22 ต.ค. 2019 เวลา 06:58 • ประวัติศาสตร์
ศาสนา คือ อะไร / อะไร คือ ศาสนา
2 ประโยคข้างต้น มีความต่างกันเพียงสลับตำแหน่งคำนามของประธาน และกรรม เมื่อมองผ่านๆ เหมือนจะไม่มีอะไรต่างกัน หากเราลองอ่านเปล่งเสียงตามประโยคทั้งสอง เชื่อเหลือเกินว่าร้อยละ 80 ของบุคคลที่อ่าน จักสะดุดในใจเล็กๆว่า "เออ แล้วมันความหมายเดียวกันมั้ย" บทความนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อเปิดสาระความรู้ ความคิดเห็นใหม่ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความเหมือนหรือแตกต่างในประโยคทั้งสอง ตัวผู้อ่านเองจักเป็นผู้พิจารณา โปรดใช้วิจารญาณส่วนตัวประกอบการรับชมบทความจ่ะ
ขอเปิดด้วยสาระก่อนนะ
"ศาสนา" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สาสนํ"
ถ้าเป็นภาษาบาลีว่า "สาสนํ" มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "คำสั่งสอน" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Religion" ซึ่งมีศัพท์เดิมมาจากภาษาละตินว่า Religis คำนี้นักปราชญ์ทางภาษาศาสตร์ได้สันนิษฐานว่ามาจากคำ ๒ คำ คือ Relegere ซึ่งแปลว่า #การปฏิบัติต่อ หรือ #การเกี่ยวข้องด้วยความระมัดระวัง และ Religare ซึ่งแปลว่า #ผูกพัน เพราะฉะนั้นคำว่า Religion จึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า #การปฏิบัติต่อ #การเกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตาม การจะพิจารณาความหมายตามรูปศัพท์เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถครอบคลุมสารัตถะที่แท้จริงของศาสนาได้ จึงควรจะได้ศึกษาพิจารณาความหมายหรือคำจำกัดความตามเนื้อหาที่นักปราชญทางศาสนาได้ให้ไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้แล้วแต่ประเด็นที่ต้องการเน้นและสภาพแวดล้อม
กล่าวอีกนัย ศาสนา หมายถึง ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักอภิปรัชญาว่าทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาดำรงอยู่และจะเป็นเช่นไรต่อไป มีหลักการ สถาบัน หรือประเพณี ที่เป็นที่เคารพโดยทั่วไป
อาจกล่าวได้ว่า ศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุม และประสานความสัมพันธ์ของมนุษย์ ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข คือ #ให้มีหลักการ #ค่านิยม #วัฒนธรรมร่วมกันและวิถีทางที่มนุษย์เลือกใช้ในการดำรงชีวิต ให้สังคมเป็นหนึ่งเดียวกัน มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักจริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรมที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
Immanuel Kant เน้นศีลธรรม (Moral) กล่าวว่า ศาสนา คือ การยอมรับรู้ถึงหน้าที่ทั้งปวงตามเทวโองการ
Max Miller เน้นพุทธิปัญญา (Intellect) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความสามารถหรืออตาจทางจิตซึ่งไม่ขึ้นแก่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสหรือเหตุผล สามารถนำบุคคลให้เข้าถึงพระเจ้าภายใต้พระนามต่างๆ
Allen Menses เน้นการบูชา (Worship) กล่าวว่า ศาสนา คือ การบูชาพลังที่สูงกว่า
Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด
Edward Scribner Ams เน้นสังคม (Society) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความรู้สึกถึงคุณค่าทางสังคมอันสูงสุด
G.W. Stratton เน้นอุดมคติอันสูงส่ง (Supreme Ideal) กล่าวว่า ศาสนา คือ ความนิยมชมชอบถึงโลกและกลุ่มชนที่มองไม่เห็น
Adams Brown เน้นชีวิต (Life) กล่าวว่า ศาสนา หมายถึงชีวิตของบุคคลในส่วนที่สัมพันธ์กับท่านผู้เหนือมนุษย์ธรรมดาของเขา
หลวงวิจิตรวาทการ เน้นองค์ประกอบของศาสนา กล่าวว่า คำสอนที่จัดเป็นศาสนานั้นต้องเป็นเรื่องที่ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางจรรยา มีศาสดา มีคณะบุคคลที่รักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนไว้ เช่น พระหรือนักบวช และมีการกวดขันเรื่องความจงรักภักดี
ศ. เสถียร พันธรังสี เน้นลักษณะของศาสนา กล่าวว่า ลักษณะที่เรียกว่าศาสนาได้ มีหลักดังนี้คือ ต้องเป็นเรื่องความเชื่อถือได้โดยมีความศักดิ์สิทธิ์ มีคำสอนทางธรรมจรรยา มีศาสดา และมีผู้สืบต่อคำสอนที่เรียกว่าพระหรือนักบวช
อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เน้นลักษณะคำสอน กล่าวว่า คำสอนที่นับว่าเป็นศาสนานั้นว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ คือ ความเชื่อในอำนาจที่มองเห็นไม่ได้ด้วยตาบางอย่าง เช่น อำนาจของธรรม หรือ อำนาจของพระเจ้า มีหลักศีลธรรม มีคำสอนว่าด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีพิธีกรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของศาสนาไว้ว่า ศาสนา คือ ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักแสดงกำเนิดและสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในง่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในง่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้นๆ
จากคำจำกัดความและทัศนะต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้น พอจะสรุปเป็นทัศนะอีกทัศนะหนึ่งได้ว่า
"ศาสนา" คือ คำสั่งสอนที่พระศาสดาได้ค้นพบ หรือได้จากเทวโองการซึ่งมีลักษณะศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งทางใจ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ให้มวลมนุษยชาติประพฤติปฏิบัติตาม และประกอบพิธีกรรม เพื่อประสบสันติสุขในระดับศีลธรรมจรรยา และสันติภาพอันนิรันดร อันเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต
นี่คือทัศนะของผู้รอบรู้ทั้งหลาย ซึ่งเราสามารถเข้าใจ คำว่า ศาสนา คือ อะไร ได้โดยง่าย
หากแต่เราอยากทราบทัศนะของ #ผู้รอบไม่รู้ ว่าแท้จริงแล้วท่าน #ผู้รอบไม่รู้ คิดว่า ศาสนา คือ อะไร
ได้ความเพิ่มเติม : ศาสนา นั้นคือความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเหนือธรรมชาติ ในหลักความจริงที่ว่าทุกสรรพสิ่ง #เกิดขึ้นมา #ดำรงอยู่ #เป็นไป และศาสนาเป็นสิ่งที่ควบคุมความจริงเหล่านั้น อีกทั้งยังประสานความสัมพันธ์ ให้บุคคลอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข มีแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยหลักเกณฑ์ หรือหลักปฏิบัติที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกันด้วย
เหมือนดั่งที่ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ในข้างต้น ว่าท้ายสุดแล้วอยู่ที่วิจารญาณ และความเชื่อส่วนบุคคล ว่าผู้อ่านจักให้ความหมายว่า ศาสนา คือ อะไร ด้วยตัวเอง
บทความหน้า เราจักมาให้สาระ ในประโยค "อะไร คือ ศาสนา" กันต่อ เรียกได้ว่าเป็นภาคต่อแต่ไม่เต็ม และ ก่อนจากกันไป ผู้เขียนขอฝากที่มาของข้อมูล ข้างล่างด้วยจ่ะ
พันวา(ฬ) : บุรุษเสือยิ้ม
โฆษณา