Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรติ กีรติกานต์ชัย
•
ติดตาม
6 พ.ย. 2019 เวลา 06:43 • การศึกษา
Twilight หรือแสงสนธยา
แสงทไวไลท์ทั่วไป จากจุดชมวิวคิงคอง ภูเขาไฟโบรโม่ ชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
แบ่งเป็นสามประเภทครับ ...
สำหรับท่านที่ชอบไปชมแสงเช้าและแสงเย็น ไปถ่ายภาพดาว ถ่ายใจกลางทางช้างเผือก การรู้เวลาของทไวไลท์ทั้งสามช่วยวางแผนการรับชมและถ่ายภาพได้ดังใจ
รอยต่อระหว่างทไวไลท์ทางสมุทรศาสตร์กับทไวไลท์ทั่วไป จากยอดดอยม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
แสงสนธยาหรือทไวไลท์เป็นแสงสีที่เกิดจากการกระเจิงของแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าและเย็น เมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าทั้งขาขึ้นและตก ทำให้เกิดปรากฎการณ์ท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ
นิยามที่สั้นที่สุดของแสงทไวไลท์คือ การกระเจิงของแสงเมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งใต้เส้นขอบฟ้า
1. Civil twilight ทไวไลท์ทั่วไป เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ทำมุมกับเส้นขอบฟ้าประมาณ 6 องศา แสงสีแดง ส้ม เหลืองกระเจิงได้มากกว่าแสงสีอื่นๆ เราจึงเห็นท้องฟ้าเป็นสีแดง ส้ม เหลือง นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาชมทไวไลท์ทั่วไป ข้อดีของทไวไลท์ชนิดนี้คือยังมีแสงสว่าง ฉากหน้าสว่างเพียงพอในการถ่ายภาพได้
แสงสนธยา ณ จุดชมวิว 360 เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฏร์ธานี ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
2.Nuatical twilight ทไวไลท์ทางสมุทรศาสตร์ เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกทำมุมกับเส้นขอบฟ้าประมาณ 12 องศา แสงสีน้ำเงิน ฟ้า คราม จะกระเจิงได้มากกว่าแสงสีแดง ส้ม เหลือง ท้องฟ้าจึงถูกระบายไปด้วยสีฟ้า คราม และน้ำเงิน ทไวไลท์แบบนี้นักถ่ายภาพอาคารหรือเมืองสาย Cityscape จะโปรดปรานมาก เป็นช่วงที่อาคารบ้านเรือนเปิดไฟ ขณะที่ท่องฟ้าที่เป็นฉากหลังเป็นสีฟ้า น้ำเงินสวยงาม
เส้นแสงดาวหรือ Startrails ในช่วงทไวไลท์ทางสมุทรศาสตร์ อช.ดอยอินทนนท์ อช.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
3.Astronomical twilight ทไวไลท์ทางดาราศาสตร์เป็นช่วงที่ท้องฟ้ากำลังมืดลง ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปประมาณ 18 องศาหรือหนึ่งชั่วโมงนิดๆจากเส้นขอบฟ้า ณ ช่วงเวลานี้เราจะเห็นแสงดาวจากกลุ่มดาวต่างๆทอแสง ประดับฟ้าอย่างสวยงาม นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ยังถือว่าช่วงนี้เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ในแต่ละคืน
ทางช้างเผือกในช่วงทไวไลท์ทางดาราศาสตร์ อ่างเก็บน้ำแม่ผาแหน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
ลำดับการเกิดทไวไลท์หรือแสงสนธยา
ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น > Astronomical T.>Nautical T.>Civil T.
หลังดวงอาทิตย์ตก>Civil T.>Nautical T.>Astronomical T.
เนบิวลาเปลวเพลิง Flame nebula และ เนบิวลาหัวม้า Horsehead nebula ในกลุ่มดาวนายพราน ภาพโดยวิรติ กีรติกานต์ชัย
เวลาในการเกิด twilight หรือแสงสนธยาเปลี่ยนไปในแต่ละวัน ตามเวลาที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า นั่นคือตามฤดูกาลนั่นเอง
การกระเจิงของแสงในช่วงกลางวัน แสงที่มีคลื่นสั้น สีฟ้า คราม น้ำเงิน มีความถี่สูงจะกระเจิงได้มากกว่า ในขณะที่หัวค่ำแสงสีแดง ส้ม เหลือง กระเจิงได้มากกว่า เป็นที่มาของเพลง ฟ้ายังฟ้าอยู่ และป่าลั่น
หลายสำนักที่ทำตารางล่าใจกลางทางช้างเผือกก็ต้องพิจารณาช่วงเวลาเริ่มหรือสิ้นสุดของทไวไลท์เป็นพื้นฐาน
เช้าและเย็นระยะทางที่ไกลทำให้แสงสีฟ้าคราม น้ำเงินกระเจิงได้มากว่า
เช็คข้อมูลทไวไลท์หรือดวงดาว ปรากฎการณ์อื่นๆได้จากแอพพลิเคชั่นต่างๆหรือที่
www.timeanddate.com
แสงทไวไลท์เป็นปรากฏการณ์ทางแสงปกติ ที่ให้ความรู้สึกพิเศษเป็นหนึ่งเดียวกันธรรมชาติ ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
คราวหน้าจะมาสอน มาจับมือทำตารางถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกและวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ ท่านใดสนใจ ขอเสียง ซาวด์เช็ค กดไลค์ได้ครับ
ทางช้างเผือกในช่วงเวลากลางคืนหลังทไวไลท์ ฟ้ามืดสนิท ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
4 บันทึก
33
22
7
4
33
22
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย