Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nutdanai Adjneeyakul
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2019 เวลา 00:43 • ความคิดเห็น
ไอเดียที่ได้จากการอ่านหนังสือ Sapiens: A brief history of humankind
“ความเชื่อมโยงระหว่าง ฟิสิกส์_เคมี_ชีวะ”
14,000 พันล้านปีที่แล้ว เอกภพได้ถือกำเนิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เรารู้จักกันในนามว่า “Big Bang” ปรากฏ “สสาร” และ “พลังงาน” ขึ้น ทั้งสองผนวกรวมเข้ากันเกิดเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า “อะตอม” เมื่อสิ่งราวนี้เกิดขึ้นก็นับได้ว่า “วิชาฟิสิกส์” ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วเช่นกัน
หลังจากนั้นอีก 300,000 ปีต่อมา อะตอมหลายๆอะตอมมารวมตัวเข้าด้วยกันผ่านการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น “โมเลกุล” ศาสตร์ที่ชื่อว่า “เคมี” ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
เมื่อประมาณ 4 พันล้านปีที่แล้ว “โมเลกุล” ได้ผนวกรวมตัวกันจนก่อเกิดสิ่งที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนขึ้น สิ่งๆนี้เรียกว่า “สิ่งมีชีวิต” เมื่อปรากฏสิ่งมีชีวิตขึ้นนั้นก็เท่ากับว่า ศาสตร์ที่นามว่า “ชีววิทยา” ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
พื้นที่ขีดเขียนความคิด (💭):
มาถึงตรงนี้หากเรามองให้ลึกลงไปกว่าสิ่งที่เรียกว่า “เซลล์” ซึ่งนับได้ว่าเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุด อันที่เราจะพอเริ่มนิยามจนให้ค่าว่ามันเป็น “ชีวิต” ได้แล้วนั้น สิ่งที่อยู่ในเซลล์นั้นประกอบไปด้วย ออร์แกเนลล์ (organelle)ต่างๆมากมาย ซึ่งเปรียบได้ดั่งอวัยวะภายในของเซลล์นั้นเอง โดยที่กลไกการทำงานของอวัยวะอันเล็กจิ๋วเหล่านี้ล้วนถูกขับเคลื่อนด้วยปฏิกิริยาเคมีทั้งสิ้น
ตอนนี้ผมกลับปิ๊งไอเดียหนึ่งขึ้นมาได้ว่า หากจะศึกษาวิชาชีววิทยาในเรื่องการทำงานของเซลล์ให้ทะลุปรุโปร่ง เราอาจจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถึงแก่นแท้ในเรื่องของสารชีวโมเลกุล (ซึ่งบทเรียนนี้ก็อยู่ในวิชาชีววิทยาอีกนั้นแหละ แต่ถึงกระนั้นบทเรียนดังกล่าวก็ยังถูกบรรจุไว้ในวิชาเคมีตอนมัธยมปลายด้วยเช่นกัน) เราอาจพอที่จะสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้แล้วว่า “วิชาเคมี” อาจซ่อนตัวอยู่ใน “วิชาชีววิทยา” มาถึงตรงนี้เราก็ได้เห็นจุดเชื่อมโยงระหว่างสองวิชานี้ได้ชัดเจนขึ้นอีกระดับหนึ่ง
ถ้ามองให้ลึกไปกว่านั้นอย่างเป็นภาพกว้างๆ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เมื่อเจาะลึงลงไปให้ถึงที่สุด มันอาจเป็นเพียงการผนวกรวมเข้าด้วยกันระหว่างอะตอม 2 อนุภาคก็เป็นได้ วิชาเคมีอาจพอตอบคำถามของเราได้ว่า “อะตอมของธาตุต่างกัน (หรืออาจจะธาตุเดียวกัน) นั้นมารวมตัวกันได้อย่างไร?”
แต่ถ้าหากสมมติว่าอะตอมเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งที่ใหญ่พอจะจับต้องได้ หากเราใช้มีดกรีดผ่าเปิดออกเราอาจพบสสารและพลังงานที่วิ่งพล่านอยู่ในอะตอมหนึ่งอนุภาคก็เป็นได้ ฟิสิกส์ขั้นสูงอาจพอให้คำตอบเราได้ จากโจทย์ที่ถูกตั้งขึ้นมาว่า “สสารและพลังงานมารวมตัวจนก่อเกิดเป็นอะตอมได้อย่างไร?”
แล้วถ้าลองมองย้อนกลับไปให้ไกลถึงที่มาของ “สสาร” และ ”พลังงาน” เราอาจเข้าใจและรู้ถึงที่มาของมันเมื่อเรากลับไปทบทวนปรากฏการณ์ที่ชื่อว่า บิ๊กแบง (Big Bang) จักรวาลวิทยา (Cosmology) ซึ่งนับว่าเป็นศาสตร์แขนงย่อยแขนงหนึ่งของวิชาฟิสิกส์อาจทำให้เราเข้าใจถึงปรากฏการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ได้
หลังจากที่ผมลำดับความเข้าใจและเชื่อมโยงทั้งสามวิชาที่เรียนตอน ม.ปลายเข้าไว้ด้วยกันอย่างสอดประสานแล้ว ผมก็ได้พบกับอีกคำตอบหนึ่งของประเด็นที่ว่า “มนุษย์เราเชื่อมโยงกับจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ได้อย่างไรกัน?” หากพิจารณาเช่นที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า “เรื่องราวของเอกภพที่เราอยู่กับตัวเรานั้นก็ไม่ได้อยู่ห่างไกลจากกันเลย” นี้อาจเป็นจุดสำคัญที่หนังสือหลายๆเล่มในหมวดหมู่ดาราศาสตร์พยายามชี้ให้เห็นว่าการศึกษาทางดาราศาสตร์ก็ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเสียเท่าไรอย่างที่ใครหลายๆคนคิด
หมายเหตุ: เนื้อหาที่เขียนขึ้นมานี้อาจไม่ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการแบบเป๊ะๆ เป็นเพียงสิ่งที่ขีดเขียนขึ้นตามความเข้าใจในแบบของผม
ป.ล. เหมาะกับเด็กที่เพิ่งขึ้นมัธยมปลาย เนื่องจากอาจช่วยให้น้องๆเห็นถึงความเชื่อมโยงของวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา
เนื้อหาในส่วนต้นอ้างอิงมาจากหนังสือ Sapiens: A brief history of humankind โดย Yuval Noah Harari
Sapiens: A brief history of humankind โดย Yuval Noah Harari
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย