19 ต.ค. 2019 เวลา 11:48 • ธุรกิจ
นานาสาระกับหมูน้อย ตอนที่ 1 สงครามการค้าและกับดักของทิวสิดิดิส
ช่วงเวลา 1 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนอยู่ทุกวัน ตั้งแต่เช้าจรดค่ำ จนกลายเป็นเรื่องราวประจำวันในชีวิตของเราตั้งแต่เมื่อไหร่กันหนอ
วันนี้ผมขอแชร์แนวคิดที่น่าสนใจที่ "อาจจะ" เป็นที่มาของสงครามการค้า
ให้ทุกท่านได้อ่านกันครับ
กับดักแห่งทิวสิดิดิส (Thucydides's Trap)
ที่มาของชื่อนี้มาจาก ทิวสิดิดิส(Thucydides) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชาวเอเธนส์ ผู้แต่งหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์แห่งสงครามเพโลพอนเนเชียน "The History of the Peloponnesian War"
http://www.greatthoughtstreasury.com/author/thucydides?page=5
โดยทิวสิดิดิสได้ทำการศึกษาเรื่อง ทำไมนครรัฐสปาร์ตาต้องทำสงครามเพื่อทำลายล้างนครรัฐเอเธนส์
ในช่วงของยุคกรีกโรมัน 146 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในดินแดนแห่งกรีก นครมากมายรวมตัวกันอย่างหลวมๆ
ได้มีสองนครรัฐซึ่งมีความโดดเด่นเหนือผู้ใดก้าวขึ้นมาสู่เวทีแห่งมหาอำนาจ
หนึ่งคือ นครรัฐสปาร์ตาร์(Spartar) นครอันแสนยิ่งใหญ่ซึ่งถูกปกครองด้วยแนวคิดเผด็จการทางทหารครอบครองกองทัพบกที่มีแสนยานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางผืนดินยากที่จะหาผู้ใดมาทัดเทียมได้
หนึ่งคือ นครรัฐเอเธนส์(Athens) ปกครองด้วยแนวคิดประชาธิปไตย ผู้ครอบครองกองทัพเรืออันเกรียงไกร ครองความเป็นใหญ่ทางผืนน้ำ
เรื่องมันเริ่มตรงที่ พระเจ้าเซอร์เซส เจ้านครเปอร์เซีย ยกทัพมารุนรานดินแดนกรีซหมายจะตีให้แตกพ่าย
ในขณะนั้นเองเหล่านครดินแดนกรีซไม่สามารถรบกับเปอร์เซียแบบตัวต่อตัวได้ จึงต้องรวมกลุ่มกันเพื่อต้านภัยจากเปร์เซีย (ท่านนึกถึงภาพหนังเรื่อง ขุนศึก 300 )
ดังนั้นชาวกรีซจึงรวมกลุ่มกันกลายเป็นกองทัพขนาดใหญ่โดยมีทัพของ
สปาร์ตาและทัพของเอเธนส์เป็นผู้นำในการรบ
ชัยชนะตกเป็นของดินแดนกรีซที่ขับไล่ชาวเปอร์เซียให้พ้นไปจากดินแดนของตนได้
การรวมกลุ่มหรือที่เรียกว่าสันนิบาตดังกล่าวก็ยังคงอยู่ โดยสมาชิกจะต้องส่งเงินบำรุงสันนิบาตไปยังเอเธนส์ซึ่งมีอำนาจการบริหารเงินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและได้ตั้งชื่อว่า สันนิบาทเดเลียน (Delian League)
ซึ่งภายหลังจากนั้นการค้าขายทางทะเลของเอเธนส์ได้เติบโตเป็นอย่างมาก เมื่อเอเธนส์กุมอำนาจทางการค้าได้แล้วจึงเริ่มเผยแพร่แนวคิดเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้กับเหล่าสมาชิกในสันนิบาตเดเลี่ยน
แน่นอนว่าเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความหวาดระแวงให้กับนครสปาร์ตาและเหล่านครน้อยใหญ่ที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารเป็นอย่างมาก
