15 พ.ย. 2019 เวลา 12:03 • ความคิดเห็น
ชีวิตเรา เรากำหนดเองถ้า...
หากมีใครถามท่านว่าให้เลือกระหว่างอยู่ในสภาพติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไป 10 ปีกับขอหยุดชีวิตเท่านี้..ท่านจะเลือกอะไร..ท่านอาจเบือนหน้า ไม่อยากคิด ไม่อยากเลือก แต่เรื่องของ Vincent Lambert อาจทำให้ท่านหันมาเห็นความสำคัญของเครื่องมือกำหนดชีวิตตนเองที่ชื่อ
" Living will"
ใครควรเป็นเจ้าของชีวิต แม่ หรือ ภรรยา?..ภาพจาก 1
แลมเบิร์ต อดีตบุรุษพยาบาลชาวฝรั่งเศสวัย 31 ปี ประสบอุบัติเหตุรถชนรุนแรง จนไขสันหลังส่วนคอบาดเจ็บอยู่ในสภาพแขนขาขยับไม่ได้..ศรีษะยังได้รับกระทบกระเทือนจนรู้สึกตัว เพียงมองตามคน สิ่งของได้บ้าง ที่เรียกว่า Minimaly concious stage (MCS)
ภาวะนี้ เหมือนกับที่เกิดในอดีตพระเอกไทย คุณอโนเชาว์ ยอดบุตร ที่อยู่ในสภาวะนี้ตั้งแต่อายุ 25 จนเสียชีวิตเมื่ออายุ 60 ปี ด้วยการดูแลของคุณแม่และพี่สาว
แต่กรณี แลมเบิร์ต เกิดความเห็นขัดแย้งระหว่าง พ่อแม่ กับ ภรรยาของเขา ภายหลังคณะแพทย์ลงความเห็นว่าโอกาสที่เขาจะฟื้นมากกว่านี้น้อยมาก
5 ปีหลังเกิดเหตุ ภรรยา ขอร้องให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจของแลมเบิร์ต โดยอ้างถึงคำพูดของเขาก่อนเกิดอุบัติเหตุ..แม้ไม่มีลายลักษณ์อักษร แต่แพทย์ก็ยินยอมทำตาม
ทว่า 2 ชั่วโมงหลังจากเอาเครื่องหายใจออก ศาลฝรั่งเศสก็มีคำสั่งให้แพทย์ใส่เครื่องช่วยหายใจกลับเข้าไปใหม่ ตามคำร้องของฝ่ายพ่อแม่..
พ่อแม่ของแลมเบิร์ต ภาพจาก LedePeche.fr
แลมเบิร์ตและภรรยาในวันแต่งงาน 1 ปีก่อนเกิดอุบัติเหตุ ภาพจาก 2
ผ่านมาอีก 5 ปี แลมเบิร์ตสามารถหายใจได้ด้วยตนเอง แต่ยังรู้สึกตัวเพียงเล็กน้อย ต้องรับอาหารผ่านสายยางทางหน้าท้อง
ภรรยาของเขาได้ขอร้องให้แพทย์หยุดการให้อาหารทางสายยาง โดยไม่ให้เขารู้สึกทรมาน คือให้ยาที่ช่วยให้แลมเบิร์ตหลับติดต่อกันหลายวัน
1
หลังจากการต่อสู้ในศาลระหว่างสมาชิกครอบครัวที่แบ่งเป็นสองฝ่าย แม้แต่ทีมแพทย์ก็แบ่งเป็นสองจ้าง..ในที่สุดคำตัดสินศาลคืออนุญาตให้สามารถยุติการให้อาหาร ด้วยการยอมรับภรรยาของแลมเบิร์ตให้มีฐานะตัวแทนตัดสินใจ (surrogate decision maker) "เพื่อยุติความทรมานของการมีชีวิตแบบนี้"
1
9 วันหลังจากหยุดอาหาร แลมเบิร์ตก็จบชีวิตลง..แต่การต่อสู้ระหว่างสมาชิกครอบครัวและสังคมยังไม่หยุด มีการประท้วงหน้าโรงพยาบาลจนปรากฎเป็นข่าวไปทั่วโลก
การประท้วงคำตัดสินศาลที่ยอมรับการหยุดให้อาหารแก่แลมเบิร์ต ผู้ป่วยติดเตียง 11 ปี ภาพจาก 3.
⭐ เรื่องของแลมเบิร์ตอาจไม่ลุกลามขนาดนี้ หากเขามีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรที่เรียกว่า "living will" ซึ่งระบุความต้องการว่า หากมีแนวโน้มสูงที่จะต้องอยู่ในสภาวะเช่นนี้ไปอีกหลายปี.. เขาต้องการหรือไม่ต้องการ อุปกรณ์ยืดชีวิต
ศ.แสวง เฉลิมบุญวิภาค ใหความกระจ่างเรื่องการทำ living will ในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีกฎหมายรองรับการทำ living will ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2550 มาตรา 12 ซึ่งรายละเอียดสามารถอ่านได้ในอ้างอิง (4) ค่ะ
Living will ไม่จำเป็นต้องมีแบบฟอร์ม เพียงเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงความต้องการ แต่หลักสำคัญคือจุดมุ่งหมายไม่ใช่เพื่อสนับสนุนการุณฆาต- Euthanasia แต่อย่างไร
ภาพจาก (4)
ตัวอย่าง living will ไทย (4)
🍀 เราอาจกำหนดทุกสิ่งในชีวิตไม่ได้
แต่เมื่อมีโอกาสกำหนดได้..ท่านคิดว่าอย่างไร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา