23 ต.ค. 2019 เวลา 07:39
“คุ้งบางกะเจ้า”
เปลี่ยนสีดำเป็นสีเหลือง
เปลี่ยนความโศกเศร้า เป็นพลังที่มุ่งมั่น
เพื่อบอกต่อความดีงาม
ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อชาวโลก
2 เดือน ...
หลังจากที่ในหลวง ร.9 เสด็จสวรรคต
เป็นช่วงเวลาที่หนูทำงานที่โรงแรม 5 ดาว
แห่งหนึ่งย่านสาทร
ที่มองจากร้านอาหารบน Rooftop ลงไป
จะเห็นคุ้งบางกะเจ้าชัดเจนมาก
ในขณะหนูกำลังทำงาน
มีแขกต่างชาติ 3 ท่าน มายืนข้างๆ
เพื่อเกาะระเบียงชมวิว 360 องศา
แขกต่างชาติ ถามหนูว่า
"เธอจะติดโบว์ไว้ทุกข์ไปอีกนานเท่าไหร่"
(หนูติดโบว์ดำเล็กๆไว้บนชุดยูนิฟอร์ม)
หนูตอบว่า "อาจจะซักปีนึงมั้งคะ"
แขกท่านนั้นก็บอกว่า
"ต่อให้เธอไม่ติดโบว์ ไอก็รู้ว่า..
โบว์ดำจะอยู่บนหน้าอกยูไปตลอดกาลแน่ๆ #เพราะมันเป็นภาพจำของคนทั้งโลก
ดังนั้น ไอแนะนำว่า
ยูควรเอาโบว์ดำ ออกไปจากใจให้ได้นะ
ไม่งั้นยูจะแอบร้องไห้ไปแบบนี้ตลอด
อยากให้เปลี่ยนเป็นโบว์เหลืองแทนจะได้มั้ย"
"เพราะคิงของยู มีภาพสีเหลืองให้จำใช่มั้ย
มันคือสีแห่งความสว่างไสว"
แขกท่านนี้ตบบ่าหนูเบาๆ
เพราะหนูเริ่มมีน้ำตา (อีกแล้ว)
ท่านชี้ไปที่บางกะเจ้า แล้วบอกว่า
"ตรงนี้คือพื้นที่ๆ ในหลวงทำให้เป็นสีเขียว
เป็นโครงการราชดำริของคิงยูใช่มั้ย?"
หนูสะอื้นมากกว่าเดิม
เพราะ!!! หนูไม่เคยรู้เลย ว่า..บางกะเจ้า
เป็นส่วนหนึ่งในโครงการราชดำริ
ที่ในหลวงอยากให้เป็นปอดของคนกรุงเทพ
แขกเลยบอกว่า...
"เปลี่ยนความเสียใจ มาเป็นความมุ่งมั่นสิ
มุ่งมั่นทำงาน และระลึกถึงในหลวง
ด้วยการบอกต่อความดีของพระองค์
ขนาดชั้นเป็นชาวต่างชาติ ชั้นยังเล่าได้เลย
คนไทยอย่างยูต้องเล่าได้ดีกว่าแน่นอน
อย่างน้อยยูก็ควรเริ่มเล่าให้แขกชาวจีน
ที่กำลังเดินมาตรงนี้ฟังได้ ลองดูเลยสิ"
หลังจากวันนั้น ...
ทุกครั้งที่มีแขกไปยืนมองที่นั่น
และกำลังสงสัยว่า
เกาะตรงนั้นมันคือป่าหรืออะไร
หนูที่กำลังแบกถาดหนักๆ
หรือกำลังทำงานกึ่งวิ่ง
ก็จะพยายามแว๊บมาโฉบแขก
เพื่อจะคอยอธิบายเสมอ ว่ามันคืออะไร
และแนะนำให้คนต่างชาติ
ไปปั่นจักรยานเล่นที่นั่น
และหนูจะเล่าเรื่องในหลวงให้คนอื่นฟัง
แบบนี้ ตลอดไปค่ะ
“มาดามอันนาเบล แห่งเทือกเขามองบลังค์”
ขนาดคนต่างชาติยังรู้เรื่อง
พระราชกรณียกิจที่ช่วยพัฒนาชาติ
อย่างยั่งยืนเลย
พระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9
ดังไปไกลทั่วโลก
แต่ทำไมมีคนไทยจำนวนหนึ่ง
ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นเลย
ใจพวกเขาชั่งบอดสนิทเสียนี่กระไร
เชื่อว่าคนไทยหลายคนไม่รู้จักว่า
คุ้งบางกะเจ้า คืออะไร? อยู่ที่ไหน?
โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯเอง
ก็อาจไม่เคยรู้ว่า...
นิตยสาร ไทม์เอเชีย ฉบับ Best of Asia
ได้ยกย่องให้บางกะเจ้า
“เป็นปอดกลางเมืองที่ดีที่สุดในเอเชีย”
ในช่วงปี 2525-2530
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ประทับเฮลิคอปเตอร์ผ่านพื้นที่บางกระเจ้า
อยู่เป็นประจำ และทรงมีพระราชดำริว่า
ควรสงวนพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่สีเขียว
และคงความเป็นปอดของคนเมืองไว้
สำนักงานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
จึงได้จัดซื้อสวนรกร้างในคุ้งบางกะเจ้า
1,276 ไร่นำมาฟื้นฟู
โดยในปี 2546 ได้กันพื้นที่จำนวน 148 ไร่
สร้างเป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ
และได้รับพระราชทานชื่อว่า
“สวนศรีนครเขื่อนขันธ์”
ซึ่งมาจากชื่อเมืองโบราณในอดีต
ปัจจุบันดูแลโดยสำนักโครงการ
พระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้
จากนั้นในปี 2551
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
เยี่ยมสวนและชุมชนในคุ้งบางกะเจ้า
มีพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่า
“ให้ช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเอาไว้
อย่าให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติม
จนเกินกว่ากฎหมายกำหนด
ควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชเกษตร
และป่าผสมผสาน
การซ่อมแซมสวนศรีนครเขื่อนขันธ์
ขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันวางแผน
ให้เอื้อประโยชน์เท่าที่จำเป็น
ต่อการท่องเที่ยว และการศึกษาของเยาวชน
คล้ายห้องเรียนธรรมชาติ”
คุ้งบางกระเจ้าจึงอยู่เป็นปอดของเมืองกรุง
มาจวบจนถึงปัจจุบันนี้
อัษฎางค์ ยมนาค
โฆษณา