Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่อยเปื่อย
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2019 เวลา 05:27 • ประวัติศาสตร์
ตลาดสนามหลวงเมื่อวันวาน😎
ช่วงนี้ไปสนามหลวงบ่อย ประกอบกับเช้านี้ เห็นภาพสนามหลวงเมื่อวันวาน เลยได้รู้ว่าก่อนจะมาเป็นเช่นนี้ สนามหลวงมีประวัติน่าสนใจ ให้มาเล่ากันไว้ เผื่อความหลังที่ยังมีคนทันได้เห็น ได้เดินเที่ยว
1
ประวัติความเป็นมา สนามหลวงที่มีความหลัง เคยเป็นศูนย์รวมสินค้าตลาดนัดเหมือนตลาดจตุจักร
สนามหลวง เดิมเรียกว่า "ทุ่งพระเมรุ"เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า "ท้องสนามหลวง" ตั้งแต่นั้น ท้องสนามหลวง ได้ใช้เป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ และจัดงานเฉลิมฉลองต่างๆ เช่น การฉลอง พระนคร ครบ 100 ปี รวมถึงเคยใช้เป็น สนามแข่งม้า และเป็นสนามกอล์ฟ ด้วย
จนถึงปี พ.ศ. 2491 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพฯ นั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่ จัดตลาดนัด
1
หลังจากนั้น 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2492 ทางราชการมีความจำเป็นจะต้องใช้สนามหลวง จึงได้ให้ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์จนถึง พ.ศ. 2500 รวมได้ 8 ปี
เนื่องจากสนามชัยคับแคบไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2501 ตลาดนัดสนามหลวงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากพ่อค้า แม่ค้า และประชาชนไม่ว่าจะ เป็นคนไทยในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด รวมทั้ง นักท่องเที่ยงต่างชาติด้วยเพราะว่าสนามหลวงมี พื้นที่กว้างใหญ่ มีสถานศึกษา และสถานที่สำคัญ ๆ ล้อมรอบ และมีรถประจำทางหลายสายวิ่งผ่าน ตลาดนัดสนามหลวงเติบโตอย่าง รวดเร็วและเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี มีสินค้านานาชนิดให้เลือกซื้อ ต่อรองราคากัน ตามแต่รสนิยม ของผู้ที่ไปเดินจับจ่าย ภายใต้เต้นท์ผ้าใบจำนวนนับพัน ๆ ผืน
ข้อเสีย ของตลาดสนามหลวง คือ บรรยากาศที่ค่อนข้างร้อนระอุ เพราะแผงสินค้าเป็นแผงสินค้าชั่วคราวแน่น ห้องน้ำก็มักจะหายาก จะ ต้องข้ามถนนมาฝั่งกระทรวงยุติธรรมใกล้ ๆรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งบริเวณนั้นจะมีห้อง น้ำสาธารณะไว้ให้บริการ และบริเวณนี้ก็มี แผงหนังสือ ที่ขายหนังสือทั้งไทย และเทศ เก่าและใหม่ ตำราเรียนทั้งในและนอกเวลาให้เลือกหากันตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงอุดมศึกษา รวมถึงหนังสือนานาสาระทุกประเภท
จนในปี พ.ศ. 2521 สมัย พลเอก เกรียงศักด์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่จะใช้สนาม หลวงเป็นสถานที่พักผ่อน หย่อนใจ ของชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวมถึงจะใช้สนามหลวงเป็น สถานที่จัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และงานรัฐพิธีต่าง ๆ ซึ่งขณะนั้นการรถไฟแห่ง ประเทศไทย ได้มอบที่ดิน ย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพฯ เพื่อใช้ ในกิจการสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวน 74.57 ไร่ นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 42 ล้านบาทเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ให้กรุงเทพมหานคร ทำการปรับพื้นที่ สร้าง ถนน และก่อสร้างอาคารชั่วคราว
ในช่วงแรก ได้ให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและได้พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาแต่ได้รับการคัดค้านจากผู้ค้าตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 2 มกราคม2525 จึงสามารถทำได้สำเร็จ จนปิดตำนานตลาดนัดสนามหลวง 😎
ในโอกาสครบรอบเดือนตุลา สนามหลวง มีหลายบทบาท หลายเหตุการณ์ เป็นตำนาน ของที่นี่ เป็นที่จารึกนึกถึง ความรัก ความเข้มแข็ง แรงใจ ที่คนไทยได้รักสามัคคีกันในการร่วมกันส่งเสด็จ "พ่อหลวง" 24 ตุลาคม
อ้างอิง : 1.ท้องสนามหลวง-วิกิพีเดีย
2.
https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/sociology/10000-3042.html
ขอบคุณ ผู้อ่าน ตลาดสนามหลวงเมื่อวันวาน ทุกท่านครับ เผื่อย้อนวันหวาน พ่อเฒ่า แม่ยาย ผม ให้รำลึกวันวานในวันหยุดนี้ ขอบคุณภาพที่ส่งจากไลน์ และบทความที่อ้างอิง
จบแล้วครับ สวัสดีวันอาทิตย์ 21 ตุลาคม 2562
2 บันทึก
61
26
8
2
61
26
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย