21 ต.ค. 2019 เวลา 14:34 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แผ่นดินไหว 4.1 ริกเตอร์แรงแค่ไหน
สามารถรู้สึกได้ เหมือนบ้านโดนเขย่า
วันที่ 18 ตุลาคม 2562 เวลา21.46น. เกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงระดับ 4.1ริกเตอร์ ที่จ.เชียงใหม่
มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไป 6 กม.ซึ่งถือว่าตื้น จุดศูนย์กลาง ของแผ่นดินไหวอยู่
ที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ประชาชนอาศัยอยู่ 6 อำเภอของเชียงใหม่ คืออ.เมือง อ.พร้าว อ.สันทราย อ.แม่ทา อ.สารภี และอ.หางดง และ 1อำเภอของจ.เชียงรายคืออำเภอเวียงป่าเป้า รู้สึกถึงการสั่นสะเทือนนี้ คาดว่ามีการสั่นสะเทือนตาม แนวเลื่อนแม่ทา ที่มีความยาว 61 กิโลเมตรพาดผ่านจากอ.แม่ทา และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ขึ้นไปทางเหนือของอ.ดอยสะเก็ด แต่ไม่มีผลกระทบรุนแรง
จากสถิติเคยเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าครั้งนี้เมื่อปี 2549 คือมีความรุนแรง 5.1 ริกเตอร์ มีจุดศูนย์กลางอยู่ อ.แม่ริม มีการรับรู้ถึงความรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง
แผ่นดินไหวเกิดจากอะไร
ตามทฤษฏีแผ่นทวีปบนโลก จะมีการเคลื่อนไหว และมีผลกระทบกับแผ่นดินที่มีรอยแตกเดิมก็จะเกิดการเคลื่อนไหว เพื่อปรับความสมดุลของเปลือกโลก ประเทศไทย ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณขอบเปลือกโลก ที่มีการเคลือนไหว
แผ่นทวีปฝั่งมหาสมุทรอินเดียมุดใต้ด้านตะวันตกของไทย
เช่นด้านตะวันตกตามแนวพม่า แต่ก็มีแผ่นดินไหวบ้างในระดับเบา
แสดงบริเวณที่มความเสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว
มาตราริกเตอร์
หน่วยวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวคือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหวแต่ละครัง เรียกว่า "ริกเตอร์"
ภาพ:วิกิพีเดีย
แสดงขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว
ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว นอกจากความรุนแรงที่เกิดแต่ละครั้ง ยังต้องคำนึงถึงจำนวนครั้งที่เกิดต่อเนื่องและอาฟเตอร์ช็อคที่จะเกิดตามมา เพราะถ้ามีการสั่นไหวหลายๆครั้งก็อาจเกิดความเสียหายกับตึกสูงหรือเขื่อนขึ้นได้หรือมีคลื่นน้ำสึนามิตามมาได้
บางครั้งจุดศูนย์กลางอาจเกิดห่างไกลหลายร้อยกิโลเมตรในทะเลแต่อาจเกิดคลื่นสึนามิเช่นที่เคยเกิดที่ภาคใต้ของไทยในปี 2547 ที่มีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึงเกาะสุมาตราแต่เกิดคลื่นสึนามิเข้ามาถึงฝั่งอันดามันของไทยได้
อ้างอิง
โฆษณา