4 พ.ย. 2019 เวลา 23:01 • การศึกษา
พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
"ความเป็นไปได้ยาก ที่จะได้ความเป็นมนุษย์"
ภิกษุทั้งหลาย !
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น
ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน
ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้
เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี
ย่อมไม่ถึ่งซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่มนุษย์
มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิด
ในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำใหรู้ว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ทางดำเนินใหถึ้งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้
ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่งที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับ
มหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน ?
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดิน
ที่มากกว่า ฝุ่นนิดหนึ่งเท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้
เป็นของมีประมาณน้อย ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบกับมหาปฐพี
ย่อมไม่ถึ่งซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนเสี้ยว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น :
สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในหมู่เทวดามีน้อย
โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก
กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มีมากกว่า โดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้นเพราะความที่สัตว์เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ :-
อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
ทุกข์เป็นอย่างนี้
เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
ทางดำเนินใหถึ้งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๖/๑๗๙๒-๙๓.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา