5 พ.ย. 2019 เวลา 02:52 • ธุรกิจ
กลไกการทํางานของนโยบายการเงิน กระทบกระเป๋าตังเรายังไง
Transmissions Machanism from BOT 💰
หลายๆท่านคงได้ยินว่าแบงค์ชาติต่างประเทศมีการลดดอกเบี้ยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กนง. ไทยเราก็มีการลดเช่นกัน แล้วรู้ไหมคับ ว่าการที่แบงค์ชาติ BOT ลดดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อชีวิตเรายังไง หรือส่งผลต่อเงินในกระเป๋าตังเรายังไง
ก่อนอื่นต้องมารู้จัก กลไกการทํางานของนโยบายการเงิน ครับ คือ ราคาสินค้าจะมีการเปลี่ยนเเปลงจากนโยบายการเงิน
โดยมี 5 ทางหลักการประกอบตามหลักเศรษฐศาสตร์ หรือ Transmissions Machanism
1) interest rate channel
2) Credit channel
3) Asset price channel
4) Exchange rate channel
5) Expectations channel
โดย เราจะมีโฟกัสที่ Interest rate channel เพราะเป็นตัวสำคัญที่ แบงค์ชาติชอบใช้ และเวลาใช้ก็จะมีการประกาศเป็นทางการ เมื่อเเบงค์ชาติมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย จะทำให้สถาบันทางการเงิน หรือ commercial bank มีการปรับลดดอกเบี้ย MLR และ ดอกเบี้ย MRR ลง เพื่อหวังให้มีการกู้ยืมมากขึ้น แต่อาจจะเข้มงวดเรื่องการกู้ยืมเป็นพิเศษ เพราะการลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น จะใช้ในยาทที่เศรษฐกิจชะลอตัว หรือตอนที่เกิด recessions วิกฤต หากต้นทุนการกู้ยืมน้อยลงก็จะเกิดการที่ภาคธุรกิจมีการกู้ เพื่อขยายธุรกิจและลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวสูงขึ้นนั้นเอง business expansion และก่อให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นแต่อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีที่ แบงค์ชาติไทยได้ตั้งนโยบายไว้ คือประมาณ 2.5% +\-1.5 percentage points ต่อปี (Inflation Targeting)
2
สุดท้ายเเล้ว 5 ทางหลักจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อเเละราคาสินค้า แต่หากระยะเวลาที่กว่านโยบายจะมีถูกใช้แล้วกระทบกระเป๋าตังเราจริงๆ จะใช้เวลากว่า 1-2 ปีถึงจะเห็นผล เพราะกว่าแบงค์พาณิชย์จะปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ กว่าเราจะสามารถกู้ก็ใช้เวลาค่อนข้างมาก (Time Lagging) เเบงค์ชาติจึงต้องมีการประมาณการอัตราเงินเฟ้อในอนาคตหรือร่วงหน้า เพื่อที่จะสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะลดอัตราเงินเฟ้อ โดยใน 1 ปีจะมีการประชุมถึง 8 ครั้ง เเละแต่ละครั้งประกอบด้วยกรรมการ 7 คน ผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. 3 คน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 4 คน เพื่อมาหารือและออกนโยบายทางการเงินเพื่อคุมภาวะเศรษฐกิจเป็นครั้งคราว โดนปัจจุบัน เเบงค์ชาติได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 1.50% จาก 1.75% จากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ที่เกิดจากผลกระทบของสงครามการค้า และผนวกกับค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาก
แต่ทาง แบงค์ชาติก็ได้มีการจับตาอย่างใกล้ชิดเพื่อดูสถานการณ์ ว่าจะทำยังไงต่อไป
5
โฆษณา