25 ต.ค. 2019 เวลา 14:57 • ธุรกิจ
“รู้เขารู้เรา”
1
คำๆนี้ยังใช้ได้เสมอ กับทุกๆเรื่องในชีวิต โดยเฉพาะเรื่องภาษี เพราะ ภาษีคือเรื่องใกล้ตัว...กว่าที่ทุกคนคิด และกว่าจะรู้ตัวบางคนหมดไปกลับเบี้ยปรับเงินเพิ่ม โดยไม่จำเป็น
อย่างที่ทราบๆกัน ในหลายๆปีที่ผ่านมานี้ ประเทศเราเริ่มจะมีธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์เพิ่มมากขึ้นมาก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงธุรกิจในหลายๆประเภท การรับเงินผ่านการโอนออนไลน์ ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แม้แต่กรมสรรพากร ก็ขยับตัวในการคืนเงินภาษี หรือการยื่นภาษีผ่านระบบ ออนไลน์เช่นกัน
ทั้งการคืนภาษีต้องผ่านบ/ช prompt pay , การยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่างๆ ก็ส่งเสริมให้ยื่นผ่านระบบ e-payment และต่อไปในอนาคตการออกใบกำกับภาษีก็จะต้องออกผ่านเครื่อง edc ออนไลน์เข้า server ของสรรพากรทั้งหมด (จริงๆ เริ่มมีการบังคับใช้บ้างแล้วนะคะ )
แต่วันนี้อยากจะมาแนะนำ กรณีกม.ใหม่ที่สรรพากรเพิ่งจะประกาศใช้เมื่อช่วงต้นปี และหลายๆคนกังวลมากๆรวมทั้งยังไม่เข้าใจ ว่าจะกระทบเราจริงมั้ย หรือกระทบอย่างไร
ขอบคุณข้อมูลจาก TAXBugnoms ที่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นมากนะคะ สรุปสาระสำคัญ เพื่อการวางแผนภาษี และ”รู้เขารู้เรา” จากกฎหมายเรื่องนี้กันค่ะ
1
- ธนาคารแต่ละธนาคารจะส่งข้อมูลการโอนเงินเข้าบ/ช ของเรา(ทุกบ/ช ของธนาคารนั้น เช่น คุณเปิดบ/ช KBank กี่บ/ช ก็ตาม ทาง KBank จะรวมทุกบ/ช ที่เข้าเกณฑ์ส่งสรรพากร) ซึ่งเกณฑ์ที่จะส่งข้อมูลคือ การรับเงินโอน เกินกว่า 3,000 ครั้งต่อปี เฉลี่ยที่มีคนโอนเข้าบ/ช เราทุกวันอย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง ซี่งแน่นอนว่า มีเงินโอนถี่ขนาดนี้ ไม่ปกติแน่นอน คุณต้องทำธุรกิจและส่วนใหญ่น่าจะเป็นธุรกิจขายของออนไลน์ ใช่ค่ะ ข้อนี้เน้นเจ้าของธุรกิจขายของออนไลน์เป็นหลักที่ไม่เคยเข้าระบบการเสียภาษีรายได้เลย อันนี้ต้องยอมรับว่าประเทศเราสูญเสียรายได้จากภาษีบุคคล จากตรงนี้เยอะมากจริงๆ
-ส่วนอีกข้อนึง คือ ได้รับเงินโอนเข้าบ/ช 400 ครั้งและเกินกว่า 2 ล้านบาท (ย้ำว่าต้องเข้าทั้ง 2 ข้อนะคะ) คือเฉลี่ยต้องมีเงินโอนเข้าบ/ช ทุกวันวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง
คือถ้าปกติมนุษย์เงินเดือนอย่างเดียวโอนไปมา ก็ไม่น่าจะถึงเนอะ แต่ๆๆ มันจะมีกรณีมีรายได้เสริมนู่นนี่ นั่นแหละค่ะ ที่อาจจะเข้าเกณฑ์ เกินกว่า 400 ครั้งได้ แต่สุดท้ายก็ต้องมาดูกันว่าเกินกว่า 2 ล้านบาทรึเปล่า
ทีนี้เราจะมาดูกัน ว่าอ้าว แล้วถ้ามันมีการโอนกันไปมาระหว่างบ/ช ที่ไม่ใช่รายได้ หรือ เพื่อนยืมเงิน โอนคืนค่าข้าว ค่าฝากซื้อของล่ะ เพราะสมัยนี้คนไม่นิยมพกเงินสดแล้ว เข้าเกณฑ์จะทำยังงัย ก็ ไม่ต้องทำอะไรค่ะ ส่วนตัวก็ไม่คิดว่าสรรพากรจะสามารถตรวจสอบได่หมดจริงอยู่ ระบบวิ่งเข้าไปแน่ๆ แต่ผู้ที่จะตรวจก็คือ จนท.นั่นแหละ ซึ่งไม่พอตรวจหรอก แค่นี้ก็ทำงานกันไม่ทันละ แต่ว่าถ้าโดนตรวจขึ้นมาล่ะ ทำอย่างไร ไม่ต้องกังวลค่ะ ถ้าไม่ใช่รายได้เราจริงๆ เราก็ชี้แจงเจ้าหน้าที่สรรพากรไปตามข้อเท็จจริง จนท.เค้าฟังเราอยู่แล้วค่ะ มีหฐ.อะไรก็แจ้งไปเท่านั้นก็จบ
แต่ถ้าบังเอิญว่า ที่ผ่านมาเราก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เคยเสียภาษีจากรายได้ที่ว่ามาเลยล่ะ หรือยื่นแต่เงินได้รายเดือน แต่รายได้อื่น ไม่เคยยื่นเลย จะปรับตัวอย่างไร.
-อย่างแรกให้มองที่ตัวเราก่อน ว่ารายได้ที่แท้จริงของเราคือเท่าไหร่ และเคยยื่นรายได้ไปเท่าไหร่ เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ก็ต้องดูว่า รายได้เข้าธนาคารเดียวมั้ย หรือหลายธนาคาร ถ้าธนาคารเดียว เราเปลี่ยนเป็นเพิ่มให้โอนเข้าธนาคารอื่นได้รึเปล่า
-สิ้นปี ก็สรุปยอดรายได้ และยื่นยอดรายได้เพิ่มขึ้นจากที่เคยโชว์ หรือถ้าไม่ยื่นเสียภาษีรายได้เลยก็แนะนำให้ยื่นบ้างอย่างน้อยก็เป็นการแสดงเจตนา จะเริ่มทำให้ถูกต้อง
แต่ก็อย่าลืมนะคะ ถ้ารายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท(ก่อนหักค่าใช้จ่าย) จะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat 7%)นี่ก็เป็นภาษีอีกประเภทนึงนะคะ คนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปล.กรณีร้านค้าที่ขึ้นรับถุงเงิน ชิม ช๊อป ใช้ และไม่เคยยื่นแบบแสดงรายได้การเสียภาษีบุคคลธรรมดาเลย และปีนี้ก็อาจจะทำเช่นเดิม ขอแสดงความยินดีดีด้วย ท่านเข้าไปสู่ระบบ Big Data ของรัฐเรียบร้อยแล้วค่ะ สิ่งที่จะแนะนำได้คือ เก็บข้อมูลรายได้ ที่ได้รับจากมาตรการ ชิม ช๊อป ใช้ ว่ารับเท่าไหร่ ภายใน มีนาคม 63 ก็ไม่ควรยื่นรายได้ต่ำกว่านะคะ
หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตามเพจนี้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ \(^_^)/
โฆษณา