28 ต.ค. 2019 เวลา 02:09
ว่าด้วยเรื่องใต้สะดือ ๖
ครั้งนี้จะมาคุยกันเรื่อง " ภาวะเพศกำกวม " ( Intersexuality ) หรือ " คนสองเพศ "
www.dailynew.co.th/artcle/656207
ผมนั่งหาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ๆ เพื่อที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ สภาวะเพศกำกวม ในตอนที่ผมบวชก็เคยได้ฟังหลวงตาท่านเล่าให้ฟังบ้าง แต่เป็นในทางของพระพุทธศาสนา ซึ่งน่าจะหายากนะในความรู้สึกผม หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ ( บทความหน้าจะมาเล่าให้ฟัง มาเขียนให้อ่านเกี่ยวกับคนสองเพศ ในทางศาสนาพุทธ รอติดตามได้ครับ )
www.youtube.com
บังเอิญผมนั่งดู ยูทูป ไปเรื่อยเปื่อย เพื่อขั้นเวลาในขณะที่รอข้าวพัดกะเพรา + ไข่ดาว เยิ้ม ๆที่ผมต้องกินทุกวัน (รู้สึกจะเสพติดข้าวพัดกะเพรา จนเข้าเส้น )
มีช่องยูทูปของช่อง 3 เรื่องเล่าเช้านี้เด้งขึ้นมา โดยในคลิปจั่วหัวเรื่องไว้ว่า " ชีวิตคนสองเพศ " อะไรมันจะช่างเหมาะเจาะขนาดนั้น เลยจิ้มเข้าไปดู เดี๊ยวผมจะทิ้งลิ้งไว้ท้ายเครดิตให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ ที่สนใจลองเข้าไปรับชมได้ จะไม่ลงรายละเอียดในคลิป
www.dailynews.co.th
ที่นี้เรามาดูในเชิงการแพทย์กันบ้าง ผมสรุปสั้นๆ ง่าย ๆ เพื่อความเข้าใจอย่างว่องไว ดังนี้
" ภาวะเพศกำกวม " เป็นลักษณะเฉพาะทางเพศที่ไม่สามารถกำหนดได้ว่า เป็น หญิง หรือ ชาย ได้อย่างชัดเจน
หลายคนคงเกิดคำถามในใจ "อ่าว .... แล้วจะรู้ได้ไง จะรู้แน่ชัดตอนไหน" คำถามเหล่านี้มีคำตอบครับ
ผศ.พญ.ธนินี สหกิจรุ่งเรือง กุมารเวชศาสตร์ต่อมไร้ท่อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่า ....
" เกิดจากความผิดปกติจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมนที่อาจส่งผลมาจากต่อมเพศหรือต่อมหมวกไต หรืแได้รับฮอร์โมนมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ การขาดเอ็นไซม์บางอย่าง ตัวรับฮอร์โมนผิดปกติ ความผิดปกติของยีนส์ โรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่มีผลต่อฮอร์โมนทางเพศ เป็นต้น "
สามารถพบได้ในเด็กทารกประมา ๑ ต่อ ๔,๕๐๐ ราย ในปัจจุบันอยู่ในกลุ่มของโรคความผิดปกติของการพัฒนาการของระบบอวัยวะเพศ
วิธีการรักษานั้น สามารถรักษาได้แต่ค่อนค้างยาก เพราะในแต่ละคนการรักษาจะแตกต่างกัน ในบางคนอาจจะต้องลดหรือเพิ่มฮอร์โมนที่ไม่เท่ากัน
การผ้าตัดหากหมอวินิจฉัยออกมาว่าเป็นเพศชายอาจต้องตัดแต่งซ่อมแซมทางเดินปัสสาวะ ในกรณีที่เป็นเพศหญิงบางคนมีอวัยวะเพศชายงอกออกมา ต้องผ่าตัดตกแต่งให้เข้ารูป ทำช่องคลอดหรือแก้ไขรูปัสสาวะ
แต่ !!! กว่าที่คุณหมอจะลงความเห็นได้ว่าเป็น ขาย หรือ หญิง ต้องรอให้เด็กมีการรับรู้เรื่องเพศก็ราว ๆ อายุประมาณ ๓ ปีขึ้นไป ซึ่งจะเป็นปัญหาในภายหลัง
ถ้าตอนแจ้งเกิดเป็นเด็กหญิง แต่อีก ๓ ปีให้หลัง เด็กกลับมีเพศสภาพเป็นชายมากกว่า อันนี้จะเป็นเรื่องยุ่งยากในการแก้ไขคำนำหน้า จาก เด็กหญิง เป็นเด็กชาย
- สรุป -
คนสองเพศไม่ใช้ กระเทย แต่อย่างใด เป็นเพียงความผิดปกติของพัฒนาการของระบบสืบพันธ์ ซึ่งรักษาได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลา มนบางคนอาจใช้เวลาถึง ๑๕ ปี
ถ้าชอบกด " ไลค์ "
ถ้าใช้ กด " แชร์ "
ไม่อยากพลาดบทความ และเรื่องราวดีดี กด " ติดตาม " ด้วยนะครับ
CR. วิจัย การระบุเพศ บทบาททางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ในผู้ป่วยอวัยวะเพศกำกวม ที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
.
.
.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา