-
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง พบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้หญิงวัยสาว และผู้สูงอายุ ทั้งนี้พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4-5 เท่า โดยกรวยไตอักเสบ เป็นการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือ อาจเรียกว่าเป็นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตอนบนก็ได้ ซึ่งการอักเสบนี้อาจพบได้ทั้งการอักเสบเฉียบพลัน(ค่อนข้างรุนแรง) ซึ่งหากได้รับการรักษาก็จะหายได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ และ การอักเสบแบบเรื้อรัง คือ การอักเสบไม่รุนแรง แต่เป็นๆหายๆ แบบเรื้อรัง ก็ได้
-
> สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย คือ
- เกิดการอักเสบต่อเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักพบเป็นสาเหตุในผู้หญิง หรือ ในผู้ป่วยที่ต้องนอนนานๆ และ/หรือต้องใช้สายสวนปัสสาวะ เช่น โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต หรือ เมื่อได้รับการรักษาโรคต่างๆด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องนอนโรงพยาบาลนาน และ/หรือมีการใส่สายสวนปัสสาวะ
- เกิดการอักเสบจาก มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ซึ่งส่งผลให้ปัสสาวะแช่อยู่ในทางเดินปัสสาวะนานเกินปกติ จึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น นิ่วในไต หรือทางเดินปัสสาวะตีบแคบในผู้ชายจากต่อมลูกหมากโต หรือ การกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือ การดื่มน้ำน้อย
- เกิดจากการติดเชื้อทางกระแสโลหิตของอวัยวะอื่นๆ แล้วลุกลามมาที่กรวยไต
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์
- เกิดการอักเสบจาก การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
- หญิงตั้งครรภ์ เพราะตัวครรภ์อาจกดเบียดทับท่อไต และ/หรือกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้น หรือจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จึงเป็นสาเหตุให้กรวยไตอักเสบได้ง่าย
- หรือ อาจเกิดจากพันธุกรรม
-
> หากมีภาวะกรวยไตอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อการรักษา โดยแนวทางการรักษาอาจมีดังนี้
- การให้ยาปฏิชีวนะ โดยการแนะนำของแพทย์
- นอกจากนั้น คือ การรักษาที่ต้นเหตุของโรค เช่น รักษาโรคต่อมลูกหมากโต เมื่อมีสาเหตุจากต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
-
> การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป
- ควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ
- กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ควรหยุดยาเองโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ต้องกินให้หมดตามแพทย์แนะนำ การหยุดยาเองก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา จนกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง อาจถึงขั้นเกิดโรคไตเรื้อรังได้
- ดื่มน้ำสะอาดให้ได้มากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว (เว้นแต่ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจล้มเหลว หรือ โรคไตวาย ที่อาจต้องจำกัดการดื่มน้ำ)
- ไม่กลั้นปัสสาวะนาน
- ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ เช่น การทำความสะอาดหลังการขับถ่าย(เพศหญิง) ควรทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง รวมทั้ง มีการป้องกันที่ดีจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
-
-
> การดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ ที่ไม่ใช่การป้องกัน หรือ รักษาโรค (เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค)
-
- ควรกินอาหารให้ครบหมู่ อาทิ โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต(เชิงซ้อน), ไขมัน(ที่ดี), วิตามินรวม และ เกลือแร่ต่างๆ