29 ต.ค. 2019 เวลา 13:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มอเตอร์ชนิดใหม่สำหรับใช้ในหุ่นยนต์ทางการแพทย์
เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) หรือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่อง MRI ได้ที่ : https://med.mahidol.ac.th/aimc/th/content/09122017-1414-th
แต่ในการตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะบางแห่ง เช่น ต่อมลูกหมาก เป็นต้น ก็อาจจะใช้เครื่อง MRI ตรวจหาไม่เจอ ดังนั้นจึงอาจมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยด้วย โดยหุ่นยนต์ประเภทนี้จะอยู่ภายในเครื่อง MRI
ด้วยเหตุนี้ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins จึงได้ทำการวิจัยเพื่อสร้างมอเตอร์ชนิดใหม่ มีชื่อเรียกว่า "PneuStep" สำหรับใช้ในหุ่นยนต์ดังกล่าว
มอเตอร์ชนิดนี้ทำมาจากพลาสติก, เซรามิกส์, และยาง ซึ่งขับเคลื่อนโดยใช้แสงและอากาศ
เนื่องจากหุ่นยนต์เหล่านี้จะต้องเข้าไปอยู่ภายในเครื่อง MRI ด้วย ทำให้มอเตอร์ชนิดนี้จะต้องไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เพราะเหล็กอาจจะไปรบกวนสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นภายในเครื่อง MRI
ในส่วนของการขับเคลื่อนหุ่นยนต์จะใช้มอเตอร์ชนิดนี้ 6 ตัว ภายในมอเตอร์แต่ละตัวจะมีลูกสูบอยู่ 3 อันที่ต่อเข้ากับชุดเกียร์ ซึ่งการเปลี่ยนเกียร์สามารถทำได้โดยอาศัยหลักการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ
อีกทั้งยังมีการต่อ Fiber optic เข้ากับมอเตอร์เพื่อเอาไว้ใช้รับ-ส่งข้อมูลการบังคับมอเตอร์จากคอมพิวเตอร์ได้แบบ real time โดยสามารถบังคับตำแหน่งของการเคลื่อนที่ได้ถึงระดับ 50 ไมโครเมตร ซึ่งเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ได้อย่างถูกต้อง
Dr. Dan Stoianovici หัวหน้าห้องแลบทางหุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins กล่าวว่า "การตรวจหาเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมลูกหมาก ยังคงตรวจหาได้ยาก เนื่องจากเครื่องมือในปัจจุบันยังไม่สามารถตรวจหาเนื้องอกบนอวัยวะเหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ เราจึงได้พัฒนาหุ่นยนต์และมอเตอร์ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจหาตำแหน่งของเนื้องอกในอวัยวะต่างๆได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และนำตัวอย่างของเนื้อเยื่อที่อาจจะเป็นเนื้องอกมาตรวจสอบโดยละเอียด"
"มะเร็งต่อมลูกหมากนั้นตรวจสอบได้ยาก หากใช้เพียงแค่เครื่อง MRI เพราะหากเป็นมะเร็งในระยะแรกๆ เนื้อเยื่อตรงส่วนที่เป็นมะเร็งจะมีขนาดเล็กมาก"
คุณ Li-Ming Su อาจารย์ประจำ Brady Urological Institute at Hopkins กล่าวว่า "หุ่นยนต์รูปแบบใหม่นี้ ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมตัวอย่างของการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง"
References :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา