Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ความรู้รอบยา
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2019 เวลา 01:56 • สุขภาพ
## ยาหมดอายุ ##
ดูเหมือนจะไม่สำคัญ แต่จริงๆแล้วเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะยาที่หมดอายุแล้ว จะมีประสิทธิภาพลดลงไปจากเดิม และในยาบางตัวเช่น tetracycline เมื่อเสื่อมสภาพจะกลายเป็นสารที่มีพิษต่อไตด้วย(1)
เราจึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตวันหมดอายุที่ฉลากยา หรือกล่องยา ทุกครั้งก่อนทานยา โดยอาจระบุตรงๆ ว่าวันหมดอายุ / ยาสิ้นอายุ หรือใส่เป็นตัวย่อว่า Exp. date / B.B. / E.
ตัวอย่างการระบุวันหมดอายุบนกล่องยา
หรือในกรณีที่รับยาที่โรงพยาบาลจ่ายให้ ให้ประมาณวันหมดอายุตามนี้
- ยาเม็ดและยาทาผิวหนังมีอายุประมาณ 1 ปี หลังจากวันที่รับยา
- ยาน้ำที่ต้องผสมน้ำก่อนรับประทาน หลังผสมน้ำแล้วมีอายุ 7 - 14 วัน แล้วแต่ชนิดยา
- ยาหยอดตา ยาป้ายตา มีอายุประมาณ 1 เดือนหลังเปิดใช้ ยกเว้นยาหยอดตาชนิดที่ไม่ใส่สารกันเสีย ให้ใช้แล้วทิ้งเลยหรือเก็บไว้ไม่เกิน 1 วัน
- ยาน้ำทั่วไปมีอายุประมาณ 6 เดือนหลังเปิดใช้
และนอกจากนั้น เราต้องสังเกตลักษณะของยา ว่าผิดปกติไปจากเดิม เช่น มีสีจางลง สีเปลี่ยน เม็ดยาร้าว เกิดตะกอนขุ่น เม็ดยาชื้น หรือไม่ (วันหมดอายุ ที่บริษัทยาระบุไว้ เป็นการคะเนจาก การเก็บในสภาวะที่เหมาะสม มีอุณหภูมิ ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งในไทย ถ้าไม่เก็บไว้ในห้องแอร์ คงไม่ได้อุณหภูมินี้)
เมื่อพบว่ายามีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป แนะนำให้ทิ้งยานั้นไปเลย
นอกจากนี้ยาฆ่าเชื้อที่เหลืออยู่ แนะนำให้ทิ้งไปจะดีกว่า เพราะยาที่เหลืออยู่อาจจะไม่เพียงพอกับกินให้ครบคอร์ส จะทำให้เกิดการดื้อยาได้ และอาจเกิดการเลือกใช้ยาผิดจากการวินิจฉัยด้วยตัวเอง
ส่วนยารักษาโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ถ้ากินเรียงตามลำดับที่ได้มาจากโรงพยาบาล ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องยาหมดอายุ และควรเอายาติดตัวไปทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ด้วย
ยานั้นมีทั้งประโยชน์และก็โทษ การมีความรู้รอบยาจะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและเกิดโทษน้อยลงครับ
อ้างอิง
1.
https://www.nytimes.com/2014/02/11/science/do-some-drugs-become-dangerous-after-expiration.html
2.
https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/11092015-2303-th
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย