Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสมองประจำบ้าน
•
ติดตาม
31 ต.ค. 2019 เวลา 05:28 • สุขภาพ
ประสบการณ์โดนส่องกล้องกระเพาะอาหาร
"โรคกระเพาะ" อีกหนึ่งโรคฮิต ไม่แพ้ไมเกรน
ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่ง ที่เป็นโรคนี้
จนอาการหนักถึงจุดให้ต้องโดน"ส่องกล้อง"
วันนี้จึงอยากเล่าประสบการณ์
และข้อคิดให้ฟังค่ะ
ข้าพเจ้าเป็น "แฟนคลับ" โรคกระเพาะมาตั้งแต่มัธยมปลาย
เคยเข้าห้องฉุกเฉินฉีดยาแก้ปวด
จนต้องติดยาลดกรดในกระเป๋าเสมอ
แต่อาการมากขึ้นในช่วง 3 เดือนก่อน
ข้าพเจ้าเริ่มมีอาการอืด ไม่ย่อย หลังทานอาหาร
เริ่มจาก ครึ่งจาน อืด เป็น 2 คำ ก็อืด
ขณะกลืนมีจุกแน่นตรงลิ้นปี่
วินิจฉัยตัวเองเป็นกรดไหลย้อน (GERD)
และรักษาตัวเอง โดยทานยาลดกรดที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จาก Omeprazole เป็น Lanzoprazole เป็น Esomeprazole แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น
จนวันหนึ่ง หลังทานข้าวเช้า
ข้าพเจ้าก็อาเจียนออกมาหมด
แม้แต่ทานน้ำลงไปก็อาเจียน
เป็นเหตุให้ได้รับเข้านอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลือ
เจาะเลือด เพื่อเตรียม "ส่องกล้อง" หรือชื่อจริง คือ Esophago-gastro-duodeno-scope:EGD
ช่วงแห่งการหยุดพักคิดทบทวน
...ขณะนอนมองเพดานห้องผ่าตัด
เพื่อเตรียมเข้าห้องส่องกล้องนั้น...
ข้าพเจ้าคิดไปต่างๆ นาๆ
หากผลออกมาเจอมะเร็งจะทำยังไง
แล้ววูบหนึ่งของความคิดก็ผ่านเข้ามา
ให้รู้สึกโล่งสบายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
เหมือนหัวหอมที่โดนลอกเปลือก
..เมื่อคิดถึงความตาย
สิ่งที่เคยยึดมั่นสำคัญหนักหนา
ก็กลายเป็นว่างเปล่าเบาบาง..
ในห้องส่องกล้อง คุณหมอวิสัญญี ให้ยาชาอมกลั้วคอก่อน เพื่อจะได้ไม่ระคายตอนใส่ท่อผ่านลำคอ ก่อนจะฉีดยาสลบ..
ข้าพเจ้าตื่นขึ้นมาอีกทีในห้องพักฟื้น
ตอนแรกนึกว่ายังไม่ได้ทำ
เพราะไม่รู้สึกเจ็บคอหรือปวดท้องอะไรเลย
กลับมาที่ห้องผู้ป่วย
คุณพ่อของข้าพเจ้าที่เข้าไปสังเกตการณ์ เอาภาพมาให้ดู ว่าเจอติ่งเนื้อที่ผนังกระเพาะ ซึ่งคุณหมอที่ส่องกล้องตัดส่งตรวจชิ้นเนื้อ เรียบร้อย
คุณแม่ "บด"โจ๊ก
แล้วมานั่งลุ้นว่าข้าพเจ้าจะกินได้ไหม
ณ เวลานั้น ข้าพเจ้ารู้สึกตัวเองเป็นคน "โชคดี"..
ไม่ว่าผลชิ้นเนื้อจะออกมาเป็นอย่างไร
ภาพที่คุณพ่อถ่ายตอนส่องกล้อง
ผ่านไป 1 สัปดาห์ ผลชิ้นเนื้อก็ออก..
ติ่งชิ้นเนื้อ ไม่พบมะเร็ง แต่เป็นติ่งเนื้อไม่อันตรายที่เกิดจากทานยาลดกรดมากเกินไป เรียกว่า "gastric fundic gland polype"(1)
ไม่มีแผล มีแต่รอยอักเสบเรื้อรังเล็กน้อย
แต่...พบเชื้อแบคทีเรียจอมแสบ H.pylori
สรุป อาการที่ดูหนักเกินพยาธิสภาพ เกิดจากกระเพาะ 'ไว' ต่อการกระตุ้นมากเกินไป เรียกว่า
โรคกระเพาะแปรปรวน-"Functional dyspepsia"
ข้าพเจ้าได้ยามาทานต่อสองสัปดาห์ คือ
- ยาฆ่าเชื้อ Amoxycillin กับ Clarithromycin (เกลียดยานี้-ขมคอมาก😂) เพื่อกำจัด H.ptlori
- ยาเพิ่มการเคลื่อนตัวทางเดินอาหาร Itopride
- ยาลดกรด omeprazple
🧠 เกร็ดเรื่อง Functional dyspepsia..
โรคแห่ง brain-gut axis
🌻 เป็นสาเหตุไม่สบายท้อง (Dyspepsia) ที่เจอบ่อยที่สุด เปรียบเสมือน 'ไมเกรน' แห่งทางเดินอาหาร.. คือใน 5 คน เจอ 1 คน (20%)
สองภาวะนี้พบร่วมกันบ่อย
🌻 อีกชื่อคือ 'nervous stomach' คือ ความเครียดจากสมอง ร่วมกับการอักเสบเล็กน้อยๆ จากเชื้อ H.pylori ส่งผลให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมกระเพาะแปรปรวน
ภาพจาก 3
🌻 อาการแสบร้อนท้อง กลืนเจ็บ เกิดผิวกระเพาะมีความไวต่อปวดมากขึ้น (เพิ่ม sensitivity)
🌻 อาการอืดไม่ย่อย อิ่มเร็ว เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะหดและไม่ขยับ (ลด accommodation)
🌻 ยิ่งปล่อยให้กระเพาะแปรปรวน ก็ยิ่งส่ง
สัญญานให้สมองตีความผิด เกิดเป็นวงจรอุบาทว์ทำให้กระเพาะแปรปรวนหนักขึ้น
🌻 การใช้ยา ลดกรด, ยาช่วยขยับทางเดินอาหาร ยาฆ่าเชื้อ H pylori เป็นการลดปัจจัยกระตุ้นฝั่งกระเพาะ
🌻 การศึกษา functional MRI ก็พบความผิดปกติของสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความปวด (4) บางคนจึงตอบสนองต่อการใช้ยาต้านซึมเศร้า และ mind body therapy
🌻 อย่างไรก็ตาม การปรับวิถีการใช้ชีวิต เรียนรู้การจัดการความเครียด เป็นการรักษาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง..จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าวค่ะ🙂
❤ ขอขอบคุณกัลยาณมิตรที่เป็นห่วงค่ะ❤ เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อ สี่เดือนที่แล้ว ตอนนี้ดีขึ้นจนกลับมากินข้าวเหนียวหมูปิ้งได้ และไม่มีอาการกระเพาะอีกเลย หลังจากหันมาออกกำลังกาย ลดเสพข่าวดราม่า และฝึกสติค่ะ 🙏😎
ภาพจาก 5
Reference
1.
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17797-stomach-polyps
2.
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/apt.15191
3.
https://gut.bmj.com/content/47/suppl_4/iv78
4.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3684590/
5.
https://www.nature.com/articles/nrgastro.2012.246
23 บันทึก
126
107
45
23
126
107
45
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย