Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PT and Hydro
•
ติดตาม
9 เม.ย. 2021 เวลา 05:29 • สุขภาพ
ปวดข้อศอกด้านนอก...ทำไงดี
ภาวะปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกหรือด้านในเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราใช้งานข้อศอกหรือข้อมือซ้ำๆ
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงภาวะปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกให้แก่ทุกท่านได้รับทราบ เข้าใจและเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติป้องกันและรักษา เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
ภาวะปวดข้อศอกบริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอก หรือมีชื่อเรียกว่า lateral epicondylitis หรือ tennis elbow
เป็นภาวะที่เกิดการบาดเจ็บหรือมีการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่บริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก
ซึ่งกล้ามเนื้อกลุ่มดังกล่าว จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเหยียดข้อมือหรือเหยียดนิ้วมือเป็นหลัก
ที่มารูปภาพ : (1)
กิจกรรมใด...ที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะปวดข้อศอกด้านนอกบ้างนะ???
หลักๆ จะเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการกระดกข้อมือซ้ำๆ หรือเกร็งข้อมือในท่ากระดกขึ้นนานๆ เช่น
- การหิ้วของหนัก เช่น การถือถาดเสิร์ฟอาหารที่ค่อนข้างหนัก เป็นต้น
- การเขียนหนังสือเป็นระยะเวลานานๆ
- การเกร็งกระดกข้อมือพิมพ์งานติดต่อกันหลายชั่วโมง (อาจจะมีอาการปวดข้อมือตามมาได้ด้วย)
- กลุ่มอาชีพพวกช่างไม้ ช่างทาสี ช่างซ่อมรถยนต์ คนทำอาหาร หรือนักกีฬาเทนนิส เนื่องจากกลุ่มนี้มักจะมีการใช้งานข้อมือและศอกในท่าบิดหมุนหรือท่ากระดกข้อมือค่อนข้างมาก
1
ที่มารูปภาพ : (2) -(4)
สำหรับช่วงอายุที่มักพบการเกิดโรคดังกล่าวมักอยู่ในช่วง 30-50 ปี หรือบางแหล่งข้อมูลระบุว่าอยู่ในช่วง 35-55 ปี
อาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีภาวะนี้ ได้แก่
- รู้สึกมีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกทางด้านนอก
- บางรายอาจรู้สึกไม่ค่อยมีแรงในการกำมือ หรือไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องมีการกระดกข้อมือได้ เนื่องจากจะรู้สึกปวดบริเวณศอกเพิ่มมากขึ้น
- บางรายอาจมีอาการปวดตอนกลางคืน ทำให้รบกวนการนอนร่วมด้วย
การรักษา มีอะไรบ้างนะ
มีการรักษาหลายอย่าง ได้แก่ การรักษาด้วยยากลุ่ม NSAIDs การฝังเข็ม การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง รวมถึงการรักษาทางกายภาพบำบัด
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการรักษาทางกายภาพบำบัดเป็นหลัก
โดยการรักษามักจะประกอบด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องอุลตราซาวด์ เครื่องเลเซอร์ เครื่อง short wave เครื่อง shock wave หรือการใช้ไฟฟ้าบำบัด เป็นต้น
1
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดในการเลือกใช้และมักจะให้การรักษาด้วยการออกกำลังกายควบคู่กันไปตามอาการของผู้ป่วย
สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเมื่อรู้สึกเกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือรู้สึกระบมบริเวณข้อศอกควรพักการใช้งานและใช้การประคบเย็น (10-15 นาที ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง) เพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการบาดเจ็บ
แนะนำท่าออกกำลังกายพื้นฐานสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อศอกด้านนอก
เริ่มต้นกันด้วยการยืดและคลายกล้ามเนื้อ ดังนี้
เริ่มเข้าสู่ช่วงของการออกกำลังกาย เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยมีท่าดังต่อไปนี้
กรณีถ้ายังมีอาการปวดค่อนข้างมาก อาจเน้นรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดก่อน ยังไม่ต้องฝืนออกกำลังกาย เมื่ออาการปวดลดลงแล้วอาจค่อยๆ ขยับยืดเหยียด และเคลื่อนไหวเบาๆ แบบไม่มีแรงต้านมาก ตามท่าที่ 1-2 แล้วจึงเพิ่มความยากตามท่าที่ 3-6 เท่าที่เราสามารถทำได้
1
ท่าออกกำลังกายที่นำเสนอนี้เป็นเพียงท่าพื้นฐานเบื้องต้น อาการปวดที่เกิดขึ้นของแต่ละคน อาจมีปัจจัยมาจากส่วนของร่างกายอื่นที่ทำงานผิดปกติร่วมด้วย อาทิเช่น กล้ามเนื้อต้นแขน หัวไหล่ และสะบัก เป็นต้น
ดังนั้นหากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อความเหมาะสมในการออกแบบท่าออกกำลังกาย
ที่มารูปภาพ:
(1)
http://www.globalmedicalservices.org/PatientEducation/tabid/23173/ctl/View/mid/48914/Default?ContentPubID=133
(2)
https://www.perfect-tennis.com/best-one-handed-backhand-in-tennis/
(3)
http://nundskinshop.lnwshop.com/product/475/กลิ่นช่างไม้-carpenter-fo
(4)
https://computer.howstuffworks.com/keyboard.htm
อ้างอิงเนื้อหา:
กิ่งแก้ว ปาจรีย์, บรรณาธิการ. (2563). ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ การบำบัดรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 119-136.
Tyler
T.F.et
al. , Addition of isolated wrist extensor eccentric exercise to standard treatment for chronic lateral epicondylosis: A prospective randomized trial. J Shoulder Elbow Surg. 2010; 19(6):917–922
1 บันทึก
5
3
1
5
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย