- สร้างมหาวิทยาลัยปักกิ่งซึ่งจะเป็นสถานที่สอนศิลปะและวิทยาศาสตร์จากตะวันตกและของประเทศจีนดั้งเดิม
- สร้างโรงเรียนสอนการเกษตรในทุกๆมณฑล รวมถึงโรงเรียนและมหาลัยในทุกมณฑลและเมือง
- สร้างระบบการเรียนการสอนใหม่โดยหันมาศึกษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์แทนการมุ่งเน้นไปที่คำสอนขงจื้อเพียงอย่างเดียว
- สนับสนุนให้เชื้อพระวงศ์ไปเรียนต่างประเทศเพื่อจะได้กลับมาพัฒนาบ้างเมือง
- เปลี่ยนระบอบการปกครองจากกษัตริย์เป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
- นำหลักการทุนนิยมมาใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
- พัฒนากองทัพจีนให้ทันสมัยโดยประยุกต์ใช้การฝึกและวิธีต่างๆตามแบบตะวันตก
- สร้างสถาบันสอนนายเรือ
- เปลี่ยนดินแดนของกองทัพที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นที่ทำการเกษตร
- เร่งการเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม ผ่านการผลิต การค้าและการลงทุน
- สร้างโรงเรียนสอนการค้าสำหรับการผลิตไหม ชา และงานฝีมือของคนจีน
- สร้างที่ทำการสำหรับการขนส่งทางรางและเหมืองแร่
องค์จักรพรรดิ กวาง สู
ความพยายามในการพัฒนาตามกรอบนโยบายเหล่านี้ ถ้าเกิดขึ้นจริงอาจจะทำให้ประเทศจีนกลับขึ้นมามีแสนยานุภาพอีกครั้งและเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดก็เป็นได้ แต่การดำเนินตามแผนนี้เกิดขึ้นได้เพียงไม่กี่สัปดาห์และสิ้นสุดลงในวันที่ 21กันยายน ค.ศ. 1898 อันเนื่องมาจาก เรื่องราวการพัฒนาตามอย่างตะวันตกเหล่านี้ได้ไปถึงพระนางซูสีไทเฮา โดยข้าราชสำนักหัวเก่าและผู้เสียประโยชน์จากการปฏิรูป พระนางจึงสั่งรัฐประหารยึดอำนาจจาก องค์จักรพรรดิ กวาง สู และจับผู้ร่วมขบวนการไปประหารชีวิตหรือปลดออกจากราชการ องค์จักรพรรดิ กวาง สู ตกเป็นนักโทษของพระนางซูสีและถูกคุมขังในคุกหลวงจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1908 ส่วนแกนนำทั้งสอง กัง ยู่ ไหว และ เหลียง ฉี เชา ได้ลี้ภัยไปยังต่างประเทศได้ทัน เป็นอันสิ้นสุดการปฏิรูป หรือ ที่เรียกว่า การปฏิรูป 100 วัน
กัง ยู่ ไหว (ซ้าย) และ เหลียง ฉี เชา (ขวา)
ปัญหาภายในประเทศยังเกิดขึ้นเรื่อยๆเมื่อคนในบ้านเมืองส่วนใหญ่ต่างตกทุกข์ได้ยาก ชาวจีนต่างมีปฏิกิริยาทางด้านลบกับชาวตะวันตกที่เข้ามาหาผลประโยชน์ในประเทศ อย่างเห็นได้ชัดมากขึ้นทุกที จะเห็นได้จากเกิดการรวมตัวกันชนกลุ่มหนึ่งเรียกขบวนการของตนว่า "กลุ่มนักมวย" เพื่อต่อต้านชาวตะวันตก เรื่องราวของขบวนการนี้จะเป็นอย่างไร จะเกิดเหตุการณ์สำคัญอะไรขึ้นอีก โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ
ขอบคุณที่รับชมครับผม /\ :)
1.ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (History of Modern China), รศ.มาตยา อิงคนารถ, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา