Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Knowledge Share - ปันความรู้
•
ติดตาม
5 พ.ย. 2019 เวลา 11:19 • สุขภาพ
📄 ในระยะหลังมานี้ เราได้ยินข่าวการทำร้ายตัวเองบ่อยมากขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ จากข้อมูลการให้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 พบว่าในปี 2561 การให้บริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตทางโทรศัพท์มีการโทรปรึกษาทั้งสิ้นถึง 70,534 ครั้ง☎️
ในจำนวนนี้พบว่า...
✍️เป็นกลุ่มเด็กอายุ 11-19 ปี 10,298 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 14.6
✍️เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 20-25 ปี 14,173 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 20.1
⏩ โดย 5 อันดับปัญหาที่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ ปัญหาความเครียดหรือวิตกกังวล ปัญหาทางจิตเวช ปัญหาความรัก ปัญหาซึมเศร้า และปัญหาครอบครัว
ดังนั้นต่อไปนี้ เราจะสังเกตอาการของเพื่อน หรือคนรอบข้างตัวเราได้อย่างไรว่าเขามีอาการของโรคซึมเศร้า❓
.....จากคนที่ชอบพูดคุย ชอบออกไปไหนมาไหนกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง ทุกอย่างมันจะค่อย ๆ เปลี่ยนไป แม้ว่ากับบางคนอาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเปลี่ยนแล้วก็เรียกได้ว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยสิ้นเชิง อาการเหล่านี้ คนสนิทอย่านิ่งนอนใจ เพราะเขาอาจกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ก็ได้
โรคซึมเศร้า เป็นภัยเงียบด้านสุขภาพ เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอาชีพ ทุกช่วงวัย โดยอาการที่สังเกตได้คือ👉👉
1. มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ท้อแท้ ซึม เหงาหงอย
2. เบื่อ ไม่อยากทำอะไร หรือทำอะไรก็ไม่สนุก ไม่เพลิดเพลินเหมือนเดิม
ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ เช่น เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป หลับยาก หลับๆ ตื่นๆ หรือนอนหลับมากไป คิดช้าพูดช้า ทำอะไรช้าลง หรือหงุดหงิด กระวนกระวาย รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า สมาธิความคิดอ่านช้าลง คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง เป็นต้น
จากคนเคยสนุกสนาน กลับกลายเป็นซึมเศร้า https://bit.ly/36CwMi4
โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ แต่ขั้นแรกจะต้องเริ่มจากความเข้าใจในโรคนี้ก่อน ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวผู้ป่วยเองแต่ยังรวมถึงคนรอบข้างด้วย โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จะช่วยได้มากด้วยการให้ความเข้าใจและใส่ใจอย่างถูกวิธี โรคซึมเศร้าอาจรุนแรงจนถึงระดับที่นอกจากจะกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังอาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจจบชีวิตตัวเองได้❗❗❗
โรคซึมเศร้าอาจรุนแรง อาจถึงขั้นเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยตัดสินใจจบชีวิตตัวเองได้ https://bit.ly/2NeZga2
⏩ วิธีปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยซึมเศร้า คือ ให้กำลังใจ ชวนทำกิจกรรมร่วมกัน พูดคุยแบบรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ต้องพยายามให้คำตอบว่าควรทำอย่างไร ในกรณีของสมาชิกในครอบครัว ถ้าไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ก็ให้ใช้การสัมผัสและการแสดงความรักความห่วงใยผ่านการกระทำ เช่น จัดเวลาทำกิจกรรมที่ชอบร่วมกัน👨👨👧👦🤼♂️🤼♀️
เมื่อเรารู้แล้วว่าเพื่อนหรือคนรอบข้างของเรามีอาการของโรคซึมเศร้า การพูดสนทนาเพื่อให้กำลังใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากเราพูดกับเค้าแล้วไปทำให้เขารู้สึกไม่ดี ยิ่งทำให้มีอาการแย่ลงกว่าเดิมได้
ดังนั้นตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นคำพูดที่ "ควรพูด" เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เราควรจำไว้ใช้ได้ คือ
☑️ อยากให้ฉันกอดไหม
☑️ เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
☑️ เธอสำคัญสำหรับเสมอนะ
☑️ ฉันจะอยู่ข้างๆ เธอนะ
☑️ ฉันอาจไม่เข้าใจ แต่เข้าใจเธอนะ
☑️ ฉันรักเธอนะ เป็นต้น
และคำพูดต่อไปนี้ "ควรหลีกเลี่ยง" ในการให้กำลังใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
❎ ลืม ๆ มันไปซะเถอะ
❎ ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็เลิกคิดสิ
❎ ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
❎ จะเศร้าไปถึงไหนกัน
❎ เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
❎ เลิกเศร้าได้แล้ว เป็นต้น
คำพูดบางคำ ฟังแล้วมีกำลังใจ ได้ความรู้สึกที่ดี แต่คำอีกหลาย ๆ คำก็สามารถทิ่มแทงจิตใจได้ สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง คือ คำพูดในทางตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ คำพูดกระตุ้นให้กำลังใจที่เน้นให้คิดบวกว่าต้องทำได้สิ ๆ เพราะกลับจะยิ่งกระตุ้นให้เขารู้สึกล้มเหลวมากยิ่งขึ้น
การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากการรับประทานยาเป็นประจำแล้ว การปรับกิจวัตรประจำวันโดยเพิ่มกิจกรรมทางกาย ชวนให้ผู้ป่วยมาออกกำลังกายจะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้
สุดท้ายนี้👉 ขอแนะนำให้ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าปรึกษาแพทย์ หรือจิตแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทั่วประเทศ หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ 1667 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง📞🙏
references:
https://bit.ly/2NiRX1a
https://bit.ly/2NhfX4C
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบนะครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อยนะครับ
ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ สามารถกดไลค์ กดแชร์ ส่งต่อให้ผผู้อื่นอ่านได้เลยนะครับ
สุดท้าย ฝาก*กดติดตาม* ☑️เราด้วยนะครับ จะไม่พลาดข่าวสารดีๆ แน่นอนครับ
หรือเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ที่ผ่านมาแล้วได้ที่นี่👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇
บันทึก
4
2
3
4
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย