4 พ.ย. 2019 เวลา 03:47 • ธุรกิจ
สหรัฐ....ทิ้ง....ไทย ? ตัดสิทธิ GSP ไทย ไทยจะรอด?
The US cuts the trade privileges or the Generalised System of Preferences (GSP) for Thailand
GSP
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศยกเลิกหรือระงับสิทธิพิเศษภาษีศุลกากร (GSP) กับประเทศไทย โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 25 เมษายน ปี 2563 ด้วยเหตุผลว่า “ปัญหาด้านสิทธิแรงงานที่ยืดเยื้อมายาวนานในอุตสหกรรมอาหารทะเลและการเดินเรือ” จึงเป็นผลกระทบต่อสินค้าอาหารทะเลโดยตรง แต่ก่อนอื่น...
อะไรคือ GSP? (Generalised System of Preferences)
GSP คือ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือระบบพิเศษทางภาษีศุลกากร ที่โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะจัดตั้งสิทธินี้ให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะเจาะจง ด้วยการลดภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาเหล่านั้น เพื่อช่วยให้ประเทศที่กำลังพัฒนานั้นสามารถเติบโตได้ ทั้งนี้อัตราการลดภาษีจะเป็นเท่าไหร่ หรืออาจจะมาพร้อมเงื่อนไข ก็ขึ้นอยู่กับประเทศที่ให้สิทธิ เช่น GSP จาก US มีเงื่อนไขที่ว่า ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP ต้องมี GNP (Gross National Product) per capita หรือการผลิตมวลรวมต่อหัวประชากรทั้งหมด จะต้องไม่เกิน 12,735 USD (ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 7,200 USD) และประเทศที่ได้รับสิทธิจะต้องไม่เป็นประเทศที่เกี่ยวข้องหรือสนับสนุนผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศ มีการควบคุม Intellectual Property (สินทรัพย์ทางปัญญา) ที่ดี และมีการคุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานสากล ซึ่งเงื่อนไขอาจจะต่างกันในแต่ประเทศที่ได้รับสิทธิก็ได้ แต่ประเทศที่ให้สิทธินั้นจะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ หรือได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากประเทศที่ได้รับสิทธิ เพราะเป็นระบบแบบการให้ฝ่ายเดียว หรือ unilateral ทั้งนี้การกำกับดูแลทุกอย่างก็ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ WTO (World Trade Organization)
Example of GSP effects
ประเทศไทยนั้นเคยได้รับสิทธิ GSP จากหลายประเทศ อาทิเช่น USA, Japan, Russia, Switzerland, Norway, EU, Turkey, and Canada แต่ก็เคยถูกตัดสิทธิ GSP มาแล้วด้วยกันหลายครั้ง อย่างในปี 2558 ถูกตัดสิทธิจาก EU, Turkey, and Canada และเมื่อต้นปี 2562 ที่ผ่านมาก็โดน Japan ตัดสิทธิเช่นกัน
การตัดสิทธิ GSP นั้นจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกของประเทศไทยโดยตรง เพราะการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศนั้นจะมีภาษีที่เพิ่มขึ้น จึงอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าไทยในต่างประเทศให้แพงขึ้น ผนวกกับค่าเงินที่แข็งค่าปัจจุบันนั้นจะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นไปอีก ยอดขายก็อาจจะลดลง การส่งออกของประเทศก็จะหดตาม ซึ่งถ้าหากเรามองดีๆ ประเทศไทยมีรายได้หลักมาจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ เพราะฉะนั้นภาคการผลิตและการเกษตรจะถูกกระทบโดยตรงจากการตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้
โดยการตัดสิทธิรอบนี้จาก US นั้น กระทบสินค้าของกินและของใช้ โดยเฉพาะอาหารทะเล รวมทั้งสิ้น 573 รายการ เป็นมูลค่ารวมเกือบ 40,000 ล้านบาท อีกทั้งสหรัฐเป็นประเทศที่เราส่งออกไปมากสุดอันดับ 2 มูลค่าที่ 899,154 ล้านบาท หรือ เทียบเท่า 11% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของประเทศ
แต่การตัดสิทธิครั้งนี้นั้นบังเอิญใกล้เคียงกับการที่ไทย แบนการนำเข้าสินค้า 3 สารเคมีจากสหรัฐ นั้นก็คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส จึงอาจจะมองเป็นการโต้กลับของสหรัฐรึปล่าว หรือ เราพัฒนาแล้วแต่ไม่ได้อยู่ในเกมส์ที่สหรัฐต้องการ หรือเป็นการบ่งบอกประสิทธิภาพของการบริหารประเทศของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ที่แก้ปัญหาด้านแรงงานไม่ได้ ตามที่สหรัฐนั้นกล่าวไว้เป็นข้ออ้าง
“การตัดสิทธิครั้งนี้ จะด้วยความบังเอิญ หรือตั้งใจ ประเทศไทยก็ต้องพัฒนาขึ้นอีก และอยู่ให้ได้แม้จะไม่มี GSP”
โฆษณา