Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
•
ติดตาม
25 ต.ค. 2019 เวลา 03:30 • การศึกษา
ห้วย ลำกระโดง คู ฯลฯ 🌊💧💦
บอกฉันที คำศัพท์ที่ใช้เรียกแหล่งน้ำ
เหล่านี้ มันแตกต่างกันยังไง?
Photo reference : https://pixabay.com/photos/children-river-water-the-bath-1822704/
คำที่ใครๆ ก็รู้ว่า เขาใช้เรียกแหล่งน้ำนะ แต่ว่ามันใช้ต่างกันยังไงนี่สิ🤔
สำหรับแอด แหล่งน้ำเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของน้องปลาทั้งหลายที่แอดชื่นชอบค่ะ หลายครั้งที่ดูสารคดีหรืออ่านเจอคำเหล่านี้แล้ว บอกเลยว่า ไม่รู้เหมือนกันค่ะ ว่าจริงๆ แล้วความหมายของมันคืออะไร 😅
งั้นวันนั้นแอดจะพาทุกๆ ท่านไปรู้จักคำศัพท์เหล่านี้เลยดีกว่าค่ะ☺️
แหล่งน้ำมีทั้งหมด 4 แบบค่ะ
1. น้ำเค็มที่ไหลตลอดเวลา
2. น้ำเค็มที่ขังอยู่กับที่
3. น้ำจืดที่ไหลตลอดเวลา
4. น้ำจืดที่ขังอยู่กับที่
1. แหล่งน้ำเค็มที่ไหลตลอดเวลา
https://pixabay.com/photos/sea-ocean-water-humpback-whale-2052650/
แหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด ที่ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันนั่นก็คือ ”มหาสมุทร” ค่ะ
มหาสมุทรมีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลเวียนตลอดเวลา ทำให้เกิดฤดูกาลและสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด
อาจจะพูดได้ว่ามหาสมุทรคือทะเลทั้งหมดมารวมกันค่ะ
โดยมหาสมุทรก็แบ่งออกเป็นหลายส่วนค่ะ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และมหาสมุทรอาร์กติก (เรียงจากใหญ่ไปเล็กตามลำดับค่ะ)
“มหาสมุทร”
แปลว่า
ทะเลใหญ่
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : https://pixabay.com/photos/maldives-tropics-tropical-1993704/
ใหญ่รองลงมาคือ “ทะเล” ค่ะ ทะเลก็เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรค่ะ และใช้เรียกมหาสมุทรในโซนที่อยู่ติดชายฝั่ง หรือ ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดินบางส่วนค่ะ
ดังนั้นเวลาเราไปเที่ยวตามเกาะและหาดต่างๆ เรามักจะพูดติดปากว่า “ไปเที่ยวทะเล” ค่ะ จะพูดว่าไปท่องมหาสมุทรก็ได้ค่ะในกรณีที่เราไปล่องเรือระยะไกล
“ทะเล”
แปลว่า
ห้วงน้ำเค็มที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่ แต่เล็กกว่ามหาสมุทร
2. แหล่งน้ำเค็มที่ขังอยู่กับที่
Photo reference : https://pixabay.com/photos/astonishing-earth-hour-spring-4528307/
ใครๆ คงรู้จัก “ทะเลสาบน้ำเค็ม” โดยบริเวณดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่พื้นที่นั้นเคยมีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน หรือ หุบเขาที่มีน้ำทะเลซึมเข้ามาขังอยู่ หรือเกิดจากการก่อตัวของดินทรายทำทำให้ทะเลสาปถูกตัดขาดจากทะเลภายนอก เป็นต้น
“ทะเลสาบ”
แปลว่า
ห้วงน้ำขนาดใหญ่ที่มีแผ่นดินล้อมรอบ มี 2 ชนิด คือ ทะเลสาบน้ำจืด และน้ำเค็ม
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
3. น้ำจืดที่ไหลตลอดเวลา
เริ่มจากเรียงจากใหญ่ไปเล็กเพื่อความไม่สับสนค่ะ
https://pixabay.com/photos/prairie-river-stream-curved-sunset-679014/
ถ้าเอ่ยคำว่า “แม่น้ำ” ทุกคนพอจะเห็นภาพเข้าใจกันง่ายๆ เลยว่ามันเป็นธารน้ำขนาดใหญ่ที่สุดที่รวบรวมน้ำจากธารที่มีขนาดเล็กกว่า มันมีขนาดใหญ่กว่า “คลอง” และเป็นทางน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้นค่ะ
“แม่น้ำ”
แปลว่า
ลำน้ำใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลำธารทั้งปวง
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:คลองผดุงกรุงเกษม179.jpg
“คลอง” นั้นต่างจากแม่น้ำค่ะ เพราะคลองมีขนาดเล็กกว่าแม่น้ำ และ คลองสามารถเกิดขึ้นโดยการขุดหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ได้ค่ะ
โดยสมัยรัชกาลที่ 4-5 มีการขุดคลองขึ้นมากมาย เพื่อใช้ในการสัญจรทางเรือ
“คลอง”
แปลว่า
ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมแม่น้ำหรือทะเล
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
รูป : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
“คู” เป็นร่องน้ำที่มนุษย์ขุดขึ้นเท่านั้นค่ะ มีขนาดเล็กกว่าคลอง และขุดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรเป็นหลัก และในอดีตยังใช้คูเมืองเป็นปราการปกป้องเมืองจากศัตรูอีกด้วย
“คู“
แปลว่า
ร่องน้ำที่ขุดขึ้นมาเพื่อชักน้ำหรือกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวาป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
รูป : มติชน ออนไลน์
”ลำกระโดง” หรือ ลำประโดง เป็นทางน้ำที่มนุษย์ขุดขึ้น มีลักษณะค่อยข้างแคบ ในอดีตใช้นำน้ำเข้าสวนเข้านา โดยจะเป็นหน่วยที่ย่อยลงมาจากคู เพื่อให้น้ำเข้าถึงทุกครัวเรือน
”ลำกระโดง” หรือ ลำประโดง
แปลว่า
ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน, ลำประโดง ก็ว่า
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
รูป : เทศบาลนครแหลมฉบัง
“ลำราง” เป็นหน่วยที่เล็กลงมา เล็กยิ่งกว่าลำกระโดงอีกค่ะ โดยชาวสวนจะขุดในพื้นที่ของตนเองไปที่ลำราง เพื่อใช้ในการนำน้ำเข้าและระบายออกจากที่การเพาะปลูกของตัวเอง
หลายๆ คนมักสับสนระหว่างคำว่าลำรางและลำกระโดงค่ะ ซึ่งลำรางจะมีขนาดเล็กกว่าลำกระโดงมากค่ะ
“ลำราง”
ทางน้ำเล็กๆ ที่ขุดสำหรับชักน้ำจากคลองเข้านาหรือระบายน้ำออกจากนา
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : https://pixabay.com/th/photos/ป่า-ลำธาร-น้ำ-ธรรมชาติ-ต้นไม้-2046864/
“ลำธาร” เป็นทางน้ำที่ไม่เหมือนลำรางและลำกระโดง คนมักจะเข้าใจผิดบ่อยๆ ว่าสามคำนี้ใช้แทนกันได้ค่ะ ลำธารหมายถึงลำน้ำที่ไหลลงมาจากเขาที่ไม่ได้จำกัดขนาดค่ะและ มีกระแสน้ำแรง สามารถพบได้คู่กับน้ำตกค่ะ
“ลำธาร”
แปลว่า
ทางน้ำที่ไหลจากเขา
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : https://pixabay.com/th/photos/ธรรมชาติ-ป่า-ลำห้ว%E2%80%8B%E2%80%8Bย-ฤดูใบไม้ร่วง-4557355/
“ลำห้วย” กับลำธารต่างกันอยู่บ้างค่ะ โดยลำห้วยจะไหลไปขังอยู่ใน “ห้วย” แต่ “ลำธาร” จะไหลไปสู่ “แม่น้ำ” ค่ะ
“ลำห้วย”
แปลว่า
ทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ในแอ่งที่เรียกว่า ห้วย
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : https://pixabay.com/th/photos/น้ำตก-ไหล-ธรรมชาติ-ภูมิทัศน์-3615487/
“น้ำตก” น้ำตกคือน้ำที่ไหลลงจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำกว่า มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ค่ะ
น้ำตก
แปลว่า
น้ำที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกน้ำที่ทำให้ตกลงมาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : Geo2GIS.com
“ตาน้ำ” โดยตาน้ำส่วนมากจะเกิดบนหุบเขา และตาน้ำหลายๆ ตา ไหลรวมกันเป็นธารน้ำ เรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของสายน้ำก็ได้
โดยตาน้ำเกิดจากการสะสมน้ำในชั้นใต้ดิน และผุดออกมาเป็นสายจากพื้นดิน
“ตาน้ำ”
แปลว่าทางน้ำใต้ดินที่ไหลไม่ขาดสาย
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
4. น้ำจืดที่ขังอยู่กับที่
Photo reference : https://www.yumzaap.com/25913
“หนอง” น้ำนั้นมีขนาดเล็กกว่าบึงและห้วย และเป็นแอ่งน้ำที่ตัดขาดจากทางน้ำอื่นๆ โดยสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือถูกขุดขึ้น น้ำอาจแห้งในหน้าแล้ง
“หนอง”
แปลว่า
แอ่งน้ำ
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : http://www.chiangraifocus.com/เที่ยวเชียงราย/43/วนอุทยานห้วยน้ำช้าง
“ห้วย” เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่จะมีน้ำจากลำห้วยมาเติมให้เต็มอยู่เสมอ แต่ในหน้าแล้งที่ลำห้วยแห้งขอด หากห้วยมีขนาดเล็กก็อาจแห้งขอดได้ในช่วงนี้
“ห้วย”
แปลว่า
แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือแห้งบ้างเป็นบางคราว
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Photo reference : https://travel.mthai.com/region/179891.html
“บึง” ถูกขุดขึ้นหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ได้ มันมีขนาดใหญ่กว่าหนองมากทำให้น้ำนั้นไม่แห้งหายไป โดยน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นในฤดูฝน จะต่างกับอ่างเก็บน้ำตรงที่ อ่างเก็บน้ำนั้นจะถูกสร้างขึ้นเท่านั้น
“บึง”
แปลว่า
แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำขังตลอดปี
อ้างอิงตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
Reference / อ้างอิง
1. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
2. วิกิพีเดีย : มหาสมุทร
3. วิกิพีเดีย : ทะเล
4. ห้วย หนอง คลอง บึง...สักกี่คนที่จะเข้าใจความแตกต่าง : ไทยรัฐ ออนไลน์
เรียบเรียบโดย : โลกสีฟ้าป.ปลาตัวจิ๋ว
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562
แอดไม่ได้เป็นเจ้าของภาพแต่อย่างใดค่ะ ที่มาของภาพปรากฎใต้ภาพค่ะ
*** รับปรึกษาปัญหาเกี่ยวสัตว์น้ำ ปลาป่วย อุปกรณ์ เครื่องกรอง ชนิดพันธุ์ปลา ฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายค่ะ
เฟสบุ๊คเพจ : โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์
https://m.facebook.com/โลกสีฟ้าปปลาตัวจิ๋ว-จำหน่ายอุปกรณ์และสัตว์น้ำ-1149518831877436/?ref=bookmarks
8 บันทึก
55
24
7
8
55
24
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย