Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อมร ทองสุก
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2019 เวลา 03:11 • สุขภาพ
ตำราฝังเข็มฉบับสมบูรณ์ (針灸學) ภาคทฤษฎี
บทที่ 4
หกอวัยวะหยาง
กระเพาะอาหาร
②กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารอยู่ตรงส่วนบนของหน้าท้อง
ส่วนบนเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร ส่วนล่างเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก ปากทางเข้าบนคือซั่งหวั่น (上脘) หรือกระเพาะอาหารส่วนบน ปากทางลงล่างคือเซี่ยหวั่น (下脘) หรือกระเพาะอาหารส่วนล่าง ระหว่างซั่งหวั่นและเซี่ยหวั่นก็คือจงหวั่น (中脘) หรือกระเพาะอาหารส่วนกลาง ทั้งสามส่วนจะมีลักษณะคดเคี้ยวไปมา โดยส่วนบนจะคดไปทางขวา ส่วนกลางจะคดไปทางซ้าย ส่วนล่างจะอยู่ตรงกลาง ดังนั้น กระเพาะอาหารจะมีสามคด มีเส้นลมปราณที่เชื่อมกับเส้นม้ามในลักษณะนอกใน หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือ “การรับ (受納)” และ “การทำให้น้ำอาหารสุกละเอียด (腐熟)”
เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก ลงสู่หลอดอาหาร และไหลลงไปในกระเพาะอาหารแล้ว หลังจากผ่านกระบวนการย่อยบดจนสุกละเอียดแล้วจึงค่อยส่งต่อไปที่ลำไส้เล็ก ส่วนสารละเอียดที่ได้ก็จะถูกม้ามลำเลียงไปสู่ร่างกายทั้งหมดต่อไป การทำงานผสานงานกันระหว่างม้ามกับกระเพาะอาหารจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการย่อยและการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย ดังนั้นกระเพาะและม้ามจึงถูกเรียกว่า “เป็นรากฐานหลังกำเนิดของร่างกาย (後天之本)” นั่นเอง
พลังกระเพาะอาหารจะลงล่างจึงจะลื่นไหล (以下為順) หากพลังแห่งกระเพาะขาดซึ่งการปรับลงล่างแล้ว ยามนั้นก็จะเกิดอาการเบื่ออาหาร ปวดตึงกระเพาะและหน้าท้อง พะอืดพะอมและอาเจียน เป็นต้น
3 บันทึก
6
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ตำราฝังเข็ม (針灸學) ภาคทฤษฎี บทที่1-9
3
6
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย