Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
What If
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2019 เวลา 09:30 • การศึกษา
ถ้าเราตกจากเครื่องบิน จะเกิดอะไรขึ้น?
ในหนึ่งวัน มีเครื่องบินเดินทางอยู่บนท้องฟ้าประมาณ 100,000 ลำ
ตามสถิติแล้ว ในทุกๆการบิน 5,000,000 เที่ยว จะมีเครื่องบินประสบอุบัติเหตุ 1 ลำ
ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้น เพราะโอกาสที่ผู้โดยสารจะรอดชีวิตนั้น มีน้อยมาก
แต่ไม่น่าเชื่อว่า มีการเก็บข้อมูลว่า ใน 80 ปีที่ผ่านมา มีกรณีที่คนร่วงตกลงมาจากเครื่องบิน แต่รอดชีวิตถึง 50 ราย
ถ้าสมมติว่า เราเกิดตกจากเครื่องบินจริงๆ
มันจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง
และทำอย่างไรเราถึงมีโอกาสรอด?
โดยปกติ เครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์ จะบินอยู่ที่ระดับความสูงกว่าพื้นดิน 30,000 ฟุต หรือ 9,000 เมตร
หากเกิดเหตุที่ทำให้หลุดออกจากตัวเครื่องบิน
เราจะร่วงลงสู่พื้นโลกแบบ “Free Fall”
นั่นคือการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งแบบเสรีตามแรงโน้มถ่วงของโลก
โดยมีอัตราเร่งความเร็วที่ 9.8 เมตรต่อวินาที
(อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และท่าทาง เช่น ถ้ากางแขนขา ก็จะร่วงช้าลง)
ซึ่งตามทฤษฎี มันจะใช้เวลาราว 170 วินาที ก่อนที่เราจะตกถึงพื้นแผ่นดิน
ผ่านไป 1 วินาที หลังตกเครื่อง..
ร่างกายของเราต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่หนาวเย็น จนถึงขั้นเกิดอาการช็อคได้
เพราะทุกๆความสูง 1,000 เมตร จากพื้นดิน 1,000 อุณหภูมิจะลดลง 6.5 องศาเซลเซียส
ดังนั้น ที่ความสูง 9,000 เมตร อากาศจะหนาวติดลบ 40-60 องศาเซลเซียส
Cr. scied.ucar.edu
แต่ถ้าบังเอิญว่าเราใส่เสื้อผ้าหนาหลายชั้น และอดทนไปได้สักระยะ อากาศก็จะค่อยๆอุ่นขึ้น
อย่างไรก็ตาม เราอาจจะไม่ได้เผชิญกับความรู้สึกดังกล่าว เพราะในไม่นาน เราจะหมดสติ
อากาศที่เราหายใจบนภาคพื้นดิน มีออกซิเจนอยู่ 20%
แต่ในที่สูง อากาศจะยิ่งเบาบาง ทำให้ร่างกายเราทำงานผิดปกติจากการขาดออกซิเจน
และกว่าจะรู้ตัว เราก็ใกล้จะถึงพื้น
ผ่านไป 60 วินาที หลังตกเครื่อง..
เมื่อร่วงลงมาเรื่อยๆ สภาพอากาศจะเริ่มดีขึ้น จนทำให้เราค่อยๆฟื้นตัวขึ้นมา
พอมาถึงตอนนี้ ความเร็วในการตกของเราจะเริ่มคงที่ที่ 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 53 เมตรต่อวินาที
ซึ่งเรียกว่าจุด Terminal Velocity
Free Fall & Terminal Velocity - Cr. Science World
เนื่องจากอากาศที่อยู่ใต้ตัวเรา ไม่สามารถถ่ายเทไปข้างบนได้เร็วเท่ากับความเร็วที่เราตกลงมา ทำให้เกิดเป็นสูญญากาศ และอัตราการเร่งจะเหลือเป็นศูนย์
ทำให้นี่คือจังหวะดี ที่เราจะตั้งสติ และคิดหาทางออก เพราะยังมีเวลาอีกราว 100 วินาที ก่อนจะถึงพื้น
มันจะดีมาก ถ้าก่อนตกลงมา เราสามารถคว้าอะไรมาเป็นสิ่งรับกระแทกพื้นให้ได้
แต่ในเสี้ยววินาที คงยากที่ใครจะหยิบทัน
ดังนั้นโอกาสดีที่สุดคือ การมองหาพื้นที่เหมาะๆในการลงพื้น เช่น หิมะหนา หรือพุ่มไม้ ถ้าเลือกได้
ผ่านไป 170 วินาที ถึงเวลาลงพื้น..
ไม่ว่าเราจะหาพื้นที่ดีๆได้หรือไม่ สิ่งสำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ท่าตอนลงพื้น
นักกระโดดร่ม มีเทคนิคที่เรียกว่า Parachute Landing Fall ซึ่งเป็นการกระจายแรงกระแทกที่ร่างกายได้รับ ไว้ในวงจำกัด
โดยขณะที่เท้าแตะพื้น เราต้องรีบล้มไปด้านข้าง โดยเอาต้นขา, สะโพก และสีข้าง รับแรงทั้งหมดไว้
Parachute Landing Fall - Cr. Wikipedia
แน่นอนว่าวิธีนี้ มันจะทำให้ช่วงล่างของเราเจ็บปวด หรือถึงขั้นพิการ
แต่มันจะช่วยรักษาอวัยวะสำคัญในส่วนบน ไม่ว่าจะเป็นสมอง หรือหัวใจ ที่จำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่
หลังจากนั้นคงต้องอดทน เพื่อรอรับความช่วยเหลือต่อไป เพราะเราได้ทำดีที่สุดแล้ว
ฟังเหตุการณ์นี้แล้ว ดูเหมือนเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
แต่เชื่อหรือไม่ว่า มีคนเคยตกลงมาจากเครื่องบินที่ความสูง 33,000 ฟุต แล้วรอดชีวิต
ในปี 1972 เครื่องบินสายการบิน JAT ของประเทศยูโกสลาเวีย เกิดระเบิด ทำให้แอร์สาวชื่อ เวสนา วูโลวิช (ขณะนั้นอายุ 22 ปี) กระเด็นออกจากตัวเครื่อง
Vesna Vulovic - Cr. All That’s Interesting
ปรากฎว่า เธอโชคดีมากที่ตกลงบริเวณที่มีหิมะหนา
แต่ก็มีอาการโคม่าไปนานหลายเดือน และกระดูกร่างกายช่วงล่างหักไปหลายท่อน
ซึ่งเธอก็ค่อยๆรักษาตัว และกลับมาใช้ชีวิตได้เกือบปกติ จนเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา
แล้วคุณล่ะ คิดว่าถ้าเจอสถานการณ์นี้ขึ้นมาจริงๆ
จะทำอย่างไร?
อ่านบทความเหตุการณ์สมมติต่างๆได้ที่เพจ What If
https://www.blockdit.com/whatif
[Story Sources]
-
https://youtu.be/HsQmtG1fnqc
-
https://www.quora.com/How-many-airplanes-fly-each-day-in-the-world
-
https://www.thesun.co.uk/travel/2535002/plane-crash-survival-rates-year-stay-safe/
-
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Free_fall
-
https://scied.ucar.edu/learning-zone/how-weather-works/change-atmosphere-altitude
-
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Parachute_landing_fall
61 บันทึก
233
42
51
61
233
42
51
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย