โครงข่ายทางหลวงเอเชียในประเทศไทย
ทาง หลวงเอเชียในประเทศไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ทางหลวงเอเชียสายหลัก ได้แก่ AH 1, AH 2 และ AH 3 และทางหลวงเอเชียสายรอง ได้แก่ AH 12, AH 13, AH 15, AH 16,
AH 18 และ AH 19 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 5,129 กิโลเมตร (ไม่รวมช่วงของสาย AH 1 และ AH 2 ที่ทับกันช่วงจังหวัดตาก ถึงแยกบางปะอิน ระยะทาง 370 กิโลเมตร) จากการที่ได้ปรับปรุงฐานขัอมูลทางหลวงอาเซียน (ซึ่งจะนำเสนอในโอกาสต่อไป) ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้รายละเอียดสายทางของทางหลวงเอเชียล่าสุด มีดังต่อไปนี้
1. ทางหลวงเอเชียสาย AH 1: ชายแดนกัมพูชา – อรัญประเทศ - กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) –นครสวรรค์ – ตาก – แม่สอด – สะพานมิตรภาพไทย – พม่า รวม 715.5 กม.
2. ทางหลวงเอเชียสาย AH 2: ด่านจังโหลน - อ.สะเดา – หาดใหญ่ – พัทลุง – ชุมพร – ประจวบคีรีขันธ์ – ปากท่อ - กรุงเทพฯ (แยกบางปะอิน) – นครสวรรค์ – ตาก – ลำปาง – เชียงราย – แม่สาย (ชายแดนพม่า) รวม 1,913.5 กม.
3. ทางหลวงเอเชียสาย AH 3: เชียงราย – เชียงของ (ชายแดนลาว – จีน) รวม 121 กม.
4. ทางหลวงเอเชียสาย AH 12: สะพานมิตรภาพไทย-ลาว – หนองคาย – นครราชสีมา – ขอนแก่น – สระบุรี – กรุงเทพฯ (แยกหินกอง) รวม 571.3 กม.
5. ทางหลวงเอเชียสาย AH 13: ห้วยโก๋น – น่าน – แพร่ – พิษณุโลก – นครสวรรค์ รวม 550.5 กม.
6. ทางหลวงเอเชียสาย AH 15: ชายแดนไทย-ลาว (นครพนม) – อุดรธานี รวม 248.6 กม.
7. ทางหลวงเอเชียสาย AH 16: ชายแดนไทย-ลาว (มุกดาหาร) – กาฬสินธุ์ – ขอนแก่น – พิษณุโลก – สุโขทัย – ตาก รวม 703.4 กม.
8. ทางหลวงเอเชียสาย AH 18: ชายแดนมาเลเซีย (อ.สุไหงโกลก) – อ.ตากใบ – นราธิวาส – ปัตตานี – อ.หนองจิก – อ.จะนะ – หาดใหญ่ รวม 311 กม.
9. ทางหลวงเอเชียสาย AH 19: นครราชสีมา – กบินทร์บุรี – อ.แปลงยาว – แหลมฉบัง – กรุงเทพฯ รวม 364 กม.