Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Panniiis
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2019 เวลา 14:54 • ธุรกิจ
จดนิติบุคคลดีจริงเหรอ?
เริ่มมีคำถามลักษณะนี้ พูดคุยกันในหมู่ผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ จากที่กรมสรรพากรเปลี่ยนแปลง การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจาก 80% เป็น 60% ทำให้หลายท่านเสียภาษีบุคคลเพิ่มขึ้น
และคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรก็คือ ไปจดเป็นนิติบุคคล ดีกว่าเสียภาษีน้อยกว่าด้วยนะ เริ่มที่ 15% สูงสุด 20% แถมยังใช้ขาดทุนสะสมไปได้อีก 5 ปีเลย ขณะที่บุคคลธรรมดา เสียภาษีที่อัตราก้าวหน้า 10% จนถึง 35% แถมค่าใช้จ่าย ได้แค่ 60% อีกเท่ากับสรรพากรประมาณการกำไรให้เราตั้ง 40% ซึ่งข้อเท็จจริงเราไม่ได้กำไรขนาดนั้นนะ เมื่อผู้ประกอบการได้ยินดังนั้น ก็รีบจัดแจงอยากจะจดเป็นนิติบุคคลทันที แต่ๆๆๆ เดี๋ยวก่อนค่ะ ยังไม่ต้องรีบ ถ้าจะจด ไม่กี่วันก็เรียบร้อยแต่ถ้าจะเลิกเป็นนิติบุคคลนี่นานเลยค่ะ ไม่ง่ายๆ
สำหรับใครที่ได้รับผลกระทบจากอัตราค่าใช้จ่ายแบบเหมา60% แล้วรู้สึกเสียดายค่าภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม และลังเลในการที่จะจดเป็นนิติบุคคล ขอให้ลองอ่านข้อความนี้สักนิด ถ้ายอมรับได้และพร้อมลุยเลยค่ะ ภาษีปลายปีเสียน้อยลงแน่นอน แต่มาพร้อมกับรายละเอียดต่างๆ และความยุ่งยากที่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างมันมีข้อแลกเปลี่ยน
-ก่อนอื่นต้องดูตัวเองก่อน ว่ารายได้ที่แท้จริงของเราคือเท่าไหร่ คิดไว้ในใจเลยค่ะ แต่ถ้าเกินกว่า 1.8 ล้านต่อปี คุณโดนจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(vat7%) แน่ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล นะคะ
-ถ้าไม่เกิน 1.8 ล้าน แนะนำโดยไม่ขอข้อมูลอื่นค่ะ เป็นบุคคลธรรมดาดีแล้วค่ะ เพียงแค่กันเงินบางส่วนไว้เสียภาษีปลายปี ก็พอ เพราะถ้าจดนิติบุคคลกับฐานรายได้ขนาดนี้ ไม่คุ้มค่ะ เพราะจะไม่ได้มีแต่ค่าใช้จ่ายเรื่องภาษี แต่จะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมาแน่นอน
>> ค่าสอบบัญชี
>> ค่าบริการทำบัญชีจากสำนักงานบัญชี
>> ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าบริการอื่นๆ (กรณีบุคคลธรรมดา จ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้กฎหมายไม่ให้บุคคลหักค่ะ)
>> การเก็บเอกสารมาบันทึกบัญชีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาษี ก็ต้องเป็นเอกสารที่สมบูรณ์และถูกต้องที่สรรพากรยอมรับได้ จะมาเป็นบิลเงินสดไม่มีชื่อผู้ซื้อผู้ขาย ไม่ได้นะคะ
1
>> stock อันนี้สำคัญและเป็นจุดตายของทุกๆนิติบุคคลโดยเฉพาะธุรกิจที่ระบบจะไม่ค่อยจะดีมากนัก ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา กฏหมายกำหนดแค่ให้ตรวจนับว่าเหลืออะไรเท่าไหร่ ตอนครึ่งปีกับสิ้นปี แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล จะต้องทำรายการเคลื่อนไหวของสินค้า ตั้งแต่ซื้อมาวันไหนบิลไหน จำนวนเท่าไหร่ และขายไปด้วยบิลขายใบไหนจำนวนเท่าไหร่ สินค้าคงเหลือในรายงานตรงกับของจริงมั้ย เป็นต้น
>> สุดท้ายสรรพากรมักจะใกล้ชิดกับนิติบุคคลมากกว่าบุคคลธรรมดา โดยเฉพาะแบบเหมาค่ะ
แล้วถ้าเราจะเป็นบุคคลธรรมดา ที่หัก ค่าใช้จ่ายแบบจริงล่ะ
อันนี้ก็น่าจะดี แต่จะต้องเก็บเอกสารต่างๆ และต้องมั่นใจให้ได้ว่าเอกสารที่นำมาใช้หัก ถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร ซึ่งกรณีนี้ถ้าเอกสารเรามั่นใจจริงๆ ก็จะง่ายถ้าจะขยับมาเป็นนิติบุคคลนะคะ
ที่นี้เรามาดูกันว่าแล้วถ้าที่ผ่านมา เรามีรายได้เกิน 1.8 ล้านและจดภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วล่ะ เราควรจะจดนิติบุคคลดีมั้ย ก็ต้องมาลองตั้งโจทย์กันอย่างที่แจ้งไปตอนต้น เราต้องรู้ตัวเองก่อนว่ามีรายได้เท่าไหร่ ที่รู้อยู่ในใจ
เช่น สมมติรายได้อยู่ที่ 2 ล้านบาท หัก ค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% จะมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย= 800,000
แต่ละคนก็มีค่าลดหย่อนไม่เท่ากันเนอะเอาค่าลดหย่อนตัวเองอย่างเดียวก่อนเนอะ ที่ 60,000 นะคะ
ดังนั้นจะมีรายได้หลังหัก ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่
800,000-60,000 = 740,000 เพื่อนำมาคำนวณภาษี
เสียภาษีสุทธิ 63,500
>> 740,000 ตกเรทภาษีที่ 10%และ15% และจำนวนภาษีที่เสียทั้งสิ้น 63,500 เท่ากับ 3% กว่าๆเมื่อเทียบกับรายได้ 2 ล้านบาท
อัตราก้าวหน้าของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันค่ะ ขอบคุณภาพจากกระทรวงการคลัง
แต่ถ้าเราจดเป็นนิติบุคคลล่ะ กับรายได้ 2 ล้านบาท
จะต้องมีบิลค่าใช้จ่ายต่างมาเพื่อลดยอดรายได้ เช่น
-บิลค่าซื้อสินค้า (กรณีนี้เราจด vat ถ้าบิลซื้อเป็นบิล vat เช่นกันก็น่าจะเป็นบิลที่ถูกต้อง)
-ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนง. (ต้องยื่นประกันสังคมกรณีมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
-รายละเอียดสินค้าคงเหลือ
-ค่าสอบบัญชี
-ค่าบริการทำบัญชี
-ค่าน้ำ ไฟ โทรศัพท์
-ฯลฯ
สมมุติค่าใช้จ่ายต่างๆอยู่ ที่ 80% และมีกำไรที่ 20% ดังนั้น จากรายได้ 2 ล้านบาทจะมีกำไรเพื่อเสียภาษีจำนวน 2 แสนบาท ซึ่งกรณีนี้เราเป็น sme(รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาททุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท) กำไร 3 แสนบาทแรกไม่ต้องเสียภาษีค่ะ ยินดีด้วยถ้าจดนิติบุคคลด้วยยอดรายได้เท่านี้ไม่เสียภาษีค่ะ
อัตราภาษีเงินได้ปี 62 ค่ะ ขอบคุณเพจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี
แต่สุดท้ายแล้วอย่างที่แจ้ง กรณีนิติบุคคลสรรพากรจะใกล้ชิดกว่าบุคคลธรรมดา และเมื่อจะจดนิติบุคคลต้องให้ความสำคัญกับเอกสารมากๆ ต้องศึกษาและเข้าใจในเรื่องของภาษีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งในช่วงแรกอาจมีความยุ่งยากบ้าง แม้ว่าเราอาจไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีน้อยกว่าตอนเป็นบุคคลธรรมดา แต่อาจต้องยอมรับว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางอย่างเพิ่มขึ้น ต้องชั่งใจว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งความยุ่งยากที่เกิดขึ้น คำนวณแล้วคุ้มกับภาษีที่ลดลงหรือไม่นะคะ
ส่วนท่านที่รายได้เยอะมากจริงๆ เข้าใจว่าถ้าอยู่ในระบบก็น่าจะจดนิติบุคคลอยู่แล้ว ส่วนท่านที่อาจจะต้องเข้าระบบแล้วเพราะมายุคสังคมไร้เงินสด มาตรการต่างๆของสรรพากร ก็ควรศึกษาเรื่องภาษี หาสำนักงานบัญชีคุณภาพแนะนำ และดำเนินการจดนิติบุคคลต่อไปค่ะ อย่าลืมนะคะ จดไม่นานไม่กี่วัน ดังนั้นควรศึกษาและวางแผนภาษีในการเตรียมความพร้อมก่อนดีกว่า เพราะ ภาษีคือเรื่องใกล้ตัว.
ปล.ถ้าชอบบทความนี้ กรุณากดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจกันนะคะ ขอบคุณค่ะ \(^_^)/
2 บันทึก
3
1
7
2
3
1
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย