18 ต.ค. 2019 เวลา 10:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical robotics)
จากงานวิจัยของ Credence Research พบว่า ในปี 2015 หุ่นยนต์ทางการแพทย์มีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 7,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2023
ซึ่งการประมาณค่าการเติบโตของมูลค่าตลาดของหุ่นยนต์ทางการแพทย์มากถึงเกือบ 3 เท่า มีที่มาจากความต้องการนำหุ่นยนต์ทางการแพทย์มาใช้เพื่อลดการแพร่เชื้อโรคหรือโรคระบาดในระหว่างการการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดที่เกี่ยวกับระบบประสาท, กระดูก, และการผ่าตัดส่องกล้อง
ดังนั้นในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อใช้ในทางการแพทย์อีกหลายประเภท โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการช่วยผ่าตัด, หุ่นยนต์ที่ใช้ในการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งสามารถช่วยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงได้ เช่น ผู้ป่วยที่เส้นเลือดในสมองอุดตัน เป็นต้น , หุ่นยนต์ที่ช่วยดูแลผู้ป่วย เช่น ผู้สูงวัย รวมถึงผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยทั้งทางกายและทางใจ เป็นต้น และ หุ่นยนต์ที่ทำงานซ้ำๆ เช่น ทำความสะอาดห้อง (กำจัดเชื้อโรค), ขนส่งอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึง ยา เป็นต้น
หุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1. Telepresence
เป็นหุ่นยนต์ที่แพทย์นำมาใช้ในการตรวจอาการ, ซักประวัติ, และให้คำแนะนำในการรักษาคนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น ในชนบท เป็นต้น ได้แบบ real time
Dr. Bernadette Keefe ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแพทย์และสุขภาพ กล่าวว่า "แพทย์สามารถใช้หุ่นยนต์ Telepresence ในการโทรหาคนไข้เพื่อตอบคำถามและให้คำแนะนำในการรักษาให้กับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ โดยหุ่นยนต์เหล่านี้มี feature เด่นๆคือ การสำรวจความพร้อมใช้งานของห้องผ่าตัด และมีกล้องที่ใช้ในการตรวจสุขภาพของผู้ป่วย"
2. Surgical Assistants
เป็นหุ่นยนต์ที่แพทย์สามารถควบคุมได้จากระยะไกล เพื่อใช้ในการช่วยผ่าตัด ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือโรคติดต่อแพร่จากผู้ป่วยมาสู่แพทย์ได้
Dr. Bernadette Keefe ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการแพทย์และสุขภาพ กล่าวว่า "หุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับช่วยในการผ่าตัด มีข้อดีอย่างมากตรงที่ แพทย์สามารถควบคุมหุ่นยนต์เหล่านี้ที่อยู่ในห้องผ่าตัดได้ จากห้องควบคุมซึ่งอยู่อีกห้องหนึ่ง"
เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับช่วยในการผ่าตัดในทุกวันนี้กำลังพัฒนาขึ้นอีกเรื่อยๆ เช่น การนำเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน แบบในเกม Pokémon Go มาประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับช่วยในการผ่าตัด เพื่อให้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
3. Rehabilitation Robots
เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นผู้พิการให้สามารถเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น, มีความแข็งแรงมากขึ้น, และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยหุ่นยนต์เหล่านี้จะถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ผู้ป่วยที่เส้นเลือดในสมองอุดตัน, มีบาดแผลในสมอง, หรือมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง เป็นต้น
ในอนาคตอาจมีการนำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) มาปรับใช้กับหุ่นยนต์ชนิดนี้ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
4. Medical Transportation Robots
เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการขนส่งเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์, ยา, และอาหาร ให้กับผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาล
Manoj Sahi นักวิจัยของบริษัท Tractica กล่าวว่า
"เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งภายในอาคารลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบนำทางของหุ่นยนต์ประเภทนี้จะใช้ sensor หลายตัว เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความปลอดภัยในการใช้งาน"
5. Sanitation and Disinfection Robots
เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรคในโรงพยาบาล เนื่องจากเชื้อโรคในปัจจุบัน สามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ และยังเป็นอันตรายถึงตายได้ เช่น ไวรัส Ebola เป็นต้น
Manoj Sahi นักวิจัยของบริษัท Tractica กล่าวว่า "ในปัจจุบัน วิธีการกำจัดเชื้อโรคที่นิยมใช้กันคือ การใช้แสง UV และ ไอของ Hydrogen peroxide ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้สามารถกำจัดเชื้อโรคในห้องได้ ภายในเวลาไม่กี่นาที"
6. Robotic Prescription Dispensing Systems
เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในทางเภสัชกรรม เนื่องจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีทั้งความเร็วและความถูกต้อง จึงสามารถจัดยาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
Manoj Sahi นักวิจัยของบริษัท Tractica กล่าวว่า "หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถหยิบจับได้ทั้งผง, ของเหลว, และวัสดุที่มีความหนืดมากๆ จึงสามารถจัดยาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่ารุ่นที่ผ่านๆมา"
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา