Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2019 เวลา 09:00 • การศึกษา
หินงอก หินย้อย เหมือนและต่างกันอย่างไร ?
ลองมาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันสักเล็กน้อยดีกว่าครับ
🙂🙂🙂
สำหรับหลายๆคนที่เคยไปเที่ยวตามถ้ำต่างๆ ก็ต้องเคยเห็นกับ หินงอก หินย้อย กันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย
แล้วเคยสงสัยไหมครับว่าหินงอกหินย้อยนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
วันนี้วิทย์นิดนิด จะมาพูดถึงกระบวนการเกิด และพัฒนาการของหินงอกหินย้อย ให้ฟัง สำหรับคนที่ยังสงสัยและยังไม่รู้ครับ
หินงอก และหินย้อย นั้นมีกระบวนการเกิดที่คล้ายๆกัน
5
🔹เริ่มจากการเกิดหินย้อย ที่ด้านบนเพดาน
น้ำฝน ที่มี สถานะเป็นกรดอ่อนๆ จากการที่ น้ำ รวมตัวกับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่มลงไปในถ้ำ ที่เป็นหินปูน
น้ำฝนที่ผสมกับ คาร์บอนไดออกไซด์ นั้นเราจะเรียกว่า 🔸สารละลายกรดคาร์บอนิก
เมื่อสารละลายกรดคาร์บอนิก เจอกับหินปูนหรือ 🔸แคลเซียมคาร์บอเนต จะทำให้เกิดการกัดกร่อนขึ้น
กลายเป็น 🔸สารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนต
จากนั้น สารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนต จะไหลไปรวมตัวกันที่จุดๆหนึ่ง ของเพดานถ้ำ
ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป ของเหลวระเหยไปจนหมด บริเวณนั้นจะเหลือเพียง กระจุกของหินปูนหรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ที่ก่อตัวมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นหินย้อยในที่สุด
🔹หินงอกบนพื้นถ้ำนั้นมีกระบวนการเกิดทางเคมี แบบเดียวกับหินย้อย
ซึ่งจะเกิดในขั้นตอนที่ สารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนต ไหลไปรวมตัวกันที่จุดๆหนึ่ง ของเพดานถ้ำ
แต่ว่า หยดของสารละลายมีขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถทนต่อแรงดึงดูดของโลกได้ ทำให้ตกลงมาที่พื้นถ้ำ
และเมื่อเวลาผ่านไป ของเหลวระเหยไปจนหมด บริเวณนั้นจะเหลือเพียง กระจุกของหินปูนหรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ที่ก่อตัวมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นหินงอกนั่นเอง
ข้อสังเกต คือ หินงอก และหินย้อย นั้น จะเกิดในจุดๆเดียวกันเสมอ เพราะ สารละลายแคลเซี่ยมไบคาร์บอเนต จะไหลลงมาตามปลายของหินย้อย และหยดลงมาสู่พื้น รวมตัวกันเป็นหินงอก
เมื่อหินงอก และหินย้อยมาบบรรจบกัน จะเกิดเป็นเสาถ้ำขึ้น 😆😆😆
🌠สรุป หลักการเกิด
น้ำ+คาร์บอนไดออกไซด์ = สารละลายกรดคาร์บอนิก
สารละลายกรดคาร์บอนิก + แคลเซี่ยมคาร์บอเนต(หินปูน) = สารละลายแคลเซี่ยมไบคาร์บอเนต
พอเวลาผ่านไป ของเหลวระเหย ออกไปจนหมด สารละลายแคลเซี่ยมไบคาร์บอเนต จะกลับมาเป็นแคลเซี่ยมคาร์บอเนต(หินปูน) อีกครั้ง
ทุกๆคนมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้าง ลองมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่ช่องคอมเม้นด้านล่าง
และอย่าลืมกด ว้าว เพื่อบอกเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ
Reference :
🔸https://www.britannica.com/science/stalactite
🔸https://science.howstuffworks.com/environmental/earth/geology/stalactite-stalagmite1.htm
🔸https://learning-center.homesciencetools.com/article/stalactites-stalagmites-science-lesson/
วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 23/10/2562
อ้อ ! ส่วนใครที่อยากให้พูดถึงเรื่องอะไร สงสัยเรื่องไหน สามารถ IB ไปสอบถามและพูดคุยกันได้ที่ เพจด้านล่างนี้เลยครับ
https://www.facebook.com/Scinimimal/
แอบรับ สปอนเซอร์แบบเนียนๆ ละครับ 😆😆😄
☀️บทความนี้คือบทความที่ตั้งเวลาล่วงหน้า ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านและติชิมล่วงหน้านะครับ
4 บันทึก
28
2
2
4
28
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย