21 ต.ค. 2019 เวลา 12:29 • ธุรกิจ
วันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมารายงานจาก Bloomberg ในหัวข้อข่าวว่า
⭕ Just 500 People Own 36% of All the Equity in Thailand’s Firms ⭕
⭕ คนเพียง 500 คนถือหุ้นถึง 36% ของธุรกิจประเทศ ⭕
เป็นการอ้างอิงงานวิจัยของ ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดวันที่ 15 ต.ค. บ่งชี้ว่า ร้อยละ 36 ของผลกำไรรวมจากภาคเอกชนทั้งหมด อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นเพียง 500 คนเท่านั้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,100 ล้านบาท ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของประชาชนไทยทั่วไป จะอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาทต่อปีเท่านั้น
ส่วนปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ คือ การกระจุกตัวทางเศรษฐกิจและการผูกขาดธุรกิจบางด้านในมือกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม
โดยเฉพาะ กลุ่มทุนดั้งเดิมที่สืบทอดความร่ำรวยจากบรรพบุรุษ หรือ กิจการของตระกูลใหญ่เพียงไม่กี่ตระกูล เมื่อผนวกกฎเกณ์บางประการที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลสำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจนขึ้น
1
งานวิจัยดังกล่าวเตือนว่า ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และลดผลประโยชน์หรือผลกำไรที่เกิดจากการผูกขาด รวมถึงต้องส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดอื่นๆ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
1
บลูมเบิร์ก ระบุด้วยว่า นายกฤษฎ์เลิศได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก หรือ UCSD ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ที่ School of Global Policy & Strategy
ทั้งนี้ งานวิจัยของ ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ ร่วมกับ ดร.ชานนทร์ บรรเทิงหรรษา
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถือหุ้นของบริษัทในประเทศไทยกว่า 3.3 ล้านรายการ ครอบคลุมธุรกิจที่จดทะเบียนกว่า 8.8 แสนราย และผู้ถือหุ้นกว่า 2.1 ล้านราย ได้ฉายภาพโครงสร้างความเป็นเจ้าของของภาคธุรกิจไทยหลายประการ
ผู้วิจัยพบว่า รายการการถือครองหุ้นโดยตรงในสัดส่วนที่น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนหุ้นในแต่ละบริษัทมีจำนวนมากที่สุด
รองลงมาเป็นการถือหุ้นระหว่าง 49-50 เปอร์เซ็นต์ และการถือหุ้นมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
ซึ่งรายการการถือหุ้นต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ หรือสูงกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ที่มีจำนวนมากนั้นเป็นการสะท้อนถึงข้อบังคับของการกำหนดจำนวนผู้ถือหุ้นขั้นต่ำของบริษัทจดทะเบียนที่ยังมีผลบังคับใช้ในปี 2560 ส่วนรายการการถือหุ้นในสัดส่วน 49-50 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนค่อนข้างสูงสะท้อนถึงข้อจำกัดทางกฎหมายของการถือครองหุ้นในบางธุรกิจ หรือการประกอบการธุรกิจร่วมทุนที่ฝ่ายหนึ่งต้องการถือหุ้นเกินกึ่งหนึ่งเพื่อควบคุมการดำเนินกิจการของบริษัท
เมื่อนักวิจัยได้วิเคราะห์เครือข่ายการถือหุ้นระหว่างบริษัท ในภาคธุรกิจไทยโดยนิยามว่าบริษัทสองแห่ง มีความสัมพันธ์ผ่านการถือหุ้นเมื่อบริษัทหนึ่งถือหุ้นโดยตรงในอีกบริษัทหนึ่งอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์
ผลการวิเคราะห์พบว่าภาคธุรกิจไทยมีกลุ่มทุนจำนวน 9,068 กลุ่ม โดยกลุ่มทุนมีความหลากหลายทั้งในมิติของจำนวนบริษัทในกลุ่ม มูลค่าสินทรัพย์ และประเภทของอุตสาหกรรม โดยกลุ่มทุนส่วนมากประกอบด้วยบริษัทเพียง 2-3 บริษัท มีเพียง 13 กลุ่มทุนเท่านั้นที่มีบริษัทในกลุ่มมากกว่า 100 บริษัท
ในทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้น นายกฤษฎ์เลิศ ระบุว่า การที่บริษัทแต่ละบริษัทในกลุ่มทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยตัวเองแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทใหญ่บริษัทเดียวมีข้อดีหลายประการต่อการทำธุรกิจ คือ
1> การจดทะเบียนธุรกิจแยกเป็นหลายบริษัททำให้โครงสร้างการถือหุ้นของแต่ละบริษัทมีความยืดหยุ่น ทำให้กลุ่มธุรกิจสามารถระดมทุนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่น ๆ ที่มีความสนใจและมีความต้องการที่หลากหลายให้เข้ามาร่วมทุนในแต่ละบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ กันได้ ตามความต้องการของผู้เข้ามาร่วมลงทุน ในขณะเดียวกันกลุ่มทุนก็ยังสามารถควบคุมการบริหารงานของธุรกิจได้อยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่
2> การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นภายนอกกลุ่มยังรวมถึงการทำธุรกิจร่วมทุน (joint venture) กับพันธมิตรจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตและขยายตลาดสินค้าใหม่ๆ ที่ตนยังไม่มีความชำนาญได้มากขึ้น
3> การแบ่งธุรกิจออกเป็นบริษัทย่อยยังอาจช่วยเพิ่มกำไรให้กลุ่มธุรกิจโดยรวมในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดเล็ก เช่น การเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าบริษัทขนาดใหญ่
4> บริษัทแต่ละบริษัทเป็นนิติบุคคลที่มีขอบเขตความรับผิดชอบต่อหนี้สินที่จำกัด (limited liability) ในกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งประสบปัญหาทางการเงินและล้มละลาย พันธะผูกพันต่อหนี้สินจึงไม่ส่งต่อไปยังผู้ถือหุ้นและบริษัทอื่น ๆ ในกลุ่ม
สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมที่กลุ่มทุนมีผลต่อการกระจุกตัวสูงสุด ได้แก่
การผลิตสุรา เบียร์ ขายส่งเครื่องดื่มและยาสูบ ผลิตพลาสติก กล่องกระดาษ ก๊าซ ปูนซีเมนต์ อิฐ และ น้ำบาดาล
กราฟิกจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
รายงานดังกล่าวยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในประเทศไทย ธนาคารโลก(World Bank) เคยระบุว่า
⛔ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเกิดจากการผูกขาดธุรกิจโดยนายทุนเพียงไม่กี่เจ้า (ตระกูล)⛔
1
โดยเฉพาะกลุ่มทุนดั้งเดิมที่สืบทอดความร่ำรวยจากบรรพบุรุษหรือกิจการของตระกูล และตัวบทกฎหมายไทยเองมีส่วนที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลสำคัญทางเศรษฐกิจ ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำได้อย่างชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม
❎ ธุรกิจน้ำมัน-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปูนซีเมนต์ เครื่องดื่ม ยาสูบ ❎
➖ แนวทางแก้ไขความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ➖
งานวิจัยชิ้นนี้รายงานว่าไทยจะต้องส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันทางธุรกิจ และลดผลประโยชน์หรือผลกำไรที่เกิดจากการผูกขาด
รวมถึงต้องส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดอื่นๆ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม โดยต้องไปแก้ปัญหาความเหลื่อมล่ำจากภาคธุรกิจ ซึ่งนโยบายแจกเงินนั้นไม่ใช่ทางออกของประเทศไทย และการเสริมสร้างศักยภาพให้ ธุรกิจ SME มีศักยภาพที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้นโดยมีนโยบายจากภาครัฐที่ส่งเสริมรายใหม่ๆให้เกิดการลงทุนเพื่อลดการผูกขาด
◾◾ Referance ◾◾
🔻ฝากกดไลค์และติดตามเพจด้วยครับ🔻
👤 A MAN ...... BY_ สมถุย
โฆษณา