20 ต.ค. 2019 เวลา 10:00 • การศึกษา
ถ้าเราขุดหลุมทะลุไปอีกฝั่งของโลก จะเจอกับอะไรบ้าง?
1
โลกมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 12,750 กิโลเมตร
หรือคิดเป็นระยะทางไปถึงแกนกลางราว 6,360 กิโลเมตร
รู้หรือไม่ว่า ในอดีตเมื่อปี 1970 เคยมีโครงการขุดเจาะทางวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียต ชื่อว่า Kola Superdeep Borehole ทดลองว่า เราจะเจาะพื้นดินลงไปได้ลึกสักเท่าไหร่
ปรากฏว่า พวกเขาใช้เวลา 19 ปี ขุดไปได้ไกล 12.3 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นหลุมฝีมือมนุษย์ที่ลึกที่สุด
ณ จุดนี้ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ถูกความร้อนกว่า 300 องศาเซลเซียส หลอมแทบจะละลาย จนทำงานต่อไปไม่ได้แล้ว
แต่ถ้าสมมติว่า เราสามารถขุดหลุมเจาะลึกลงไปได้เรื่อยๆ จนทะลุอีกด้าน
มันจะมีเหตุการณ์อะไรรอเราอยู่บ้าง?
แล้วเราจะไปโผล่อยู่ตรงไหนของโลก?
1) โครงสร้างภายในของโลก แบ่งออกเป็น 3 ชั้นหลักๆ
กิโลเมตรที่ 0-35 คือ เปลือกโลก
กิโลเมตรที่ 35-2,890 คือ เนื้อโลก
กิโลเมตรที่ 2,890-6,360 คือ แกนโลก
Cr. Trueplookpanya
ก่อนอื่น เราคงต้องหาทางผลิตเครื่องขุดเจาะที่แข็งแกร่ง และคงทนต่อสภาพความร้อนหลายพันองศาได้ ไม่ให้พังเหมือนโครงการของโซเวียต
3
รวมถึงหาชุดเกราะกันความร้อนสำหรับตัวเองด้วย
เพราะทุกๆ 1 กิโลเมตร ที่เจาะลงไปจากเปลือกโลก อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 25 องศาเซลเซียส
เและแค่กิโลเมตรแรก มนุษย์ก็คงเจออาการ Hyperthermia หรือภาวะตัวร้อนเกิน จนระบบประสาทในร่างกายผิดปกติ
2) แต่สมมติว่าเรามีทุกอย่างพร้อม ต่อจากเปลือกโลก เราจะเดินทางมาถึงเนื้อโลก
Cr. Christian Science Monitor
ที่ตรงนี้ เราอาจจะเริ่มขุดเจาะได้ลำบาก เพราะว่ามันมีมวลหนาแน่นถึง 80% ของโลก
โดยพื้นที่จะเต็มไปด้วยหินหนืดแมกมา ที่มีส่วนผสมทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 800-4,300 องศาเซลเซียส
และถ้าไม่ระวังให้ดี เราอาจเป็นคนที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัว และเกิดแผ่นดินไหวได้
1
3) เมื่อผ่านมาได้ เราก็จะมาถึงแกนโลก
Cr. Science
ที่แกนโลกชั้นนอก 80% จะเต็มไปด้วยเหล็กและนิกเกิลในสภาพหลอมละลาย ที่อุณหภูมิสูงถึง 4,300-6,200 องศาเซลเซียส
ด้วยเหตุนี้ แกนโลกจึงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งช่วยปกป้องโลกจากรังสีและคลื่นต่างๆที่แพร่กระจายมาจากดวงอาทิตย์ ถ้าไม่ระวังให้ดี เราอาจสร้างหายนะให้กับมนุษยชาติได้
และถ้าเราเจาะเข้ามาถึงแกนโลกชั้นใน
ส่วนประกอบต่างๆในนี้ จะเหมือนกับที่ชั้นนอก
แต่เหล็กจะมีสภาพเป็นของแข็ง เนื่องจากมีความดันและอุณหภูมิที่สูงถึง 6,200–6,400 องศาเซลเซียส
ซึ่งตอนนี้ มวลอันหนาแน่นจากด้านบน จะทำปฏิกิริยาต้านกับแรงโน้มถ่วง ทำให้เรามีสภาพเสมือนกับไร้น้ำหนัก และคงไม่สามารถทำการขุดเจาะอะไรได้ง่ายๆ
4) แต่ถ้าสมมติว่า เรามีพลังวิเศษ จนเจาะทะลุผ่านแกนโลกชั้นในไปได้ เท่ากับว่าเราผ่านมาแล้วครึ่งทาง
แต่ทว่าหนทางต่อไปข้างหน้า กลับยิ่งหนักหนาสาหัสกว่าที่เราทำมาถึงสองเท่า
เนื่องจาก สถานการณ์จะกลายเป็นว่า เรากำลังขุดหลุมขึ้นไปข้างบนแทน และแรงดึงดูดด้านล่าง จะทำให้ทุกอย่างหนักขึ้นกว่าเดิมมาก
แต่ในเมื่อเราเป็นยอดมนุษย์ คงจะสามารถขุดอุโมงค์ไปยังอีกด้านได้สำเร็จในที่สุด
อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่มีเวลาดีใจ เพราะเมื่อทะลุพื้นดินขึ้นไปได้ เราจะร่วงกลับไปอีกด้านทันที
ซึ่งการเดินทางเที่ยวหนึ่ง จะใช้เวลาในการร่วงประมาณ 45 นาที และมันจะวนลูปไม่มีวันจบ
ดังนั้น เราควรรีบหาอะไรยึดร่างกายไว้ให้เร็วที่สุด..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
สำหรับคนที่อยากลองขุดหลุมจากกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ไปยังอีกฝั่งของโลก
ถ้าทำสำเร็จ สุดท้ายคุณจะไปโผล่อยู่ที่
เมืองคายาโอ ประเทศเปรู
Callao, Peru - Cr. Flickr
อ่านบทความเหตุการณ์สมมติต่างๆได้ที่เพจ What If
โฆษณา