Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
28 ต.ค. 2019 เวลา 08:20 • การศึกษา
อะไร ใหญ่ที่สุด-เล็กที่สุด ในจักรวาล ?
วันนี้เราลองมาจัดอันดับกันดูสักหน่อยดีกว่าครับ
😄😄😄
หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมุกตลก สุดคลาสสิค อย่างปลาวาฬชุบแป้งทอด กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
ถ้าวันนี้ผมจะถามในทำนองนั้นดูบ้าง ทุกคนจะคิดยังไงครับ 😆😆😆
ผมว่ามันคือ คำถามที่ดีคำถามหนึ่งเลย เพื่อที่จะหาคำตอบว่า อะไรใหญ่ที่สุด หรือว่าเล็กที่สุดในจักรวาล
🔹อันดับแรก ผมอยากจะถามกับทุกคนว่า อะไรใหญ่กว่า โลก ?
🔸คำตอบคือ ⏫ระบบสุริยะ ของเรา ที่เกิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน
2
🔹อะไรใหญ่กว่าระบบสุริยะจักรวาล ?
🔸คำตอบคือ ⏫กาแล็คซี่ทางช้างเผือก ที่เกิดขึ้นเมื่อ 13.6 พันล้านปีก่อน
🔹อะไรใหญ่กว่ากาแล็คซี่ทางช้างเผือก ?
🔸คำตอบคือ ⏫เอกภพของเรา ที่เกิดขึ้นเมื่อ 13.7 พันล้านปีก่อน ด้วยการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่อย่าง Big bang
และนี่ก็เป็นสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ที่เราพอจะจินตนาการกันออกในปัจจุบัน
สิ่งที่ใหญ่กว่าเอกภพ จะมีไหม นั้นเป็นเรื่องที่เรายังไม่สามารถตอบได้ในปัจจุบัน แต่อนาคตก็ยังไม่แน่นะครับ 😆😆😆
คราวนี้เราลองมาดูอะไรที่มันเล็กที่สุดกันบ้างดีกว่าครับ
โดยเราจะเริ่มที่ อะตอม ที่ ดอลตั้นค้นพับเมื่อ ราวๆ พ.ศ.2346
🔹อะไรเล็กกว่าอะตอม ?
🔸คำตอบคือ ⏬อนุภาคที่รวมตัวกันเป็น อะตอมอย่า โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน
ซึ่งเราสามารถเรียงลำดับขนาดจากเล็กไปใหญ่ได้ คือ อิเล็กตรอน▶️โปรตอน▶️นิวตรอน ตามลำดับ
🔹อะไรเล็กกว่า อิเล็กตรอน ?
🔸คำตอบคือ ⏬อนุภาคมูลฐานต่างๆ รวมไปถึงควาร์ก ที่ก่อให้เกิดเป็น โปรตรอน และนิวตรอน
แต่อนุภาคมูลฐานที่เล็กที่สุดนั้นคือ Higgs bosons หรือที่เรียกกันว่า อนุภาคของพระเจ้า
ซึ่ง Higgs bosons นั้นคือต้นกำเนิดของทุกๆอนุภาคในปัจจุบัน
🔹อะไรเล็กกว่า อนุภาคมูลฐาน higgs ?
🔸คำตอบคือ ⏬string คือวัตถุ 1 มิติ ตามทฤษฎี String Theory ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกๆ สรรพสิ่ง
และเป็นต้นกำเนิดของ มิติต่างๆ ทั้ง 11 มิติอีกด้วย
ส่วนจะมีอะไรเล็กกว่า String อีกไหม ?
ถ้าเราลองมองลึกลงไปในมิติของ ควอนตัม ที่เรายังไม่สามารถคาดเดาอะไรได้
ก็จะยังมีสิ่งเล็กที่เรายังไม่รู้จักและรอการพิสูจน์อยู่อย่างแน่นอนครับ 😆😆
1
จากคำถามว่า อะไรใหญ่กว่าอะไร หรืออะไรเล็กกว่าอ่ะไร ถ้าเราลองถามกันแบบจริงๆจังๆ มันก็ดูที่จะมีสาระมากเลยใช่ไหมล่ะครับ
สุดท้ายนี้อย่าลืมมาคอมเม้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่ช่องคอมเม้นด้านล่าง
และร่วม กดว้าว เพื่อบอกเราว่าอ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆😆
Reference :
🔸http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/lesa212/2/solar_system_birth/solar_system_birth/solar_system_birth.html
🔸https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/63600/-blo-sciear-sci-
🔸https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7121-atomic-model
🔸https://www.thaiphysicsteacher.com/whats-quark/
🔸https://jusci.net/node/2668
🔸https://jusci.net/node/1221
วิทย์นิดนิดเรียบเรียง 28/10/2562
☀️บทความนี้คือบทความที่ตั้งเวลาล่วงหน้า ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านและติชิมล่วงหน้านะครับ
20 บันทึก
80
14
16
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
space sci
20
80
14
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย