Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
28 ต.ค. 2019 เวลา 12:19 • ความคิดเห็น
เนื้อจากพืช ต่างจากโปรตีนเกษตรอย่างไร??
ช่วงนี้กระแสเนื้อเทียมจากพืช (Plant-Based Meat) กำลังมาแรง เร็วๆนี้ทางเชนร้านอาหารชื่อดังอย่าง Sizzler ก็ได้บรรจุอาหารที่ทำจากเนื้อจากพืชเอาไว้ในเมนู
1
Impossible Burger Cr. National Geographic
ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่คนไทยต้องติดตาม เพราะอย่างที่ทราบว่าบ้านเมืองเราก็ประเทศกสิกรรม ในมุมหนึ่งเนื้อจากพืชอาจเป็นวิกฤตของผู้เลี้ยงสัตว์ แต่อีกมุมหนึ่งก็อาจเป็นโอกาสใหม่ๆ ก็ได้
แอดมินเลยขออาสา พาไปทำความรู้จักที่มาที่ไปของเนื้อจากพืชกันให้มากขึ้น นอกจากนี้เราลองไปเทียบดูกับโปรตีนเกษตรที่เราคุ้นเคยกันดี ว่าเหมือนหรือต่างกับ เนื้อจากพืชยังไง!
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
1) ทำไมโลกถึงสนใจเนื้อจากพืช?
จริงๆแล้วกระแสความสนใจเรื่องเนื้อจากพืชนั้น อยู่ในเทรนด์ใหญ่คือเรื่อง “โปรตีนทางเลือก” โดยกระแสเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 โดยมีปัจจัยหลักก็คือ การตื่นตัวของผู้บริโภคเรื่องปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะจากการทานอาหาร ซึ่งเป็นเทรนด์ใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
เทรนด์ Vegan มาแรงมาก Cr.Mckinsey
นอกจากนี้ยังมีเรื่องประชากรโลกล้นโลกที่ทาง FAO ทำนายว่าประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9.7 พันล้านคน ในปี 2050 ซึ่งก็จะส่งผลโดยตรงต่อความต้องการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ซึ่งก็มีกลุ่มรณรงค์ต่อต้านการทารุณกรรมสัตว์
และตัวเลขที่น่าสนใจก็คือ การเลี้ยงวัว 1 ตัว จะปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก เฉลี่ยประมาณ 100 กิโลกรัมต่อปี ซึ่ง หรือเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2,500 กิโลกรัมต่อปี หรือเทียบเท่าการเผาน้ำมัน 1,000 ลิตรต่อปี โดยในภาพรวม ทาง FAO รายงานว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรมีสัดส่วนถึง 18% โดยส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงสัตว์
2) แล้วเนื้อจากพืช ต่างกับโปรตีนเกษตรตรงไหน?
ก่อนอื่น เราต้องเริ่มจาก “โปรตีนเกษตร” หรือ “หมี่กึง” ที่คนไทยคุ้นเคยกันช่วงเทศกาลกินเจ โดยโปรตีนเกษตรที่เราทานกันอยู่ถูกคิดค้น โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มวางขายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 โดยโปรตีนเกษตร ทำมาจากแป้งถั่วเหลืองที่ผ่านการสกัดไขมันออกไป (defatted soy flour) ซึ่งก็มีโปรตีนสูงเกือบ 50% โดยมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะ ไลซีน นอกจากนี้ยังให้ คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ และไขมันเล็กน้อย
โปรตีนเกษตร Cr.Sistacafe
แต่ปัญหาของโปรตีนเกษตรก็อย่างที่เราทราบคือ รสชาติมัน “ไม่ใช่” คือ มันไม่ได้ใกล้เคียงกับเนื้อจริงๆเลย ทานยังไงก็แป้งชัดๆ ดังนั้น บางคนที่ทานเจ ก็อาจหลีกเลี่ยงพวกของมันๆและโปรตีนเกษตร ไปเน้นทานผักและเต้าหู้แทน ยังอร่อยกว่า
ทีนี้เรามาลองดูเนื้อเทียมจากพืชกัน โดยวัตถุดิบหลักก็ยังเป็น โปรตีนจากถั่วเหลืองหรือไม่ก็ถั่วชนิดอื่นๆ อาจมีการผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำ และสารปรุงแต่งรสธรรมชาติ แต่ในเนื้อเทียมจากพืชนั้น มีองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ ที่ทำให้เวลาที่เราเอาเนื้อเทียมจากพืช ไปย่าง แล้วเกิดเสียงซ่าและมีน้ำไหลออกมาเหมือนเลือด วัตถุดิบปริศนานั้นมีชื่อว่า “ฮีม” (Heme)
Heme Cr.Impossible foods
โดย ฮีม สารประกอบเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ที่พบได้ในรากของพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพอเราเอานำเนื้อเทียมไปทอดจะมีน้ำสีแดงไหลออกมาเหมือนเลือด แต่ที่น่าทึ่ง ก็คือ เวลาเคี้ยวจะให้รสสัมผัสชุ่มฉ่ำเหมือนเนื้อสัตว์จริง
Impossible Burger Cr. CNET
3) โอกาสทางการตลาดมหาศาล
บริษัทสตาร์ทอัพที่โด่งดังเป็นพลุแตก ด้วยเทคโนโลยีการผลิตเนื้อจากพืช มีอยู่สองบริษัทก็คือ บียอนด์มีท (Beyond Meat) และ อิมพอสซิเบิ้ล ฟู้ดส์ (Impossible Food)
ทางบียอนด์มีท มีการเปิดเผยข้อมูลว่า มูลค่าตลาดเนื้อ ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2017 อยู่ที่ 270 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีประมาณการเนื้อเทียมจากพืช สูงถึง 35 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 13% ของมูลค่าทั้งหมด
บียอนด์มีท (Beyond Meat) บริษัทสตาร์อัพสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งปี 2009 ปัจจุบันร่วมมือกับร้านอาหารชั้นนำมากมาย เช่น KFC, McDonald, Subway, Dunkin’ Donut ในสหรัฐอเมริกา รวมไปถึง Sizzler ในไทยด้วย
Cr. Sizzler Beyond meat
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมียอดขายเพียง 67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ก็เติบโต เทียบปีต่อปี ถึง 287% และเติบโต 68% เทียบไตรมาสที่ 1 โดยสินค้าก็มีอัตราการทำกำไรขั้นต้น อยู่ที่ 30% ขึ้น ถือว่าไม่เลวเลย
ที่สำคัญบริษัท บียอนด์มีท (Beyond Meat) เพิ่งระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยหลังจากเปิดซื้อขาย ราคาหุ้นก็พุ่งเกือบ 10 เท่า จาก 25 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ไปที่ 240 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น
ล่าสุดราคาหุ้นก็ย่อตัวลงมา อยู่แถวๆ 100 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น แต่บริษัท ก็ยังมีมูลค่าตลาดสูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF เลยทีเดียว!
อีกบริษัทหนึ่งก็คือ อิมพอสซิเบิ้ล ฟู้ดส์ (Impossible Food) ก่อตั้งปี ค.ศ.2011 เป็นบริษัทอเมริกันเช่นกัน โดยทางบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ อิมพอสซิเบิ้ล เบอร์เกอร์ (Impossible Burger) ในปี ค.ศ. 2016 และจับมือเป็นพันธมิตรกับ “เบอร์เกอร์คิง” และหลังจากทดลองขาย “อิมพอสซิเบิล วอปเปอร์ ได้ผลดี จึงประกาศขายเมนูเบอร์เกอร์จากเนื้อเทียมให้ครบทั้ง 7,300 สาขาทั่วสหรัฐภายในสิ้นปีนี้
ทั้งนี้ บริษัทอิมพอสซิเบิ้ล ฟู้ดส์ ระดมทุนจากนักลงทุนไปแล้วกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีมูลค่าตลาดกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีบุคคลชั้นนำร่วมลงทุนด้วยอย่าง Bill Gates, Serena Williams, Jay-Z, และ Katy Perry
Katy Perry@Impossible Burger Cr. PRweek
อย่างไรก็ตามล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอาหารของโลกอย่าง เนสท์เล่ ก็กระโดดเข้าร่วมวง โดยเริ่มขาย “อินเครดิเบิล เบอร์เกอร์” เบอร์เกอร์เนื้อเทียมในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในยุโรปแล้ว
4) ไม่ได้มีแค่เนื้อเทียมจากพืช
อย่างที่เล่าไปตอนต้นว่า โลกเราก็ยังต้องการอาหารรองรับคน 9.7 พันล้านคน ซึ่งนอกจากโปรตีนจากเนื้อเทียมจากพืชแล้ว ยังมีโปรตีนทางเลือกอีกหลายอย่าง เช่น โปรตีนจากแมลง โดยเฉพาะ ตั๊กแตน, มัยคอโปรตีน (mycoprotein) หรือโปรตีนที่ได้จากเชื้อรา, รวมไปถึงเนื้อเทียมที่ปลูกในห้องแลบด้วย (Cultured Meat)
สำหรับดาวรุ่งพุ่งแรงก็คือ เนื้อเทียมที่ปลูกในห้องแลบ (Cultured Meat) ถึงแม้ปัจจุบันจะมีราคาสูง กิโลกรัมละเกือบ 400 บาท แต่ก็มีแนวโน้มที่จะราคาถูกลงระดับ 150-300 บาท ต่อ กิโลกรัมในปีหน้านี้ โดยปัจจุบันราคาเนื้อเทียมจากพืช (Plant-based meat) อยู่ที่ประมาณ 150-200 บาทต่อกิโลกรัม
ไม่ต้องเลี้ยงหมู แต่ปลูกแทน Cr.Quartz
5) แล้วคนไทยหล่ะ ทำอะไรกันอยู่?
1
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น ตอนนี้ร้านอาหารต่างๆในไทยก็เริ่มนำเมนูเนื้อจากพืช เข้ามาให้บริการกันแล้ว ทั้ง Sizzler หรือตามร้านอาหารในโรงแรมชั้นนำ ส่วนในแง่การผลิตผู้ผลิตรายใหญ่อย่างทางซีพี เค้าก็ไม่ได้อยู่นิ่งนะ มีการพัฒนาเรื่องเนื้อจากพืชอยู่เหมือนกัน โดยทำงานร่วมกับพันธมิตร 2 - 3 รายในต่างประเทศ อาทิ บียอนด์มีท และ อินสไปร์ ฟู้ด
Sausage roll beyond meat 450 bath per piece @ Anantara
ที่แอดมินอยากให้จับตาดูก็คือ ลูกค้าชาวอินเดีย เพราะต้องบอกว่าชาวอินเดียส่วนใหญ่ทานมังสวิรัติ (Vegan) ดังนั้น เมนูเนื้อจากพืช ก็เรียกได้ว่าถูกจริตลูกค้าชาวอินเดียมากๆ
1
ยกตัวอย่างที่ประเทศอินเดียเอง ก็มีบริษัทสตาร์ทอัพ ชื่อ “Good Dot” เปิดให้บริการขายเนื้อจากพืช ในรูปแบบ Food Truck
Cr. Livekindly.co
หรืออีกตัวอย่าง คือ KFC ที่จับมือกับ Beyond Meat ทดลองให้บริการ Beyond Fried Chicken ไก่ทอดที่ทำมาจากเนื้อจากพืช เริ่มที่เมืองแอตแลนตา (Atlanta) สหรัฐอเมริกา ดูรูปแล้วน่าทานทีเดียว
Cr. KFC
สักพักต้องเห็นผลิตภัณฑ์แบบนี้ในไทยมากขึ้นแน่ๆเลย สำหรับผู้ประกอบการอย่ารอช้า รีบศึกษาข้อมูล แล้วปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้...!
ที่มา
Mckinsey report: Alternative proteins: The race for market share is on
Beyond meat investors presentation Sep 2019
https://www.komchadluek.net/news/foreign/375682
https://ahead.asia/2019/07/23/plant-based-meat-hype/
https://www.washingtonpost.com/business/2019/10/23/an-impossible-burger-dissected/
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/63040/-knowledge-womhea-wom-fooveg-foocui-foo-
https://www.onegreenplanet.org/vegan-food/good-dot-launches-plant-based-meal-trucks-india/
https://economictimes.indiatimes.com/small-biz/startups/features/this-udaipur-based-startup-wants-you-to-switch-to-plant-based-meat/articleshow/66569811.cms?from=mdr
https://www.forbes.com/sites/soniathompson/2019/08/31/2-lessons-in-inclusive-marketing-from-kfc-and-burger-kings-popular-launches-of-plant-based-meat/#7afcd3562822
https://timeforchange.org/are-cows-cause-of-global-warming-meat-methane-co2/
https://news.crunchbase.com/news/investors-serve-impossible-foods-300m-in-funding/
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กด ติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
zupports.co
Zupports
เราช่วยเป็นตัวกลางให้คุณเข้าถึง ผู้ให้บริการนำเข้า-ส่งออก มืออาชีพโดยการเปรียบเทียบราคาและบริการ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด
และสำหรับผู้นำเข้าส่งออก เชิญเข้าร่วมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หาช่องทางนำเข้าส่งออก และข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าส่งออก ได้ที่
http://bit.ly/2OYDbxL
110 บันทึก
232
40
181
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Technology Disruption!
110
232
40
181
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย