27 ต.ค. 2019 เวลา 02:56 • ธุรกิจ
เออร์ซูล่า เบิร์นส์ ซีอีโอผิวสี
MGR Online
เออร์ซูล่า เบิร์นส์  เธอโตขึ้นมาในย่านของคนจนและเขตอันธพาลแถบแมนฮัตตัน ชีวิตวัยเด็กจึงค่อนข้างลำบาก แต่คุณแม่ของเธอก็ดิ้นรนส่งให้เธอเรียนจนจบมหาวิทยาลัย เออร์ซูลา เบิร์นส์ เข้าทำงานกับบริษัทซีร็อกซ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1980 ในฐานะของ “พนักงานฝึกหัด” และหน้าที่การงานของเธอได้เติบโตขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งซีอีโอเมื่อ 7 ปีก่อน
โดยผลงานชิ้นสำคัญของเธอคือการประคับประคองธุรกิจดั้งเดิมอย่างการผลิตและจำหน่าย “เครื่องถ่ายเอกสาร” ให้ยังคงสามารถอยู่รอดได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีของโลกยุคปัจจุบัน รวมถึง การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การบุกเบิกธุรกิจแขนงใหม่ๆ เช่น การให้บริการด้านเทคโนโลยีสำนักงานต่อภาคธุรกิจ
 
เธอเป็นชาวนิวยอร์กที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันโปลีเทคนิคที่นิวยอร์กและศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จนจบมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่เลื่องชื่อโดยได้ทุนการศึกษากึ่งหนึ่งจากซีร็อกซ์
เออร์ซูล่า เป็นผู้มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเยาว์
 
หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทในปี ค.ศ. 1981 เธอก็ร่วมงานกับซีร็อกซ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนปัจจุบัน เธอทำงานในตำแหน่งวิศวกรในหลายแผนกงานของบริษัท โดยเริ่มไต่เต้าตั้งแต่เป็นวิศวกรจูเนียร์จนเป็นหัวหน้าทีมงานหลายโครงการด้วยกัน เธอเคยทำงานเป็นวิศวกรของซีร็อกซ์ที่กรุงลอนดอนอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นเวลาเกือบ 20 ปี ที่เธอได้ทำงานกับซีร็อกซ์ จนเธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานอาวุโสของแผนกบริการเชิงกลยุทธ์ (Strategie Services) ในปี ค.ศ. 2000
 
ลายคนในบริษัทให้ความเห็นว่าการที่ผู้หญิงผิวดำอย่างเธอได้รับการเลื่อนตำแหน่งเร็วคงเป็นผลมาจากกฎหมายแรงงานของสหรัฐฯที่ห้ามกีดกันพนักงานเรื่องสีผิว ซึ่ง เออร์ซูล่า ได้โต้กลับในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Black Enterprise ว่า “ความจริงที่ฉันได้รับการเลื่อนขั้นเร็วกว่าผู้อื่นนั้นไม่ใช่เพราะเชื้อชาติและเพศของฉันเลย มันเป็นผลงานของฉันต่างหาก”
และในปี ค.ศ. 2002 นิตยสาร Fortune ก็ได้มอบรางวัล “50 ผู้บริหารระดับสูงที่ทรงอำนาจที่สุดในอเมริกา” (50 Most Powerful Black Executives in America) ให้แก่เธอ
 
ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2003 ซีร็อกซ์ประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก โดยในช่วงเวลานั้น CEO ของซีร็อกซ์ก็เป็นผู้หญิงผิวขาวชื่อ แอนน์ มัลเคฮีย์ ในขณะที่แอนน์เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเจรจาสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและผู้ถือหุ้นของบริษัทตลอดจนวางแผนเพื่อกู้สถานะทางการเงิน เออร์ซูล่า ก็เป็นผู้นำแผนงานไปปฏิบัติและปรับโครงสร้างองค์กร จัดจ้าง บริษัทภายนอกให้มารับทอดการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ซีร็อกซ์ในต้นทุนที่ต่ำกว่า และยังเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงานได้เป็นผลสำเร็จ ด้วยผลงานที่เด่นชัดทำให้หลายคนเริ่มมองว่า เออร์ซูล่า น่าจะเป็นหนึ่งในผู้สืบทอดตำแหน่งของแอนน์ได้
 
อย่างไรก็ตามเมื่อมีฝ่ายสนับสนุน ก็ย่อมต้องมีฝ่ายค้านที่มองเห็นว่าเออร์ซูล่า ยังมีจุดอ่อนอีกมากมายสำหรับตำแหน่ง CEO คนต่อไปของซีร็อกซ์
 
อดีต CEO อย่าง “แอนน์ มัลเคฮีย์” มีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมในตัวของ เออร์ซูล่า ขนาดกล่าวว่า “จุดอ่อนทุกข้อที่ว่ามานั้น    เออร์ซูล่า แก้ไขได้ไม่ยากเลย ”ฉลาด ไม่กลัว คิดนอกกรอบ คือ สูตรผู้นำของเออร์ซูล่าก็สมดังที่แอนน์มีความเชื่อมั่นในตัวเออร์ซูล่า เธอเป็นผู้หญิงเก่ง ฉลาด และที่สำคัญคือ ไม่กลัวที่จะตั้งเป้าหมายธุรกิจและก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อบรรลุชัย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เคยเขียนถึงเธอว่า “แม้ในช่วงเบิร์นส์มีอายุในราว 30 กว่าปี เธอก็เป็นคนฉลาด เป็นนักคิดที่มีแนวคิดนอกกรอบและเปิดรับความคิดใหม่ๆ ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงหลายคนที่มีอายุมากกว่าปฏิเสธความคิดใหม่ๆ เหล่านั้น”
ในปีนี้ที่ เออร์ซูล่า มีอายุ 52 ปี สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาดูไม่สดใสเลยและถือเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายความสามารถของเธอไม่แพ้ช่วงเวลาที่แอนน์ มัลเคฮีย์รับตำแหน่งเป็น CEO เมื่อ 9 ปีที่แล้ว ราคาหุ้นของซีร็อกซ์ในขณะนี้ต่ำกว่าปีที่แล้วเกือบ 50% แต่ดูเหมือนสภาพเศรษฐกิจถดถอยนี้จะไม่มีผลทำให้เธอขวัญผวาสักเท่าไร
ภายในช่วงเวลาเพียง 1 ปีหลังรับตำแหน่งเป็น CEO เธอได้เริ่มงานเปลี่ยนแปลงปฏิรูปซีร็อกซ์หลายอย่าง เข้าใจว่างานของเธอคงเข้าตาสื่ออย่างนิตยสาร Fortune ไม่มากก็น้อย เพราะ Fortune ได้สัมภาษณ์เออร์ซูล่าเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ธุรกิจของ CEO หญิงผิวสีคนนี้อันมีผลกระทบต่อการปฏิรูปซีร็อกซ์ในหลายๆ ด้าน
เมื่อ Fortune ตั้งคำถามว่าในเมื่อซีร็อกซ์มีชื่อเสียงว่ามีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและแข็งแกร่ง (อยู่แล้ว) ทำไมเออร์ซูล่าจึงคิดว่าซีร็อกซ์ยังควรปรับวัฒนธรรมอีกสักหน่อย?
 
เธอตอบว่าจริงอยู่ที่วัฒนธรรมของซีร็อกซ์ มีจุดดีโดยเฉพาะเรื่องของการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างดี นี่คือสิ่งที่พวกพนักงานรักและอยากรักษาไว้ แต่ในบางเรื่องเช่น วิธีการทำงานนั้นก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ ต้องเร็วให้ทันเหตุการณ์ ต้องไม่กลัวจะถูกพนักงานต่อว่าบริษัทไม่ใจดีกับพนักงาน “เมื่อทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี ก็จะไม่มีแรงผลักดันให้อยากเปลี่ยนแปลง”
มีคำถามอีกคำถามหนึ่งที่ Fortune ถาม CEO หญิงเก่งผิวสีคนนี้ว่า จากการที่ทำงานกับซีร็อกซ์มาถึง 30 ปีนี้ อะไรคือ บทเรียนสำคัญที่ได้เรียนรู้
 
เธอตอบว่า “เมื่อทุกอย่าง (ในองค์กร) ดำเนินไปได้ด้วยดี ก็จะไม่มีแรงผลักดันให้คนคิดอยากเปลี่ยนแปลง ดิฉันได้เรียนรู้ว่าบางทีการนั่งอยู่นิ่งๆ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำในเมื่อสิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงกันไปมาก สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือเราต้องเคลื่อนไหว” และ “ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องการนำ (Lead) จากที่นี่ ได้ทำงานแก้ปัญหายิ่งใหญ่ต่างๆ
มีหลายครั้งที่อยากลาออกเพื่อละทิ้งปัญหา แต่เมื่อคิดย้อนหลังไปแล้วก็ดีใจที่ไม่ได้ลาจากบริษัทไป… เพื่อนของดิฉันเคยบอกดิฉันว่า เราไม่สามารถ (เลือก) อยู่กับบริษัทในเฉพาะช่วงเวลาดีๆ เท่านั้น แต่ต้องอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ดีด้วย เพื่อช่วยแก้ปัญหา…”
 
จากผู้หญิงผิวสีธรรมดาๆ คนนึง ที่เกิดในตรอกคนจนและเขตอันธพาลแถบแมนฮัตตัน สู่ CEO บริษัท ซีร็อกซ์ การที่ผู้หญิงคนนึงจะแข็งแกร่ง และต่อสู้กับอุปสรรคที่เจอไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ “เออร์ซูล่า” ก็แสดงให้เห็นว่าถึงจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะฝ่าฟันปัญหาต่างๆ ไปให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สิน คำดูถูกสบประมาทของคนอื่น
 
และต่อไปนี้ไม่ว่าคุณจะเจออุปสรรคอะไรก็ตาม ขอให้ลองมองเรื่องราวของเธอมาเป็นแรงบันดาลใจในการสู้ชีวิตต่อไป..แอดมินเองก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกคนในที่นี้ด้วย..
เธอได้ลาออกจากการเป็นซีอีโอ ใน2016
โฆษณา