Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชีวิตเริ่มต้นเมื่ออายุ 45
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2019 เวลา 10:00 • ความคิดเห็น
การพัฒนาของสถานการณ์
Photo by JESHOOTS.com from Pexels
วันแรกของการทำงาน จั่วหัวแบบนี้เริ่มมาก็เครียดกันเลยทีเดียว
ในชีวิตการทำงานมีโอกาสได้รับผิดชอบโครงการหลายอย่าง สากกะเบือ ยันเรือรบ เพราะเริ่มงานมาตั้งแต่ Level ล่างสุด จนทุกวันนี้...
ในเวลาต่อมา (เสียงอีการ้องเหมือนในการ์ตูนด๊อกเตอร์สลัมป์ กับ หนูน้อยอาราเล่)
youtube.com
Dr. Slump Arale - Opening - Japanese- Arele Norimaki
ก๊าาา
.
.
.
ก๊าาา
.
.
.
ก๊าาา
.
.
.
ยังอยู่ที่เดิม...ฮา
Photo by Vojtech Okenka from Pexels
สถานที่เดิม ที่เพิ่มเติมคือเงินเดือนครับ จะบอกอย่างนั้น
ปกติเราทำงานเท่าที่ได้รับมอบหมายก็พอแล้วใช่มั้ยครับ แต่ถ้าอยากก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง เราต้องทำมากกว่าคนอื่น เช่น
ถ้าในหน่วยงานสังกัดเล็กสุด มีพนักงานอยู่ 4 คน เราต้องมีผลงานเป็นที่หนึ่ง โดยที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนจากการได้มาซึ่งผลงานนั้น
ขยับขึ้นไปอีก ถ้าเราอยู่ในหน่วยงานที่ใหญ่ขึ้นมา มีพนักงาน 10 คนที่อยู่ใน Level เดียวกัน เราต้องมีผลงานเป็นที่หนึ่ง หรือ Top3 เป็นอย่างน้อย
ถ้าหัวหน้าท่านตาไม่บอดมืดจากคำประจบสอพลอ สติสัมปชัญญะรับรู้ปกติ ท่านก็น่าจะได้รับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง พร้อมกับค่าตอบแทนมากขึ้น ถ้าไม่ หาหัวหน้าใหม่เถอะครับ อย่าไปรอให้เสียเวลา
ถ้าเราสร้างความรับผิดชอบงานขึ้นมา ไม่ว่าเราจะได้รับคำสั่ง หรือเสนอหน้าสร้างงานขึ้นมาเอง มันต้องมีการวางแผน
หลักการวางแผนเบื้องต้น 101 ผมจำแค่ไม่กี่ตัว POSDC ประกอบไปด้วย
1.Planning
2.Organizing
3.Staffing
4.Directing
5.Controlling
ถ้าท่านเป็นพวกทฤษฎีจ๋า ได้โปรดอย่าถามว่ามันมีมากกว่านี้หรือเปล่า เพราะผมจำได้แค่นี้ครับ
ภาพถ่ายโดย Startup Stock Photos จาก Pexels
ทีนี้เมื่อโครงการต่างๆที่เรารับผิดชอบเริ่มดำเนินการแล้ว ความยากของวัฒนธรรมคนไทยคือการทำงานเป็นทีม
เวลาทำคนเดียวมักจะเก่งแต่พอคนเก่งๆ (บางทีก็เข้าข้างตัวเองว่าเราก็เก่ง) มาอยู่รวมกันแทนที่งานจะเสร็จเร็ว กลายเป็นว่าต้องประชุมแล้วประชุมอีก
ต้องอัญเชิญพระประธานสูงสุดมาเป็นผู้พิพากษาเกือบทุกเรื่อง ท่านก็มีงานของท่านที่ต้องทำเหมือนกัน รู้สึกเคยมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์นี้กันบ้างแล้วนะครับ ถ้าท่านอยู่ในวัยทำงานผมคาดไว้อย่างนั้น
เคยมีโอกาสร่วมงานกับคนออสเตรียซึ่งน่าจะเหมือนคนเยอรมัน เป็นคนที่ทำงานแบบมืออาชีพมาก วางแผน กำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน เตรียมตัวประชุมดี มีข้อมูลครบ
ตัดสินใจเมื่อถึงเวลาตัดสินใจ ที่สำคัญตรงเวลามาก เป็น Idol ของผมอีกคน และชอบฟังเพลง Rock เหมือนกัน เลยทำให้เข้ากันได้ดี
การที่จะทำให้งานหัวข้อใหญ่ๆมีความคืบหน้า มันประกอบไปด้วยเรื่องเล็กๆมากมาย ซึ่ง Project Leader ควรจะผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว เพื่อให้มีการยอมรับจากลูกทีมในระดับนึง ไม่งั้นเหนื่อย
หรือบางเรื่องที่เป็นลักษณะเฉพาะ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องโดยละเอียด แต่ต้องรู้จักตั้งคำถามและฟังให้มาก
เรื่องย่อยแต่ละเรื่องมีบริบทต่างกัน มีการกำหนดรูปแบบของสถานการณ์แต่ละเรื่องอยู่ไม่กี่อย่าง คือ
1.สร้างสถานการณ์ขึ้นมา
2.คอยดูให้สถานการณ์นั้นค่อยๆเติบโตด้วยตัวมันเอง
3.กระตุ้นสถานการณ์นั้นให้เติบโตเร็วขึ้น
ยกตัวอย่างให้เห็นแบบชัดๆ เช่น
เราเจอปัญหาที่ไม่ได้รับการใส่ใจ เราต้องนำมาเสนอในที่ประชุม และควรมาพร้อม Solution เพราะเจ้านายเค้ามีปัญหาเยอะพอแล้ว เค้าไม่ต้องการฟังปัญหาเพิ่ม และอย่าลืมว่านายจ้าง จ้างเรามาแก้ปัญหา
ถ้าไม่มีปัญหาเค้าก็คงไม่จ้างเราจริงมั้ยครับ ตรงนี้เท่ากับเราสร้างสถานการณ์พร้อมแนวทางแก้ไขและงบประมาณให้รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบแล้ว...เอ๊ะ! ไม่น่าเกี่ยว
ปัญหานั้นๆตอนเกิดใหม่ๆจะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบไม่มาก เช่น เครื่องจักรน๊อตเริ่มคลายตัว แรกๆยังทำงานได้ดี แจ้งช่างซ่อมบำรุงไปแล้ว ไม่มาซ่อมซักที
หรือบางปัญหาเป็นที่รับรู้แล้ว เช่น น้องในทีมเริ่มมาทำงานสาย ส่วนใหญ่เราจะไม่สนใจใช่มั้ยครับ เราก็ทำงานของเราไป ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ
แต่จะมีคนจำพวกนึงให้ความสนใจกับเรื่องพวกนี้และเฝ้ามองอย่างเงียบๆเพื่อรอเวลา และกำหนดผลลัพธ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว
รอไปซักพัก เอ๊ะ! ทำไมยังไม่มีใครมาสนใจ ตามตัวอย่างข้างบน เราถอดน๊อตออกไปเลยละกัน เครื่องจักรเสีย สายการผลิตหยุด คราวนี้ดูซิว่าจะเกิดอะไรขึ้น
หรือ น้องที่มาสาย ทำไมหัวหน้าไม่ให้ใบเตือนหรือเรียกมาว่ากล่าวตักเตือน เราก็มาตรงเวลาทุกวัน ว่าแล้วเริ่มก่อตั้งสมาคมซุบซิบ เพื่อแพร่ข่าวกระจายออกไปให้เข้าหูหัวหน้าเร็วขึ้น
กลับมาเรื่องโครงการที่เรารับผิดชอบ แต่ละเรื่อง สิ่งละอันพันละน้อยเราต้องใส่ใจ เพราะมีผลต่อกำหนดเสร็จของโครงการ งานบางอย่างเริ่มพร้อมกันได้ เราต้องกระตุ้น หรือรอจังหวะที่เหมาะสม หรืออาจต้อง Lobby ล่วงหน้า เพื่อกระตุ้นให้สถานการณ์พัฒนา หรือให้โครงการมีการนำร่องให้ทีมทำงานง่ายขึ้น
หรืองานบางอย่างต้องรอ เช่น กำหนดวัสดุยังไม่ได้ ก็ทำแบบไม่ได้ แบบไม่เสร็จก็เสนอราคาไม่ได้ กรณีนี้สิ่งที่ควรทำ คือ ควรเริ่มให้ถูกตั้งแต่แรก เช่น ให้ลูกค้าเลือกวัสดุมาเลย หรือ จัดเตรียมวัสดุทางเลือกพร้อมข้อดีและข้อเสียนำเสนอลูกค้าตั้งแต่ไปคุยครั้งแรก เป็นต้น
การพัฒนาสถานการณ์ทั้ง 3 ข้อ หากใช้อย่างเหมาะสม นอกจากงานจะเสร็จแล้ว บรรยากาศและความสัมพันธ์ในทีมก็จะดีตามไปด้วย
ภาพถ่ายโดย Fox จาก Pexels
หากใช้ในด้านดีมันก็ดี แต่หากใช้ในด้านไม่ดี องค์กรก็จะล้าหลัง มีการแบ่งฝ่าย แต่ละฝ่ายมีการกำหนดสถานการณ์เพื่อดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามตามตัวอย่างที่ยกมา
เอาแค่อยู่เฉยๆก็ล้าหลังแล้ว เพราะคู่แข่งเค้าเดินหน้าทุกวัน ทำบางเรื่องวันนี้เพื่อหวังผลในวันหน้า ตามแผนระยะยาว
ก็นำมาแบ่งปันกับเพื่อนๆไว้อีกเรื่องครับ
สวัสดีครับ
1 บันทึก
11
8
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิชา สปช.101
1
11
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย