28 ต.ค. 2019 เวลา 05:15 • ธุรกิจ
Special Topic: วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจไทย
GSP: Generalized System of Preferences
GSP ที่เราได้ดูข่าวกันคือ อะไร และ”ส่งผล” กับ “เรา” ยังไง
หมูน้อยได้ทำการย่อยสาระสำคัญของเรื่องนี้มาให้ผู้ติดตามทุกท่านได้เข้าใจกันอย่างง่ายๆเช่นเคยครับ
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่หายตัวไป 2 วันเนื่องจากต้องทำการประเมินสถานการณ์ครับ
เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างสำคัญของระบบการค้าไทยพอสมควร
สิทธิ์ GSP คือ สิทธิ์ในการงดเว้นการจ่ายภาษีของสินค้าที่นำเข้าไปยังประเทศอเมริกา โดยที่อเมริกาเป็นผู้ให้สิทธินี้แก่ประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา "แต่เพียงฝ่ายเดียว"
ซึ่งทางสหรัฐอเมริกาได้ออกคำสั่งมาแล้วว่าจะตัดสิทธิ์สินค้านำเข้าจากไทยวงเงิน 1.4 พันล้านดอลล่าสหรัฐ หรือราว 40,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังอเมริกา
รูปที่ 1 USA THAI GSP
หมูน้อยขออ้างอิงบทความของหมูน้อยในเรื่องของการส่งออกและนำเข้านะครับ
ทุกท่านที่ติดตามหมูน้อยมาโดยตลอดจะทราบอยู่แล้วว่า การส่งออกเป็นหนึ่งในเครื่องจักรสำคัญของประเทศไทย เมื่อไทยเราถูกตัดสิทธิ GSP เท่ากับว่าเราต้องเสียภาษีขาเข้าให้กับกลุ่มสินค้าที่เราส่งออกไปยังอเมริกา
แล้วประจวบเหมาะกับในระยะที่ผ่านมานี้ ค่าเงินบาทเราเเข็งค่า อย่างไม่สอดคล้องกับพื้นฐานภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ทำให้เราโชคดีถึง 3 เด้ง
ลองคิดภาพตามผมนะครับ ไทยส่งออกสินค้าไปที่อเมริกา
รูปที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะการส่งสินค้าเข้าอเมริกา
สินค้าที่เราส่งไป ก็ต้องแข่งกับสินค้าประเภทเดียวกันของประเทศเพื่อนบ้าน
ในเมื่อ “ค่าเงินบาทที่แข็ง” รวมกับ “การเสียภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น”
ทำไมจะต้อง “ซื้อสินค้าที่คุณภาพเท่ากัน” แต่ “ราคาแพงกว่า” ของประเทศเราด้วย
เช่น ไทยเราส่งอาหารทะเลไปขายที่อเมริกา เดิมตอนที่เราได้สิทธิ์ GSP เราส่งไปขายได้ที่ราคา 100 บาท แต่เมื่อถูกตัดสิทธิ์ ทำให้ราคาอาหารทะเลเราเมื่อรวมกับภาษีขาเข้าแล้วจะอยู่ที่ 105 บาท
เมื่อรวมกับการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้าน
ราคาอาหารทะเลเราจะอยู่ที่ประมาณ 110-115 บาท(ตัวเลขสมมตินะครับแต่หลักการจะประมาณนี้)
ในขณะที่ ราคาอาหารทะเลของ 4 ประเทศเพื่อบ้าน คือ ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา มีราคาเท่ากันที่ 100 บาท
มันก็จะกระทบกันไปเป็นลูกโซ่ ไม่นานคงจะมีการลดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ การลดกำลังการผลิตลง พักไลน์ผลิต เลิกจ้างงาน
ส่วนถ้าเราไปเจอความเห็นทำนองว่า ทำไมไม่หาตลาดอื่นที่ไม่ใช่อเมริกาล่ะ
หรือ งดใช้สินค้าอเมริกาไปเลย ให้รู้เสียบ้าง
โถ่ คุณเอ๋ย ถ้าโลกความเป็นจริงมันง่ายแบบนั้นก็ดีสิครับ
อันนี้คือเราไปพึ่งเค้าครับ ไม่ใช่เค้าพึ่งเรา
โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบก็จะมีกลุ่ม สินค้าประเภทอาหารทะเล ทั้งหมด ของไทย และสินค้าอื่นๆ เราจะได้รับผลของมาตรการนี้ในอีก 6 เดือนให้หลัง(หากทางทีมเจรจาและรัฐบาลหาทางออกได้ ซึ่งก็คงยาก)
โดยรายการสินค้าจะออกมาภายหลังจากนี้ครับ
การที่จะได้รับสิทธิ GSP คืนมาเราก็ต้องทำตามข้อกำหนดที่อเมริกาแจ้งมา
ในส่วนของข่าวที่ว่าเราจะไปประท้วงนี่เป็นเรื่องของภาษาข่าวเท่านั้น ความเป็นจริงเรารู้ตัวก่อนหน้านี้มาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีแล้วด้วยซ้ำว่าเราจะโดนตัดสิทธิ์
ระหว่างนั้นทางทีมเจรจาของไทย และ รัฐบาลก็ได้พยายามหาทางแก้ไขมาโดยตลอด ซึ่งก็ยังไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของทางอเมริกา
สิทธิ์ GSP นี้อเมริกาจะยกให้ใครหรือเอาคืนเมื่อไหร่ก็ได้ ตามข้อกำหนดของเค้า ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิของสหภาพแรงงานที่สามารถเรียกร้องต่อนายจ้างได้ ข้อกำหนดเรื่องรายได้ต่อหัวของประชากรในประเทศนั้นๆ และอื่นๆ
1
เมื่อมองความเป็นจริงของประเทศไทย เราให้สิทธิกับสหภาพลูกจ้างน้อยมาแต่ไหนแต่ไร
1
โดยปรกติมักจะให้ความสำคัญกับกลุ่มของนายจ้างและนายทุน มากกว่า
ไทยเราปรับค่าแรงขั้นต่ำครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ แล้วค่าแรงในปัจจุบันเพียงพอกับการดำรงชีวิตหรือเปล่า
ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนหลายๆบริษัทเติบโตขึ้นทุกปีๆ
เงินเดือนและสวัสดิการของบริษัทเหล่านั้นกลับเติบโตขึ้นช้ามาก หรือบางแห่งอาจจะไม่เติบโตขึ้นเลย
สินค้าบริโภค อาหาร ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซหุงต้ม ภาษี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกปี
ดังนั้นโดยส่วนตัวของหมูน้อยคิดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้อาจจะเป็นโอกาสในวิกฤติ
และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สหภาพแรงงานของทางประเทศไทยเราได้รับสิทธิที่พึงมีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
1
อันนี้คือมองในแง่ดีนะครับ
เอาเข้าจริง ถ้าไทยเราเป็นส้ม สิ่งที่อเมริกากำลังทำก็คือการคั้นน้ำส้มออกมาให้ได้มากที่สุดครับ เพราะหมูน้อยเชื่อได้เลยว่าการจะได้รับสิทธิ์ GSP คืนมาต้องแลกกับอะไรบางอย่างซึ่งเป็นผลประโยชน์กับทางนั้นแน่นอน
หากบทความของหมูน้อยเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่าน
ช่วยกดติดตามและกดถูกใจเพื่อเป็นกำลังใจให้หมูน้อยด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
reference
โฆษณา