Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระหลากด้าน ✅
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2019 เวลา 02:59 • ไลฟ์สไตล์
สภาวะเพลงติดหู "Earworm" อาการเพลงฮิตติดหู คืออะไร?
เพื่อนๆหลายคนก็คงจะเคยฟังดนตรีกันมาพอสมควรใช่มั้ยครับ แล้วได้เคยสังเกตตัวเองมั้ยครับว่าตอนที่เราฟังเพลงที่เราชื่อชอบบ่อยๆเนี่ย หลังจากที่เราฟังไปนานๆได้เกิดอะไรขึ้นกับสมองของเราบ้าง วันนีเราจะมาหาคำตอบกับเรื่องนี้กันครับ
เวลามีกระแสเพลงฮิตมาก ๆ จนแบบเดินไปไหนก็ได้ยิน อยู่ที่ไหนก็มีคนร้องให้ฟัง กระทั่งพาเราหลอนตาม ร้องเพลงนั้น ๆ อยู่ในใจ สลัดออกไปจากความคิดก็แสนจะยาก โอย...เสียงานการงานกันไม่น้อยเพราะอาการเพลงติดหูนี่แหละ แล้วรู้ไหมครับว่าอาการเพลงติดหูคืออะไรกันแน่ มีวิธีแก้ให้หายไหม...
วันนี้เลยขอจัดเรื่องสุขภาพน่ารู้มาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจว่า อาการเพลงติดหูเขาเรียก Earworm พร้อมวิธีแก้ Earworm แบบง่าย ๆ มาช่วยแก้ปัญหา...สลัดเพลงดังออกไปจากหัวกันดีกว่าครับ
"Earworm คืออะไร"
"Earworm" (เอียร์เวิร์ม) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ Involuntary Musical Imagery (INMI) คืออาการที่เรานึกถึงเนื้อเพลงนั้น ๆ วนเวียนอยู่ในหัวไปมา หรือเรียกง่าย ๆ ว่าอาการเพลงติดหู ซึ่งไม่จำเป็นว่าเพลงที่ติดหูเรานั้นจะต้องเป็นเพลงที่เราชื่นชอบแล้วร้องบ่อย ๆ เสมอไป
โดยจากการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Psychology of Aesthetics, Creativity and the Art ก็ได้อธิบายภาวะ Earworm ไว้ว่า เพลงที่มักจะทำให้เกิดภาวะ Earworm มักจะเป็นแนวเพลงป๊อป มีจังหวะค่อนข้างเร็ว เมโลดี้จำง่าย และมักจะมีเนื้อเพลงที่ร้องซ้ำ ๆ กันค่อนข้างมาก ส่งผลให้สมองในส่วนการจดจำของเราเก็บเอาเนื้อเพลงและทำนองที่ได้ยินซ้ำ ๆ นั้นมาคิดวนเวียนอยู่ในหัวสมอง กระทั่งเพลงนั้นติดหูเราในที่สุด
ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครกว่า 3,000 คน โดยนำเพลงฮิตติดชาร์ต และเพลงที่ก่อให้เกิดอาการเพลงติดหูประมาณ 100 เพลงมาให้อาสาสมัครฟัง โดยไม่ได้บอกชื่อเพลงว่าแต่ละเพลงนั้นมีชื่อว่าอะไร ซึ่งจากการทดลองทำให้เห็นว่า เพลงที่ติดหูคนฟังมากที่สุดมักจะมีลักษณะทำนองคล้าย ๆ กัน คือ เริ่มต้นด้วยจังหวะเร็ว มีคำร้องท่อนแรกเป็นโน้ตสูง ส่วนคำร้องท่อนต่อมาจะเป็นโน้ตต่ำ เช่น เพลง Bad Romance ของเลดี้ กาก้า หรือเพลง Move Like Jagger ของวง Maroon 5 ซึ่งเป็นเพลงที่มีท่อนโซโล่ซ้ำ ๆ หลายครั้งกว่าจะเข้าเนื้อเพลง หรือแม้แต่เพลงฮิตจนเป็นกระแสไวรัล เช่น เพลง PPAP หรือเพลงคุกกี้เสี่ยงทาย ของวง BNK48 ก็มีลักษณะทำนองและเนื้อร้องเข้าเกณฑ์นี้ด้วยเช่นกัน
"Earworm มักเกิดกับใคร?"
แม้จะมีกระแสเพลงดังติดหูกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทว่าคนที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดอาการ Earworm ได้บ่อยที่สุดมักจะเป็นคนที่ชอบฟังเพลง ฟังวิทยุบ่อย ๆ ซึ่งวิทยุก็มักจะเปิดเพลงที่กำลังฮิตเกือบจะทุกชั่วโมงเลยก็ว่าได้ ดังนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีอาการเพลงติดหูได้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ
ทว่าจากงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ก็มีรายงานด้วยว่า อาการ Earworm สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยในคนที่มีทักษะการจดจำที่ดี หรือกับกลุ่มคนที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำ รวมไปถึงคนที่มีจิตใจอ่อนไหวง่าย มีความเซนซิทีฟค่อนข้างสูง
"Earworm ใช่โรคไหม ?"
คำตอบคือ โรค Earworm ไม่มีจริงครับ เพราะ Earworm คืออาการเพลงติดหูเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยบางคนอาจมีอาการ Earworm 1-2 ชั่วโมง หรือในช่วงที่สมองว่าง ๆ อาจฮัมเพลงนั้นอยู่ในใจเป็นวันก็ได้ ทว่าอาการ Earworm จะไม่อยู่กับเรานาน หากมีสิ่งที่น่าสนใจ สมองมีเรื่องที่ต้องคิดอะไรอย่างจริงจัง เพลงที่ติดหูอยู่นั้นก็จะหายไปสักพัก และอาจจะไม่กลับมาวนเวียนในสมองอีกเลย เพราะในแต่ละวันสมองเราต้องคิด ต้องทำงาน รวมทั้งมีความสนใจในเรื่องต่าง ๆ มากมาย
ฉะนั้นใครที่มีอาการ Earworm ก็ไม่ต้องกังวลมากครับ เดี๋ยวสักพักก็สลัดเพลงนี้ออกจากหัวและหูได้ และเราก็มีวิธีแก้ Earworm มาฝากด้วย
"Earworm วิธีแก้ไม่ยาก"
แม้จะไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติทางร่างกาย ทว่าอาการเพลงติดหูก็สร้างความน่ารำคาญใจให้เราไม่เบาเลยทีเดียว ฉะนั้นมาดูวิธีแก้ Earworm กันดีกว่า
1. ลองเคี้ยวหมากฝรั่งดูสิ
2. ร้องเพลงนั้นออกมาให้จบไปเลย
3. โทรศัพท์คุยกับเพื่อนหรือใครสักคน
4. ทำกิจกรรมที่กระตุ้นความจำในระดับกลาง
5. เลี่ยงการฟังเพลงก่อนเข้านอน รวมถึงเลี่ยงการฟังเพลงเดิมซ้ำไปมา
6. อย่าฝืน บางครั้งการที่เรายิ่งฝืนสลัดเพลงออกจากหัว กลับให้ผลตรงข้าม
หรือถ้าเพลงฮิตหลอนอยู่ในหัวแบบสุด ๆ ลองหามาตรการขั้นเด็ดขาด เช่น ใครเปิดเพลงฮิตที่ก่อให้เกิดอาการ Earworm ต้องโดนปรับเงิน ใครร้องเพลงฮิตให้ได้ยินก็ต้องเลี้ยงข้าว เล่นขำ ๆ กับเพื่อน กับคนรอบกาย แบบนี้ก็ได้ความสนุกในอีกหนึ่งรูปแบบ ที่สำคัญสมองของเราอาจจดจ่ออยู่กับการจับผิดคนรอบข้าง จนเพลงที่ติดหูอยู่นั้นหายไปในที่สุดก็เป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพจาก :
dailymail, Durham University, cbsnews, Google
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
1 บันทึก
8
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"รวมบทความเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและงานบทความในเนื้อหาต่างๆที่ได้นำเสนอมา"
1
8
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย