Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
3 พ.ย. 2019 เวลา 02:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ลักษณะวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย
(เรียบเรียงโดย กิตติธัช ธนสิวะวงษ์)
หลังจากดาวเคราะห์น้อยถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆกับระบบสุริยะเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน แรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ดึงดูดให้พวกมันโคจรไปรอบๆเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง
แรงโน้มถ่วงจากดาวพฤหัสส่งผลให้ดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสฯ ไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้มาจนถึงทุกวันนี้นั่นเอง
การศึกษาวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยอย่างละเอียด ทำให้นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน แดเนียล เคิร์กวู้ด (Daniel Kirkwood) ได้สังเกตเห็นช่องว่างในวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย ในปี ค.ศ.1866 ทุกวันนี้ช่องว่างดังกล่าวมีชื่อว่า ช่องว่างเคิร์กวู้ด (Kirkwood gaps) นอกจากนี้ เคิร์กวู้ดยังพบแถบช่องว่างอื่นๆอีกหลายช่องตามมาด้วยด้วย
แถบดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสฯ เรียกว่า แถบหลักของดาวเคราะห์น้อย (main asteroid belt)
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยทุกดวงจะโคจรอยู่ในตำแหน่งนี้
เมื่อนักดาราศาสตร์พบว่ามีดาวเคราะห์น้อยโทรจันซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยประเภทหนึ่งที่มีวงโคจรร่วมกับดาวเคราะห์หลักอย่างเช่นดาวพฤหัส (แต่ไม่ได้ถูกนับเป็นดวงจันทร์บริวาร) โดยมีมุมการโคจรนำหน้าดาวพฤหัสอยู่ที่ 60 องศาและตามหลังอยู่ที่ 60 องศาซึ่งเป็นตำแหน่งวงโคจรที่เสถียรกับวงโคจรของดาวพฤหัสและดวงอาทิตย์พอดี
ที่น่าสนใจคือ ดาวเคราะห์น้อยบางกลุ่ม เช่น ดาวเคราะห์น้อยอะพอลโล (apollo) และดาวเคราะห์น้อยเอเทน (Aten asteroid) นั้นจะมีวงโคจรตัดผ่านเข้ามายังดาวเคราะห์ชั้นใน จึงเป็นไปได้ที่มันจะพุ่งชนโลกของเรา แม้จะโอกาสต่ำมากจนไม่น่ากังวล แต่การชนระหว่างดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ๆกับโลกเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
1
หนึ่งในนั้นคือ การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นั่นเอง
อ้างอิง
หนังสือ pathways to astronomy
1
4 บันทึก
43
5
4
43
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย