30 ต.ค. 2019 เวลา 14:28 • สุขภาพ
มาเปลี่ยนกองยาที่วางสุมกัน ให้เป็นของขวัญกับตู้ยากันเถอะ
และนี่คือสภาพเริ่มต้นของ’กระจาดยา’ที่บ้านเพื่อนของผมคนหนึ่ง
บ้านใครเป็นแบบนี้(หรือใกล้เคียง) ขอเสียงหน่อยเร้ว
นี่แหละที่มาของคำว่าเอายามา ‘กองสุมกัน’
ทั้งของชำร่วยงานศพ (เดี๋ยวนี้เขานิยมให้เป็นยาสามัญประจำบ้านกันหรอ!)
ทั้งยาอมที่เปิดกิน แต่ใช้ไม่หมด
ทั้งยาที่เป็นแผงเปลือย ไม่มีฉลากใดๆ ทั้งสิ้น
ทั้งยาประเภท ‘ยาอันตราย’ ที่ได้จากโรงพยาบาล แล้วกินเหลือ!
ฯลฯ
OMG - -!
เอาล่ะ ได้เวลาแล้ว
งัดอุปกรณ์ที่ผมให้เตรียมไว้ออกมาได้เลย
(ทบทวน)
1. ซองซิป
2. ปากกาหมึกเข้ม
3. กระดาษโพสต์อิท
แต่จะขอเพิ่มอีกหนึ่งอุปกรณ์คือ
4. ปากกาสีไฮไลต์
ซึ่งเราจะนำมาใช้ป้ายกำกับปีที่หมดอายุของยา ดังรูปภาพ
ผมแนะนำให้มีทั้งหมด 5 สี แต่ละสีกำกับแต่ละปี
และแปะไว้หน้าตู้ยาให้ทุกคนในบ้านเข้าใจตรงกัน
อันนี้สำคัญมากที่สุด
เพราะจากประสบการณ์ของผม ในตู้ยาจะพบยาหมดอายุบ่อยมาก เนื่องจากเราไม่ได้ใช้เป็นระยะเวลานาน (ไม่เหมือนในสถานพยาบาล)
สำหรับบทความนี้
ผมจะสอนการเขียนฉลากยา
ซึ่งมีองค์ประกอบอย่างน้อยที่สุด 4 อย่าง (มีมากกว่านี้ได้ แต่ห้ามน้อยกว่านี้)
และถึงแม้เป็นยาเหลือจากโรงพยาบาลที่มีฉลากอยู่แล้ว ผมก็แนะนำให้ทำฉลากซ้ำอีกที
1. ชื่อยา และถ้ามีตัวเลขมิลลิกรัมอะไรก็ลอกมาให้หมด
2. สรรพคุณ ลอกมาจากตัวกล่อง บนแผง หรือฉลากของโรงพยาบาล
3. วิธีใช้ ถ้าลอกมาได้ก็ลอก แต่ถ้ามันยาวเกิ๊น ก็เขียนว่า ‘ดูที่ฉลากด้านใน’
4. วันหมดอายุ ***ต้องมี สำคัญมาก***
ตัวอย่างการทำฉลากยาของตู้ยาประจำบ้าน
หลักการคือ
ยาทุกตัวต้องมีฉลากเป็นของตัวเอง
• ยาตัวไหนหมดอายุ ==> ทิ้งขยะ (จริงๆการทิ้งก็มีกระบวนการที่ละเอียด เดี๋ยวจะเขียนอีกบทนึงเลย)
• ยาตัวไหนฉลากหลุด/ไม่สมประกอบ จนไม่เห็นวันหมดอายุ ==> ทิ้งขยะ
ยาที่แผงไม่สมประกอบจนไม่เห็นวันหมดอายุ
และนี่คือสภาพกระจาดยาหลังผ่านกระบวนการที่ได้บอกไป
ทิ้งไปเกือบครึ่งเลย 555
บทต่อไปจะมาบอกวิธีจัดเรียงยาในตู้นะครับ
แต่ตอนนี้
รออะไรครับ
รีบไปดูยาในตู้/กระเป๋า/กระจาดยาที่บ้านคุณเร้ว
บ้านจะดีขึ้นทันตา เมื่อจัดเก็บยาถูกวิธี
ขอบคุณที่ติดตาม
โฆษณา