Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าหุ้นให้มันง่าย
•
ติดตาม
2 ธ.ค. 2019 เวลา 13:52 • ธุรกิจ
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงิน ep.5
2
งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่ นักลงทุน ต้องรู้
และถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับ
งบกำไรขาดทุน และงบดุลครับ
1
เล่าหุ้นจะเล่าต่อให้จบในหมวด
การตีความงบการเงิน ซึ่งถือเป็นการจบซีรีส์
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงินครับ
งบกระแสเงินสดที่ใช้ในหลักเกณฑ์สากล
จะเป็นการบันทึกบัญชีแบบคงค้าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ จะมีการให้เครดิตเงินแก่ลูกค้าครับ
พอพร้อมเครดิต ก็สามารถบันทึกบัญชีได้เลย จึงเป็นที่นิยมกว่าหลักเกณฑ์เงินสด
เราจึงจัดทำงบกระแสเงินสดขึ้นมาเพื่อดูที่มาที่ไปของ เงินที่ไหลเวียนในธุรกิจครับ
1
งบกระแสเงินสดสามารถแยกได้เป็น 3 ส่วนคือ
1
1.กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เงินส่วนนี้ได้มาจาก กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา +ค่าตัดจำหน่าย
ซึ่งตัดออกไปกลับเข้าไปใหม่
แม้ทั้ง 2 จะเป็นค่าใช้จ่ายจริง
ตามมุมมองของนักบัญชี แต่ไม่มีผลต่อเงินสด เนื่องจากมันเป็นตัวแทนของเงินสดที่จ่ายไปแล้วหลายปีก่อนครับ
1
(฿ ล้าน)
กำไรสุทธิ ฿6,000
ค่าเสื่อมราคา 1,000
ค่าตัดจำหน่าย 100
รวม เงินสดจากการดำเนินกิจการ ฿7,100
2.กระแสเงินสดจากการลงทุน
ในส่วนนี้จะรวมรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนทุกชนิด ซึ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน จะเป็นค่าติดลบเสมอ *** เนื่องจากมันเป็นค่าใช้จ่ายที่ทำให้เงินสดของกิจการลดลงนั้นเอง***
นอกจากนี้ ยังมียอด รวม กระแสเงินสดจากการลงทุนอื่นๆ ซึ่งรวมเงินสดทุกรายการที่ถูกใช้ออกไปและนำเข้ามาจากซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกำไร
1
***หากเงินสดถูกใช้จ่าย มากกว่า นำเข้า ตัวเลขจะติดลบ
***หากนำเข้ามากกว่าจ่ายออก ตัวเลขจะเป็นบวก
รายการทั้ง 2 จะทำให้เราได้ยอด รวม เงินสด กิจกรรมการลงทุน
(฿ ล้าน)
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน (฿1,500)
กระแสเงินสดจากการลงทุนอื่นๆ ( 5,000)
1
รวมเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (฿6,500)
3.กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
ส่วนนี้วัด กระแสเงินสดที่ไหลเข้า-ออก บริษัทจากกิจกรรมทางการเงิน
ซึ่งรวมถึงเงินสดที่ไหลออกจากการจ่ายเงินปันผล การซื้อ-ขายหุ้นของบริษัท
ยกตัวอย่างเช่น
-เมื่อบริษัทขายหุ้นเพื่อนำเงินมาสร้างโรงงานใหม่
เมื่อขายหุ้น ก็ได้เงินเข้ามาในบริษัท ก็บันทึกเป็นบวก ครับ
-หากบริษัท ซื้อหุ้นคืน เท่ากับ ว่า เงินสดเราไหลออก ก็บันทึก ติดลบครับ
-หากเราระดมทุนด้วยการขายพันธบัตร เพื่อนๆว่า บันทึก เป็นบวกหรือ ลบ เดียวมาเฉลยตอนท้าย
1
-แล้วถ้าบริษัทซื้อพันธบัตรคืน จะบันทึกเป็น บวก หรือ เป็น ลบ
หมายเหตุ เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ในการอ่านงบกระแสเงินสด ได้อย่างเข้าใจ
ให้มองที่ เงินสดเพิ่มขึ้นหรือ ลดลง เราจะไม่สับสนในการอ่าน งบกระแสเงินสด ตลอดชีวิตครับ
รวมทั้ง 3 รายการเราจะได้ เงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
(฿ ล้าน)
การจ่ายเงินปันผลเงินสด (฿3,000)
การออก ( ซื้อคืน) หุ้น-สุทธิ (200)
การออก (ซื้อคืน) ตราสารหนี้-สุทธิ 4,000
1
รวม เงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน 800
หลังจากนั้นเราจะรวม
เงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน
กับยอดรวม เงินสดจากกิจกรรมการลงทุน
และ ยอดรวม เงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
เข้าด้วยกัน ก็จะได้ยอด
การเปลี่ยนแปลงของเงินสดสุทธิ
(฿ ล้าน)
รวมเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินกิจการ ฿7,100
รวมเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (6,500)
รวมเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน 800
2
ยอดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดสุทธิ 1,400
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน : การไม่มีคือหนึ่งในความลับที่จะรวย
(฿ ล้าน)
➡ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน (1,500)
กระแสเงินสดจากการลงทุนอื่นๆ (5,000)
รวม เงินสดจากกิจกรรมลงทุน (฿6,500)
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน คือ การจ่ายเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสดสำหรับสินทรัพย์
มีอายุมากกว่า 1 ปี
เช่น อาคาร ที่ดิน โรงงาน และเครื่องจักร
รวมทั้งค่าใช้จ่ายสำหรับสิ่งที่ไม่มีตัวตนอื่นๆ
เช่น สิทธิบัตร เป็นต้น
สิ่งที่ต้องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนที่สูงนั้น จะส่งผลกระทบกับบริษัท ในระยะยาวได้
ธุรกิจที่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนนั้นจะต้อง
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับทุน เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ
ในอัตราที่ต่ำ
หากมีอัตราที่สูงมากกว่ากำไร จะส่งผลให้ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะต้อง เพิ่มทุน หรือ กู้เงินเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ครับ
อีกเคล็ดลับหนึ่งในการดูงบกระแสเงินสด นั้น ให้ดู กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงิน
งบกระแสเงินสด
กระแสเงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
(฿ ล้าน)
รวม เงินสดปันผลจ่าย (฿3,000)
➡ การออก (ซื้อคืน) หุ้น-สุทธิ (200)
การออก (ซื้อคืน) ตราสารหนี้-สุทธิ 4,000
รวม เงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน 800
ปัญหาที่บริษัทที่มีการแข่งขันอย่างยั่งยืนชอบ ก็คือ การมีเงินสดมหาศาล ไม่รู้จะเอาเงินสดไปทำอะไรดี
ส่วนใหญ่ บริษัท สามารถนำเงินสดไปลงทุนเพิ่มหากมีแผนการขยายกิจการต่อ แต่หากไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็จะจ่ายเงินปันผล ให้กับผู้ถือหุ้น
การจ่ายเงินปันผลนั้น จะทำให้ผู้ถือหุ้นนั้นต้องเสียภาษีเงินปันผล วอร์เรน บัฟเฟตต์ มักไม่ชอบวิธีนี้เท่าไร นัก
เขาเลือกวิศวกรรมทางการเงินที่เขาถนัด ก็คือ การซื้อหุ้นคืน ครับ
ทำไมเขาถึงชอบวิธีนี้ มาดูตัวอย่างกันครับ
หากบริษัท a ทำกำไร ได้ 10 บาท หากเรามีหุ้น 1 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้น จะเท่ากับ 10 บาท
แต่หากเรามีการเพิ่มทุน ในมือผู้ถือหุ้น เป็น 2 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นจะลดเหลือ 5 บาทครับ
อย่างไรก็ตาม หากบริษัท ซื้อหุ้นคืน เหลือ 500,000 หุ้น กำไร ต่อหุ้น จะเพิ่มเป็น 20 บาท นั้นเองครับ
วิศวกรรมทางการเงินเป็นที่โปรดปราน
ของบัฟเฟตต์
เป็นการเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น
และไม่ต้องภาษี
ทำให้ราคาหุ้น อย่างเบิร์กไชย์ แฮทราเวย์
มีมูลค่า330,495 ดอลลาร์ต่อหุ้น
หากเราถือ หุ้นตัวนี้ เพียง 100 หุ้น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จะ เพิ่มขึ้น เป็น 33 ล้านดอลลาร์ หรือ
แปลงเป็นเงินไทย (อิงตัวเลข 30บาท/ดอลลาร์)
จะเป็นเงิน 991 ล้านบาทครับ
ก่อนที่จะจบซีรีส์ ก่อนซื้อหุ้น ต้องรู้งบการเงิน
ผมมาเฉลย ก่อนครับ
หากเราขาย พันธบัตร ออกไป นั้น จะทำให้เราได้เงินสด เข้ามา ให้บันทึก เป็นบวก
หากเราซื้อ พันธบัตร คืน จะทำให้เงินสด ลดลง เราจะบันทึกเป็น ลบครับ
ก็ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ติดตามซีรีส์
ก่อนซื้อหุ้น ต้องรู้งบการเงิน จนจบนะครับ
หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย
สามารถนำไปแกะงบการเงินได้แล้วครับ
ฝากกด like กด share กดติดตามเป็นกำลังใจให้แอดด้วยเด้อ ^^
1
reference :
-วอร์เรน บัฟเฟตต์กับการตีความงบการเงิน
-www.set.or.th
-www.investing.com
รูปภาพสวยๆจาก pixabay
1
เรียบเรียง :
โดยเล่าหุ้นให้มันง่าย
158 บันทึก
122
40
116
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ก่อนซื้อหุ้นต้องรู้งบการเงิน
158
122
40
116
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย