Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยุคใหม่การตลาดของไทย
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2019 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
สาเหตุอะไรที่ทำให้การบินไทยขาดทุน?
Source: Positioning Magazine
จากข่าว “การบินไทย” เบรกรับลูกเรือเพิ่ม จากปัจจุบันมี 6,000 คน แต่มีเครื่องบินใช้งานได้ 80 ลำ” และ ข่าว ชำแหละ “การบินไทย-นกแอร์” กอดคอ #ขาดทุนเท่าฟ้า “แอร์เอเชีย” กำไรลดฮวบ
เป็นข่าวที่น่าตกใจสำหรับบริษัทสายการบินแห่งชาติของไทย ที่ดูจากภายนอกแทบจะมีความได้เปรียบทุกสายการบินที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย
ทั้งเป็นเจ้าของพื้นที่ มีรายได้จากทรัพย์สินให้เช่า มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ เป็นสายการบินที่ในภาพของคนไทยและผู้ใช้บริการว่าเป็นสายการบินที่มีบริการอยู่ในลำดับต้นๆของโลก รวมถึงมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก
"ทว่ายังประสบกับสภาวะการขาดทุน"
ครั้งนี้จะนำมาวิเคราะห์สาเหตุในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่ง ที่เคยทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีผลประกอบการใกล้เคียงกับการบินไทยมาก่อน และองค์กรที่เคยทำงานก็ประสบปัญหาใกล้เคียงกันหรือจะเหมือนกันก็ว่าได้ โดยสายการบินนกแอร์ที่ดำเนินงานโดยการบินไทยจะไม่ได้ทำการกล่าวถึงโดยตรง
เรามาดูว่าสิ่งที่การบินไทยประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันคืออะไรบ้าง
1.มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ
2.มีเครื่องบินจอดรอซ่อมกว่า 20 ลำ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้
3.มีเครื่องบินหลายรุ่น
4.การทำงานของพนักงานต้อนรับแต่ละคนก็มีทักษะความชำนาญตามรุ่นที่ตนเองทำงาน
5.มีพนักงานมากเกินกว่าเนื้องานหรือผลประกอบการที่ควรจะมี
6.มีการรับพนักงานเพิ่มอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีพนักงานจำนวนมากอยู่แล้ว (ที่มาจากข่าว: การบินไทยได้ประกาศรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 200 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 10 - 31 ต.ค. 2562 นั้น ล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทยได้ประชุมมีมติให้เลื่อนการรับสมัครออกไปก่อนเพื่อทบทวนในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ให้ครบถ้วน,
Positioningmag.com
)
ประเด็นที่ต้องทำการแก้ปัญหา
1.เพิ่มรายได้
2.ลดรายจ่าย
3.ทำในสิ่งที่ต่างออกไป
ทำไมมันง่ายจัง......ทั้งที่ปัญหามีมากมายแต่กลับมีการเสนอให้แก้ไขเพียง 3 ข้อแล้วจะแก้ปัญหาได้เลย
“ยุคใหม่การตลาดของไทย” ยืนยันว่ามีเท่านี้จริงๆเพราะทุกธุรกิจก็ทำเท่านี้ไม่ได้แตกต่างกัน แต่ในรายละเอียดต่างกัน และทำอย่างไรให้เกิดผลประกอบการที่เติบโตและยั่งยืน
เนื่องจาก “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ไม่ได้รู้เรื่องภายในองค์กรของสายการบินไทย ถ้าจะรู้ก็รู้จากสื่อต่างๆและตัวเลขผลประกอบการณ์ที่ปรากฏ ดังนั้นการวิเคราะห์และการนำเสนอจึงจะได้ทำบนพื้นฐานตัวเลขและข่าวที่ปรากฏ
ก่อนที่จะอธิบายว่าเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายอย่างไร ขอแบ่งปันมุมมองจากผู้ที่เคยทำงานในองค์กรที่มีขนาดใหญ่กว่าการบินไทยมาก่อน พนักงานมากกว่าผลประกอบการพอๆกัน และปัญหาที่พบเป็นไปในทางเดียวกันด้วย
สิ่งที่พบว่าทำไมองค์กรขนาดใหญ่จึงประสบสภาวะการขาดทุน จากประสบการณ์ตรงที่พบจะได้ทำการแบ่งปันเป็นข้อๆดังนี้
1.มีการแบ่งฝ่ายรับผิดชอบเพิ่มขึ้น (ตามจำนวนงานที่กล่าวอ้าง)
2.แต่ละฝ่ายจะมีเป้าหมายหรือการดำเนินการที่เป็นเอกเทศ
3.แต่ละคนยึดถือเอกสารเป็นสำคัญหากไม่มีเอกสารยืนยันจะไม่ดำเนินการใดๆ
4.แต่ละฝ่ายยังมีการปัดความรับผิดชอบออกจากตนเอง
5.มีการประชุมและวางแผนการทำงานด้านเอกสารถี่มากแต่ไม่ได้เอาไปปฏิบัติจริง (เพราะทำแล้วต้องไปเกี่ยวข้องกับฝ่ายต่างๆ)
6.กว่าจะทำอะไรสักเรื่องมีขั้นตอนซับซ้อนมากมาย
7.กว่าจะได้ทำเวลาก็ล่วงเลยไม่ทันกาล
8.ไม่ยึดถือผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร
9.มีวัฒนธรรมองค์กรระบบเจ้าขุนมูลนาย มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก
10.ไม่อยู่บนหลักการสมประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win)
ซึ่งทั้ง 10 ข้อข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขยากเลย แต่ที่พบว่ายากเพราะวิธีคิดที่ไม่ได้อยู่ในข้อที่ 10 นั่นเอง เพราะการที่จะคิดอย่างนี้ได้ไม่ใช่จู่ๆคิดได้เลย ต้องเกิดจากการสะสมแนวความคิดที่เป็นบวกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่บวก
คนเหล่านี้เคยเชื่อว่ามีได้กับเสียเท่านั้น ไม่มีความเชื่อว่าทุกคนได้ทั้งหมด (เชื่อแบบไหนก็ปฏิบัติแบบนั้น) เราจึงเห็นว่าปัญหามันซับซ้อนแก้ไขยาก
ความเห็นของ "ยุคใหม่การตลาดของไทย"
คราวนี้เรามาดูกันว่าการแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อมีแนวทางอย่างไรแบบง่ายกัน (ไม่ได้นำปัจจัยเรื่องสงครามทางการค้าและการประท้วงในฮ่องกงมาเป็นปัจจัยในการดำเนินการ รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่คนส่วนมากรู้แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน)
1.การเพิ่มรายได้
1.1.ในเบื้องต้นที่ทำได้คือการทำให้เครื่องบินสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพราะปัจจุบันใช้ได้เพียง 80%
1.2.เพิ่มจำนวนผู้โดยสาร เรื่องนี้การบินไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าสายการบินใดในโลกเลย
1.3.เพิ่มรายได้ต่อคน ซึ่งสามารถคัดกรองลูกค้าที่ต้องการบริการที่การบินไทยมีเหนือกว่าสายการบินอื่นเป็นพิเศษได้ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” มั่นใจมากว่าการบินไทยคืออันดับ 1 ของโลกในเรื่องนี้
1.4.สร้างรายได้จากสินทรัพย์ต่างๆ อาทิ สนามบิน คลังสินค้า รถให้บริการ ของที่ระลึก การเช่าหมาลำ การให้บริการขนส่งสินค้า การให้บริการด้านการฝากสินค้า ฯลฯ
2.การลดค่าใช้จ่าย
2.1.ลดการซ่อมเครื่องบิน อาจจะใช้การขายออกไป เอาเงินที่ได้รวมกันมาซื้อเครื่องใหม่
2.2.ใช้เครื่องบินไม่เกิน 3 รุ่นหรือ 3 ยี่ห้อ ยิ่งน้อยยิ่งดี แต่อาจจะมีความเสี่ยงในด้านการบริหาร ซึ่งต้องนำมาชั่งน้ำหนักกับอำนาจการต่อรองที่เพิ่มขึ้นด้วย
2.3.เมื่อใช้เครื่องบินน้อยรุ่นก็สามารถฝึกอบรมพนักงานต้อนรับให้สามารถทำงานทดแทนกันได้และยังทำให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากกรณีที่มีพนักงานจำนวนมากที่ไม่สามารถทำการบินได้ ทำให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้และยังเป็นการเสียโอกาสจากพนักงานที่ต้องจ่ายค่าจ้างแต่ไม่ได้ปฏิบัติงาน
2.4.สร้างการตระหนักในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นช่วยกัน จะทำให้องค์กรตระหนักถึงความจำเป็นที่ร่วมกันรับผิดชอบ สร้างให้เกิดความรู้สึกรักองค์กรรักประเทศเพิ่มขึ้น
3.ทำในสิ่งที่ต่างออกไป
ที่ต้องมีข้อนี้เพราะสืบเนื่องจากผลประกอบการที่มีสถานะเช่นนี้มาเป็นเวลานาน คาดว่าน่าจะหลายปีแล้ว นั่นก็พิสูจน์ได้แล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์การบินไทยเลย
ที่สำคัญที่จะไม่ให้เหมือนที่องค์กรขนาดใหญ่ประสบมาทั้ง 10 ข้อข้างต้น คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นแบบสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Win-Win)
Source: MH Global
ทั้งหมดนี้แม้ว่าสถานการณ์โลกจะแย่อย่างไร มีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจทั้งโลกอย่างไรก็ยังทำให้การบินไทยมีกำไรอย่างยั่งยืนได้ ด้วยพื้นฐานด้านการบริการของคนไทย พื้นฐานวัฒนธรรมอันดีของเรา พื้นฐานการปลูกฝังให้คนไทยเป็นคนกตัญญู สิ่งเหล่านี้ที่จะทำให้การบินไทยกลับมาผงาดมีผลประกอบการที่เป็นบวกได้ในเร็ววัน
ครั้งนี้ไม่ได้นำเอากรณีของสายการบิน JAPAN AIRLINES มาใช้เทียบเคียงแต่อย่างได
ทั้งหมดนี้ก็เป็นความเห็น (ล้วนๆ) จากคนที่มองการบินไทยอย่างห่วงใยด้วยใจของคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งอาจจะตรงใจหรือไม่ตรงใจกับหลายคนก็เป็นได้ หากไม่ตรงใจอย่างไรต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
แต่หากท่านใดมีแง่คิดดีๆที่เป็นแนวทางให้การบินไทยเราก้าวไปสู่สายการบินระดับโลก ที่มีกำไรอย่างยั่งยืน "ยุคใหม่การตลาดของไทย” ขอเชิญชวนเข้ามาร่วมแสดงความเห็นเพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันเรื่องราวดีๆกันด้วยนะครับ
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
http://www.blockdit.com/modernizationmarketing
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
youtube.com
Modernization Marketing
ยุคใหม่การตลาดของไทย การตลาดแบบเข้าถึงง่ายๆและใช้ได้จริง มุมมองการตลาดที่ต่างออกไปอีกมุม ความรู้จากประสบการณ์จริง Marketing Soft Skill Trainer
หากชื่นชอบและถูกใจบทความนี้ ฝากกด Like กด Share และติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ
45 บันทึก
182
170
51
45
182
170
51
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย