Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
bookdii
•
ติดตาม
22 พ.ย. 2019 เวลา 14:12 • สุขภาพ
ถ้าอยากให้กระดูกแข็งแรงต้องทำยังไง?
นพ. อายุ 62 ที่ดูหนุ่มและแข็งแรงเท่าตอนอายุ 36 เผยเคล็ดลับ นอกจากกินมื้อเดียว แล้ว ยังต้องเดินมากๆ
แนะให้ มาสร้างกระดูกขา ให้แข็งแรง ชดเชยแคลเซียม ได้ด้วยการเดินมากขึ้นเป็น 2 เท่าของคนปกติ !
1
เป็นคำแนะนำ จากนายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ (Yoshinori Nagumo ) ผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาล 4 แห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เขียนหนังสือซึ่งเป็นผลงานระดับ Best sellerในญี่ปุ่นมาหลายเล่ม เกี่ยวกับการรักษาร่างกายให้แข็งแรง ดูหนุ่มสาวตลอด
1
และหนึ่งในนั้น มีบทหนึ่งที่ชื่อว่า “มาชดเชยแคลเซียมด้วยการเดินกันเถอะ” ซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัย อยากขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้
คุณหมอแนะนำว่า "ถ้าอยากทำให้กระดูกแข็งแรง ต้องเดินให้มากเป็นสองเท่าของคนทั่วไป เพราะแรงโน้มถ่วง จะทำให้กระดูกเพิ่มปริมาณแคลเซียมในกระดูกได้ตามธรรมชาติ"
https://pixabay.com/th/
ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงมีการพูดกันโดยทั่วไปว่า แคลเซียมจะลดน้อยลงตามอายุล่ะ?? คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า
แต่เดิม กระดูกเป็นเหมือนธนาคาร ซึ่งเก็บสะสมแคลเซียมเอาไว้ เมื่อแคลเซียมในเลือดลดลง ก็จะนำแคลเซียมจากกระดูกมาใช้แทน และเมื่อผู้สูงวัยมีการเดินที่ไม่เพียงพอ กระดูกก็จะค่อยๆเปราะบางลง
ถึงแม้จะกินแคลเซียมมากเพียงใด ก็ไม่มีผลช่วยอะไรมากนัก เพราะปัจจัยหลักที่สำคัญ คือ "ปริมาณการออกกำลังกาย" ที่ผู้สูงวัยมีลดน้อยลง ซึ่งบางรายในแต่ละวัน แทบไม่ได้มีการขยับตัวเลยนั่นเอง
นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปริมาณฮอร์โมนที่ลดลงอีกด้วย เพราะเดิมทีฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเพศชาย ต่างก็มี “ฤทธิ์เสริมสร้าง” ทำให้กระดูกแข็งแรงและกล้ามเนื้อบึกบึน
สำหรับผู้ชายนั้น ถึงแม้จะใกล้วัย 80 ปี แต่ปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตออกมา ก็ไม่น้อยไปกว่าช่วงวัยรุ่น ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิง จะเริ่มลดลงตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปี และจะหยุดผลิตเมื่อหมดประจำเดือนตอนอายุประมาณ 50 ปี
แน่นอนว่า...หากไม่มีฮอร์โมนเพศ ก็จะไม่สามารถหล่อเลี้ยงร่างกายได้ ธรรมชาติจึงจำเป็นต้องผลิตฮอร์โมนทดแทนขึ้นมา ชื่อว่า “แอนโดรเจน (Androgen)” ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตเพื่อชดเชยฮอร์โมนเพศหญิงในส่วนที่ขาด แต่แอนโดรเจนก็ไม่ได้มีปริมาณมากเพียงพอ กระดูกจึงไม่สามารถรักษาแคลเซียมเอาไว้ได้
นอกจากนั้น พวกเราผู้สูงวัย ยังมีแนวโน้มที่จะเดินน้อยลงเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงยิ่งทำให้ขาดแคลเซียมมากขึ้นไปอีก ส่งผลทำให้มีอาการปวดหัวเข่า และ ปวดสะโพก พอปวดแล้วก็จะยิ่งเดินน้อยลงไปอีก จนถึงขั้นต้องนั่งรถเข็น ซึ่งจะยิ่งเข้าสู่วงจรแย่ๆ ที่ทำให้เพื่อนๆยิ่งมีกระดูกอ่อนแอลงไปจนเกินแก้ไขเดินด้วยขาตนเองไม่ได้
ในทางกลับกัน ต่อให้เป็นวัยหนุ่มสาว หากนั่งทำงานอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ วันๆแทบไม่มีการขยับตัว แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็ลุกขึ้นมาใช้ขาอย่างหักโหมในการไปท่องเที่ยวทันที ก็จะมีอาการปวดข้อปวดเข่า เพราะร่างกายไม่เคยชิน ดังนั้น เราจึงควรฝึกนิสัยรักการเดินให้เป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ
https://pixabay.com/th/
คุณหมอโยะชิโนะริ นะงุโมะ (Yoshinori Nagumo )มีอายุถึง 60 ปีแล้ว แต่อายุกระดูกที่ตรวจวัดได้ ยังมีอายุเพียงแค่ 28 ปี ซึ่งอ่อนกว่าอายุจริงกว่า 30 ปี นั่นเป็นเพราะคุณหมอรักการเดินเป็นชีวิตจิตใจมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณหมอบอกว่า การเดินน้อยในวัยเด็กที่สะสมมา จะมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน เมื่ออายุมากขึ้น
ดังนั้น พ่อแม่ที่โอ๋ลูกมาก ไม่ยอมให้ลูกได้เดินไกล เพราะกลัวลูกเหนื่อย หรือกลัวลูกลำบาก ควรจะรีบเปลี่ยนความคิดใหม่ อย่าได้ทำร้ายสุขภาพของลูกในระยะยาว ที่จะเดินด้วยขาตัวเองไม่ได้ เมื่อมีอายุที่มากขึ้น เเละคุณหมอบอกว่า
พ่อแม่ชาวญี่ปุ่น จะฝึกให้ลูกเดินเยอะๆ ถ้าบ้านและโรงเรียนไม่ไกลจากกันมากนัก ก็จะใช้วิธีเดินไปกลับ แทนการนั่งรถไฟฟ้า หรือ ถ้าขึ้นรถไฟฟ้า ก็จะพยายามให้เด็กๆได้ยืน เพื่อฝึกกำลังขาและสะโพก เพราะการฝึกขาและสะโพกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของกระดูกไปตลอดชีวิต" 📍📍📍📍
18 บันทึก
48
37
31
18
48
37
31
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย