24 ต.ค. 2019 เวลา 03:41 • การศึกษา
สร้างองค์ความรู้เรื่องสิ่งเเวดล้อม
สถาบันวิจัยอวกาศแห่ชาติของบราซิล (INPE) เผยตัวเลขที่น่าตกใจว่าตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค. เกิดไฟป่าในแถบป่าอเมซอนแล้วกว่า 72,843 ครั้ง เพิ่มขึ้น 83% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติเมื่อ 6 ปีก่อน และหากนับตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่แล้ว เกิดไฟป่าถึง 9,500 ครั้ง
ในป่าอเมซอนไฟป่าเกิดจากฝีมือมนุษย์ เกษตรกรชาวบราซิลมักจะเผาป่าเพื่อเปิดพื้นที่ทำไร่ทั้งๆ ที่บราซิลมีกฎหมายห้ามเผาป่าในฤดูแล้ง รวมทั้งการเผาไล่ที่ชนเผ่าพื้นเมืองของนายทุนที่ลักลอบตัดไม้
ปัจจุบันนี้ป่าไม้ของบราซิลหายไปราว 15% และนักวิทยาศาสตร์ยังกังวลว่าหากป่าหายไป 25% ป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดของโลกผืนนี้จะไม่มีป่าไม้สร้างวัฏจักรของน้ำ และในที่สุดป่าที่เคยหนาแน่นจะกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาร้อนๆ และการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก เนื่องจากป่าอเมซอนเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนแหล่งใหญ่ ทั้งยังช่วยดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกหนึ่งในตัวการของภาวะโลกร้อนเป็นพันล้านตัน
โฆษณา