สปาร์ตาจึงได้ก่อตั้งสันนิบาตเพโลพอนเนเชี่ยน(Peloponnesian League) ขึ้นมาเพื่อคานอำนาจกับสันนิบาตเดลอส
ชนวนสงครามเริ่มตรงที่
นครคอรินธ์(Corinth) หนึ่งในสมาชิกของสันนิบาตเพโลพอนเนเชี่ยนซึ่งนำโดยนครสปาร์ตา ได้เริ่มสร้างฐานอำนาจการค้าทางทะเลเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์มาจากนครเอเธนส์ จนไปกระทบกระทั่งกับนครคอร์ซิลา(Corcyra) หนึ่งในสมาชิกของสันนิบาตเดเลี่ยน
เหล่าผู้ใต้อาณัติรบกันสุดท้ายก็ต้องไปถึงเหล่าลูกพี่จนได้(ตรงนี้มีความน่าสนใจครับ เพราะทิวสิดิดิสได้ให้ความเห็นว่าก่อนที่จะเริ่มสงครามชาวสปาร์ตาได้ให้สภาลงมติเพื่อที่จะทำสงครามกับเอเธนส์ดีหรือไม่. สุดท้ายข้อสรุปคือ สปาร์ตาจะต้องทำสงครามกับเอเธนส์ เพราะ เอเธนส์อยู่ในสถานะที่เป็นภัยคุกคามทั้งทางทหารและทาการค้ากับทางสปาร์ตาซึ่งเป็นมหาอำนาจมาก่อน)
จากนั้นก็เริ่มรบกันยาวครับ
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/peloponnesian-war/
หลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์แทรกซ้อนทั้งโรคระบาดในเอเธนส์ ท้ายที่สุด นครสปาร์ตาก็ได้รับชัยชนะเหนือเอเธนส์อย่างสิ้นเชิง ทำลายกองทัพของเอเธนส์จนสิ้นซาก
รบแพ้ก็มีราคาที่ต้องจ่าย
นครเอเธนส์ถูกลดอำนาจลงกลายเป็นนครชั้นรอง จำกัดให้กำลังรบและต้างยอมให้สปาร์ตามาสร้างฐานทัพในเอเธนส์ได้
สปาร์ตาก็กลายเป็นผู้นำแห่งชาวกรีซทั้งปวง
นี่คือการเปลี่ยนผ่านอำนาจ จากมหาอำนาจเก่าสู่มหาอำนาจใหม่ ซึ่งน้อยครั้งที่จะจบลงอย่างสันติ
พอจะเริ่มคุ้นๆบ้างหรือยังครับ
ท้ายที่สุดวงล้อแห่งประวัติศาสตร์ก็เริ่มหมุนมาสู่ยุคปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ อเมริกาเป็นมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของโลก จนกระทั่งจีนได้เปลี่ยนนโยบายทางการค้าให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศได้(ยุคที่เรียกว่าเปิดประเทศของจีนนั่นล่ะครับ) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาความเข้มแข็งของจีนเป็นสิ่งที่ทำให้อเมริกากังวลใจมาตลอดจนมาถึง ณ ปัจจุบัน
เมื่อแสนยานุภาพทางการทหารมีความใกล้เคียงกัน ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มรู้สึกถึงอันตรายจากจีนแล้ว
อเมริกาจึง ''จำเป็น" ที่จะต้องลดศักยภาพของจีน ไม่ให้จีนเติบโตไปได้มากไปกกว่าที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ผ่านช่องทางที่เรียกว่า ''สงครามการค้า" ครับ
https://www.express.co.uk/news/world/900105/donald-trump-us-china-xi-jinping-2018-north-korea-trade-ego
หากท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติมหมูน้อยขอฝาก keywords ไว้ให้ทางด้านล่างครับ
keywords : Thucydides Trap, Peloponnesian War,Trade war
reference :
ติดตามบทความต่อไปใน
นานาสาระกับหมูน้อย ตอนที่ 2 ทฤษฏีเกม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา