Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เภสัชกร [VATE] มีอะไรจะบอก
•
ติดตาม
27 ต.ค. 2019 เวลา 05:47 • สุขภาพ
Amlodipine : ภาวะบวมในร่างกาย
1
Amlodipine (แอมโลดิปีน) ถือเป็นยาลดความดันตัวหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย วันนี้จะขอนำเสนอเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาตัวนี้
ยาจัดอยู่ในกลุ่ม Calcium channel blocker เรียกสั้นๆว่า CCB ต่อไปจะได้คุ้นชื่อนี้มากยิ่งขึ้น Calcium channel คืออะไรหากใครติดตามซีรีย์การเดินทางของยา 1 เม็ดมาในตอนที่ 1 เราจะพูดถึงช่องทางพิเศษที่ยาสามารถดูดซึมผ่านเข้าไปในกระแสเลือดหรือในเซลล์ได้ Calcium channel เป็นหนึ่งในช่องทางนั้นนั่นเอง
ชื่อก็บอก Calcium channel แสดงว่าเป็นช่องที่ให้ Calcium (แคลเซี่ยม) ผ่านเข้าออกนั่นเอง ยา Amlodipine จะมาออกฤทธิ์ตรงนี้โดยการ blocker นั่นคือการยับยั้งหรือพูดง่ายๆคือยาจะมาปิดช่องนี้ทำให้ Calcium ผ่านเข้าออกไม่ได้ แล้วมีผลอย่างไร
มีผลอย่างไรต้องไปดูว่ายาไปปิดช่องนี้ที่ไหน เช่น ยาไปปิดช่อง Calcium ที่กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดหัวใจ ผลคือทำให้ peripheral vascular resistance (PVR) ลดลง คืออะไรอีกเนี่ย ค่อยๆทำความเข้าใจ
PVR คือ แรงต้านของหลอดเลือดส่วนปลาย ยา Amlodipine จะทำให้แรงต้านนี้ลดลง ผลที่ตามมาหลอดเลือดจะเกิดการขยายตัวขึ้น ความดันจึงลดลงได้ ขออธิบายง่ายๆเช่นนี้
ตำแหน่งที่ยา amlodipine ไปออกฤทธิ์ (ขอบคุณภาพจาก www.medmovie.com)
ดังนั้นหลักการสำคัญหลักหนึ่งของการพัฒนายาที่ช่วยลดความดันในร่างกายคือ "การทำให้หลอดเลือดขยายตัว" นั่นเอง
แล้วยา Amlodipine ทำให้เกิดการอาการบวมได้อย่างไร ?
ต้องบอกก่อนเลยอาการบวมที่เจอมักเจอที่ขาเป็นส่วนใหญ่ คนไข้ที่ใช้ยานี้ไปแล้วมักกลับมาพบแพทย์ด้วยอาการขาบวมเป่งเลย ที่อื่นก็บวมได้นะ เคยอ่านเจอรายงาน การบวมจากการใช้ยา Amlodipine ที่เหงือก เหงือกบวมเลย เออ..แปลกดี
กลับมาที่ขาบวม ลองนึกภาพตามง่ายๆ เวลาเรายืนเลือดส่วนใหญ่จะไหลไปกองที่ขา ตามแรงโน้มถ่วงของโลก และร่างกายจะมีกลไกบีบเลือดกลับขึ้นไป ในภาวะปกติเวลาเรายืน ขาเราจะไม่บวม
แต่ยา Amlodipine วันดีคืนดีมันอาจจะไปจับ Calcium channel แถวๆหลอดเลือดบริเวณขาก็เป็นได้ งานเข้าละทีนี้ ยาทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยาย ดังนั้น เวลาเรายืน เลือดไปกองที่ขา ตามปกติร่างกายต้องบีบให้เลือดขึ้นไป การที่จะบีบขึ้นไปได้หลอดเลือดต้องหดตัว อ่าว! ยานี้ไปขยายหลอดเลือดไว้ ร่างกายจึงบีบเลือดขึ้นไปไม่ได้หรือขึ้นไปได้ช้า ขาจึงบวมเลย
เปรียบเทียบขาปกติกับขาบวม (ขอบคุณภาพจาก www.medicalnewstoday.com)
โอกาสเกิดราวๆ 5-70 % ถือว่าค่อนข้างสูงนะ แต่บางคนกินยานี้มาเป็นสิบๆปีก็ไม่เห็นเป็นอะไร ก็ดีแล้ว เพราะไม่ได้เกิดกับทุกคน
การแก้ไขอาจลดขนาดยาลง แต่ก็ต้องดูด้วยว่าลดขนาดยาไปแล้วควบคุมความดันได้เหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าไม่เปลี่ยนเป็นยาตัวใหม่ดีกว่า
เสริมอีกนิด ยา Calcium channel blocker มี 2 กลุ่มคือ 1.dihydropyridine และ 2. non-dihydropyridine ยา Amlodipine อยู่ในกลุ่มที่ 1 ย้ำว่ายาในกลุ่มนี้ไม่ได้ทำให้บวมทุกตัว Amlodipine เป็นตัวที่พบบ่อยที่สุดเท่านั้นเอง
สาระสั้นๆในวันหยุดแบบนี้ก็จบลงเพียงเท่านี้
เอกสารอ้างอิง
1.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12939574
2.
https://www.medscape.com/viewarticle/460070_3
3.
https://www.honestdocs.co/amlodipine
4.
https://openheart.bmj.com/content/3/2/e000473
8 บันทึก
47
54
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Drug Topic
8
47
54
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย